การบล็อกหลัง (Nerve Block) – ประเภทเมื่อใช้

การบล็อกหลังคืออะไร  การบล็อกหลัง เป็นวิธีขั้นตอนหนึ่งของการวางยาสลบ การบล็อกหลังสามารถทำได้ทั้งในการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด  การบล็อกหลังแบบไม่ผ่าตัดเป็นการฉีดยาเข้าไปรอบ ๆ เส้นประสาทที่ต้องการ หรือกลุ่มของเส้นประสาท ยานี้จะไปป้องกันไม่ให้เส้นประสาทประตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด  ส่วนที่ถูกฉีดยาจะชา หรือคุณอาจรู้สึกเหมือนมีเข็มแทง  การบล็อกหลังแบบผ่าตัดเป็นการตัด หรือทำลายเส้นประสาทเพื่อที่จะไม่ให้พวกมันส่งการกระตุ้นไปที่ระบบประสาทส่วนกลางได้  การบล็อกหลังสามารถอยู่ได้ 12-36 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้ การบล็อกหลังแบบผ่าตัดอาจมีผลอยู่ถาวร  การบล็อกหลังอาจถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเพียงวิธีเดียว หรืออาจใช้ร่วมกับวิธีอื่น 

การบล็อกหลังจะถูกใช้เมื่อใด 

การบล็อกหลังมักถูกใช้ในการป้องกัน หรือควบคุมความเจ็บปวด การบล็อกหลังมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้ยาทางหลอดเลือดดำ แพทย์อาจใช้การบล็อกหลังเพื่อบรรเทาอาการปวดเหล่านี้: 

การใช้บล็อกหลังในกรณีอื่น ๆ 

การบล็อกหลังอาจใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยว่าอาการเจ็บปวดของคุณมีต้นกำเนิดมาจากที่ไหน โดยการสังเกตว่าการบล็อกหลังส่งผลต่อความเจ็บปวดของคุณอย่างไร แพทย์อาจสามารถหาสาเหตุของการเจ็บปวดนั้นได้ และรักษาอย่างถูกวิธี 

ชนิดของการบล็อกเส้นประสาท 

อาการปวดจากบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายต้องใช้การบล็อกเส้นประสารที่ตjางกัน ตัวอย่างเช่น: 

การบล็อกเส้นประสาทส่วนปลาย 

  • การบล็อก interscalene (ไหล่ ไหปลาร้า หรือต้นแขน)
  • การบล็อก supraclavicular (ต้นแขน)
  • การบล็อก infraclavicular (ข้อศอก หรือต่ำกว่านั้น)

การบล็อกเส้นประสาทใบหน้า 

  • การบล็อก trigeminal (หน้า)
  • การบล็อก ophthalmic (เปลือกตา และหนังศีรษะ)
  • การบล็อก supraorbital (หน้าผาก)
  • การบล็อก maxillary (ขากรรไกรล่าง)
  • การบล็อก sphenopalatine (จมูก และเพดานปาก)
nerve block

การบล็อกคอ และหลัง 

  • การบล็อก cervical epidural (คอ)
  • การบล็อก thoracic epidural (หลังส่วนบน และสีข้าง)
  • การบล็อก lumbar epidural (หลังส่วนล่าง และสะโพก)

การบล็อกหน้าอก และหน้าท้อง

  • การบล็อก paravertebral (หน้าอก และหน้าท้อง)
  • การบล็อก intercostal (หน้าอก หรือสีข้าง)
  • การบล็อก transversus abdominis plane (ท้องน้อย)

การบล็อกปลายประสาทส่วนล่าง 

  • การบล็อก hypogastric plexus (บริเวณอุ้งเชิงกราน)
  • การบล็อก lumbar plexus (หน้าขา ต้นขา หัวเข่า และหลอดเลือดดำซาฟีเนียส)
  •  การบล็อก femoral (ต้นขาทั้งหมด กระดูกต้นขา ข้อเข่า กระดูกข้อต่อสะโพก แต่ไม่ใช่ข้างหลังของเข่า — ใช้เพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่า)
  • การบล็อก sciatic nerve (หลังขา ขาล่าง ข้อเท้า และเท้า) ซึ่งรวมไปถึงการบล็อก popliteal (ใต้หัวเข่า)
การบล็อกเส้นประสาทยังสามารถแบ่งได้ตามวิธของการฉีดยา หรือจากการผ่าตัด หรือไม่ผ่าตัด: 

การบล็อกเส้นประสาทโดยไม่ผ่าตัด 

  • Epidural: เป็นการฉีดยาเข้าไขสันหลังเพื่อให้หน้าท้อง และปลายประสาทส่วนล่างชา เป็นการบล็อกเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด และมักถูกใช้ในระหว่างการคลอดลูก 
  • Spinal anesthesia: เป็นยาชาที่ใช้ฉีดเข้าไปรอบ ๆ ไขสันหลัง 
  • Peripheral: เป็นยาชาที่ใช้ฉีดไปรอบ ๆ บริเวณที่ทำให้เกิดอาการปวด 

การบล็อกเส้นประสาทโดยการผ่าตัด 

  • Sympathetic blockade: การบล็อกความเจ็บปวดจากระบบประสาทซิมพาเธติกในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจถูกใช้เพื่อรักษาอาการเหงื่อออกมากเกินไปในจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย 
  • Neurectomy: ระบบประสาทนอกส่วนกลางที่ถูกทำลายต้องถูกผ่าตัดเพื่อทำลาย เป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยในอาการปวดเรื้อรังต่าง ๆ ที่การรักษาต่าง ๆ ไม่เป็นผลสำเร็จ เช่น กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน 
  • Rhizotomy: เป็นรากของเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังซึ่งต้องถูกทำลายโดยการผ่าตัด วิธีนี้ถูกใช้รักษาอาการต่าง ๆ เช่น โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง หรือภาวะสมองพิการ 

บล็อกหลังผลข้างเคียง 

การบล็อกหลังเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่เช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่น ๆ การบล็อกหลังก็มีความเสี่ยง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่การรักษาอาการเจ็บปวดวิธีอื่น  ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการบล็อกหลัง:
  • การติดเชื้อ
  • ช้ำ
  • เลือดออก 
  • บริเวณที่ฉีดยากดเจ็บ 
  • บล็อกเส้นประสาทผิดเส้น 
  • กลุ่มอาการฮอร์เนอร์ ซึ่งทำให้หนังตาตก และทำให้รูม่านตาเล็กลงเมื่อระบบประสาทบริเวณสมอง และตาได้รับผลกระทบ (ปกติแล้วจะหายไปเอง)
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย (พบน้อย และมักเป็นเพียงชั่วคราว)
  • ได้รับยาเกินขนาด (พบน้อย)
บริเวณที่ถูกบล็อกอาจชา หรืออ่อนแรงเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ คุณจะไม่สามารถบอกได้ว่าเจ็บหรือไม่  ฉะนั้น ต้องระมัดระวังไม่วางของเย็น หรือของร้อนใกล้บริเวณที่อาจชนได้ เพราะอาจทำให้บาดเจ็บ หรือเป็นแผล  ควรปรึกษาแพทย์หากอาการชา หรืออ่อนแรงไม่หายไปใน 24 ชั่วโมง 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด