ประโยชน์ของสะเดา (Neem Extract) – สรรพคุณ ผลข้างเคียง

มารู้จักสะเดากัน

สะเดา (Neem Tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Azadirachta indica มีชื่อท้องถิ่นว่า สะเดา ภาคกลางเรียกสะเดาบ้าน ภาคเหนือเรียกสะเลียม ภาคใต้รู้จักกันในชื่อ เดา กระเดา กะเดา มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย ส่วนใหญ่พบในประเทศอินเดีย ไทย อินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ปากีสถาน และศรีลังกา ในไทยจะพบตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดง สะเดาเป็นผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม เจริญเติบโตได้ดีในที่แล้ง ใบและเมล็ดของสะเดามีสารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง จึงนิยมนำไปสกัดเพื่อใช้ไล่แมลง ภายในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า Margosa oil ใช้สำหรับย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายหลายด้าน สะเดาเป็นไม้และเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี และสะเดาช้างเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสงขลา อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ สมุนไพรรางจืดขจัดสารพิษ

ชนิดของสะเดา

สะเดาแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1. สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) สะเดาไทยหรือสะเดาบ้านพบได้ในประเทศไทย พม่า ลาว เขมร ในป่าเบญจพรรณช่วงหน้าแล้งและป่าแดง มีลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม โดยสะเดาไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • ชนิดขม มียอดอ่อนสีแดง
  • ชนิดมัน มียอดอ่อนสีขาว
2. สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A. Juss) สะเดาอินเดีย ในประเทศไทยพบได้น้อย นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว 3. สะเดาช้างหรือสะเดาเทียม (ไม้เทียม) (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) สะเดาช้างหรือสะเดาเทียมพบได้ตามภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีลักษณะขอบใบเรียบหรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบและผลจะใหญ่กว่าสะเดาไทยและสะเดาอินเดีย

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะลำต้น เปลือกนอกค่อนข้างหนา มีสีน้ำตาลหรือสีเทาแก่ แตกเป็นร่อง ผิวเปลือกแตกเป็นร่องตื้น ๆ หรือเป็นสะเก็ดยาว ๆ เยื้องสลับกัน เปลือกของกิ่งค่อนข้างเรียบ แก่นไม้มีสีน้ำตาลแดง มีความแข็งแรงทนทาน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีผิวใบเรียบสีเขียวเข้มและดูวาว โคนใบมนเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยทู่ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ สีขาวนวลเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็น 5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลมีผิวเรียบสีเขียว มีลักษณะคล้ายผลองุ่น ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว ภายในมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด แต่บางผลอาจมี 2 เมล็ดก็ได้ ผิวของเมล็ดมีสีเหลืองซีดหรือสีขาว มีลักษณะค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามความยาว ภายในเมล็ดจะมีน้ำมันประมาณร้อยละ 40 ของน้ำหนัก การเพาะเมล็ดควรเพาะทันทีภาย 5-7 วัน หลังเก็บจากต้น

สรรพคุณของสะเดา

สะเดาเป็นพืชที่ทุกส่วนมีสรรพคุณมากมาย สำหรับดอกของสะเดาและยอดอ่อน มีสรรพคุณช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปากมีกลิ่นเหม็น และมีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ ช่วยขับลมได้ดี ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย  ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาอาการปากเปื่อยหรือริมฝีปากเป็นแผล ช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ รักษาอาการคันในลำคอ ช่วยแก้พิษโลหิตกำเดา ใช้เป็นเจริญอาหาร บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล และช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายจะเป็นไข้ กระพี้ช่วยบำรุงน้ำดี แก้น้ำดีพิการ รักษาถุงน้ำดีอักเสบ ใบของสะเดา ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงธาตุไฟ บำรุงโลหิต ขับน้ำย่อยอาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ลดอาการเบื่ออาหาร ช่วยทำให้อุจจาระละเอียด แก้อาการท้องผูก ช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยรักษาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเอดส์ แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดความเครียดและความกังวล บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ ช่วยรักษามาลาเรียหรือไข้จับสั่น ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้โรคในลำคอ ใบสะเดาสามารถใช้เป็นยาพอกรักษาฝี แก้พิษฝี ช่วยบำรุงน้ำดี ขับน้ำดีให้ตกสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้น้ำดีช่วยในการย่อยไขมันได้ดีขึ้น รักษาผดผื่นคัน ช่วยแก้อาการคันในร่มผ้า ช่วยแก้ประดงเข้าข้อภายใน ใช้พอกผมรักษาเหา  และช่วยรักษาโรคขี้เรื้อนได้ในสุนัขได้ สำหรับผลของสะเดามีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและมะเร็งได้เช่นเดียวกับใบ ช่วยรักษาโรคหัวใจ หัวใจเต้นผิดปกติ แก้ลมที่เกิดในหัวใจ รักษาอาการปัสสาวะพิการ ปัสสาวะผิดปกติ ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร แก่นของลำตันของสะเดาช่วยบำรุงโลหิต บำรุงธาตุไฟ ช่วยขับน้ำย่อยอาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยขับเสมหะ

Neem Extract

ในขณะที่เปลือกของลำต้นช่วยแก้กษัยหรือโรคซูบผอม มีอากรผอมแห้งแรงน้อย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง ช่วยบรรเทาไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น อาการกระหายน้ำ ใช้เป็นยาฝาดสมานแผล ใช้ชะล้างแผลและเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำให้อาเจียน ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาโรครำมะนาด เหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการท้องเดิน ท้องร่วงทช่วยแก้บิด อาการบิดเป็นมูกเลือด ช่วยรักษาแผลพุพองมีน้ำเหลืองไหล ช่วยแก้โรคหิด โรคเรื้อน ช่วยแก้ประดงเข้าข้อภายนอก เปลือกใช้สกัดทำสีย้อมผ้าสีแดง เนื่องจากสารจำพวกน้ำฝาดอยู่ประมาณร้อยละ 12-14 กิ่งอ่อนและก้านช่วยแก้อาการเสียวฟันและแก้ลมพิษ ยางของสะเดาช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้หัด ใช้สกัดทำสีย้อมผ้าสีเหลือง รากของสะเดาช่วยแก้อาการไอ แก้ลม แก้เสมหะที่จุกคอและแน่นอยู่ในอก ทำให้เสมหะที่ติดคอถูกขับออกมา น้ำลายจะหายเหนียว ช่วยรักษาริดสีดวงในลำไส้ อาการปวดท้องปวดเจ็บในลำไส้ ถ่ายออกมาเป็นเลือด และใช้รักษาโรคกระเพาะร่วมกับรากมะเฟือง สำหรับเมล็ดสะเดาที่มีน้ำมันอยู่ประมาณร้อยละ 45 ใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง สะเก็ดเงิน หิด ช่วยบรรเทาอาการผิวแห้ง และสามารถใช้ทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ใช้ทำสบู่ ยาสีฟัน ยารักษาสิว และเครื่องสำอาง ใช้ผสมยารักษาโรคผิวหนัง รักษาเส้นผม สารสกัดที่ได้จากใบและเมล็ดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพดีมาก นอกจากนี้ทุกส่วนของต้นสะเดาเอามาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และเป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง และช่วยแก้ประดงเส้นได้อีกด้วย เนื้อหุ้มเมล็ดที่เน่าเปื่อยสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสูง ในอินเดียนิยมนำต้นสะเดามาปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง เพื่อช่วยในการปรับปรุงดิน ใช้ประกอบอาหาร และตามความเชื่อคนไทยสมัยก่อนถือว่าต้นสะเดาเป็นไม้มงคล ปลูกไว้จะช่วยป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ 

ประสิทธิภาพของสารสกัดสะเดา

ประสิทธิภาพของสารสกัดสะเดาสามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของพืช ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้หลายแบบพร้อมๆกัน โดยออกฤทธิ์ในการยับยั้งการพัฒนาการเจริญเติบโตและกระบวนการลอกคราบของแมลง ทำให้แมลงกินอาหารได้น้อยลง ไม่สามารถวางไข่ และฟักได้ได้ปริมาณน้อยกว่าปกติ และลดประสิทธิภาพการเดิน การกระโดด การคลาน และการบินของแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  • ผู้ที่มีความดันต่ำไม่ควรบริโภคสะเดา เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  • อาจเกิดอาการท้องอืด เกิดลมในกระเพาะ เนื่องจากสะเดาเป็นยาเย็นที่มีรสขม
  • ผู้ที่อยุ่ในช่วงให้นมบุตรหรือหลังคลอด ไม่ควรรับประทานสะเดาเพราะอาจทำให้น้ำนมแห้ง
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานสะเดาเพราะอาจทำให้แท้งธรรมชาติได้
  • ผู้ที่แพ้สารที่อยู่ในสะเดาไม่ควรรับประทานเด็ดขาด
  • ผู้ที่แพ้ยาและสมุนไพรอื่น ๆ มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาตามที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานสะเดา
  • ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดไม่ควรรับประทานสะเดาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เนื่องจากสะเดาอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

ผลข้างเคียงของการรับประทานสะเดา

ในการรับประทานสะเดา อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน ง่วงซึม หมดสติ มีความผิดปกติของสมองและเม็ดเลือด มีอาการชัก และอาจถึงขั้นโคม่าและเสียชีวิตได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ยากล่อมประสาท แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วสะเดาจะถือว่าปลอดภัยสำหรับการใช้เฉพาะที่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องระมัดระวังกับผลิตภัณฑ์สะเดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทากับผิวหนังโดยตรง บุคคลบางคนอาจมีความรู้สึกไวหรือแพ้สะเดา และการใช้เป็นเวลานานหรือมีความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ก่อนที่จะใช้สารสกัดจากสะเดาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสะเดา ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีสภาพผิวหรืออาการแพ้อยู่ นอกจากนี้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำผลิตภัณฑ์และทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าเข้ากันได้กับผิวของคุณ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด