ล้างแผลเปิด (Open Wound) : สิ่งควรรู้ และการล้างแผล

แผลเปิด (Open Wound)  คือ การบาดเจ็บที่เกิดจากการแตกของเนื้อเยื่อ บริเวณภายนอกหรือภายในร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปมักมีความเกี่ยวข้องกับผิวหนัง เกือบทุกคนจะต้องเจอกับแผลเปิดสักช่วงในชีวิต แผลเปิดส่วนมากมักมีอาการเพียงเล็กน้อย และสามารถรักษาได้เองที่บ้าน การหกล้ม อุบัติเหตุจากของมีคม และอุบัติเหตุทางรถยนต์ ล้วนเป็นสาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดแผลเปิด ในกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุร้ายแรงควรรีบไปพบแพทย์ทันที  โดยเฉพาะในกรณีที่มีเลือดออกมาก หรือมีเลือดไหลออกมานานกว่า 20 นาที

ประเภทของแผลเปิด

แผลเปิดแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามสาเหตุของการเกิดแผล ดังนี้ แผลขีดข่วน : รอยขีดข่วนเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังถูหรือเสียดสีกับพื้นผิวที่มีความหยาบหรือแข็ง แผลครูดไปกับพื้นคือตัวอย่างของแผลขีดข่วน โดยปกติจะมีเลือดออกไม่มาก แต่ต้องล้าง และทำความสะอาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แผลฉีกขาด : แผลฉีกขาดคือแผลที่เกิดจากการบาดที่ลึก หรือผิวหนังฉีกขาด อุบัติเหตุที่เกิดจากมีด เครื่องมือ และเครื่องจักรคือสาเหตุสำคัญของแผลฉีกขาด ในกรณีที่มีการฉีกขาดเกิดลึกมาก อาจทำให้เลือดออกอย่างรวดเร็ว และปริมาณมาก แผลเจาะ : แผลเจาะจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ เกิดจากวัตถุที่มีลักษณะยาวแหลม อย่างตะปูหรือเข็ม บางครั้งกระสุนปืนก็อาจทำให้เกิดบาดแผลแบบเจาะได้ แผลเจาะอาจมีเลือดออกไม่มากนัก แต่บาดแผลลักษณะนี้อาจลึกพอที่จะทำลายอวัยวะภายในได้ หากมีแผลเจาะเพียงเล็กน้อย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดบาดทะยัก และป้องกันการติดเชื้อ แผลจากฉีกขาดของร่างกาย : แผลจากการฉีกขาดของร่างกาย คือแผลที่เกิดการฉีกขาดของผิวหนัง และเนื้อเยื่อด้านล่างบางส่วน หรือทั้งหมด การฉีดขาดมักเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุจากของหนักกดทับ การระเบิด และถูกยิง ผู้ได้รับบาดเจ็บมักเสียเลือดอย่างหนัก และเร็วมาก

การรักษาแผลเปิด วิธีทำแผล การล้างแผล

บาดแผลบางอย่างสามารถรักษาที่บ้าน แต่บางกรณีก็ต้องให้แพทย์ทำการรักษา

การรักษาที่บ้าน กรณีบาดแผลเล็กน้อย  : 

บาดแผลเล็กน้อย หรือมีดบาดสามารถรักษาได้เองที่บ้าน เริ่มจากการล้าง และฆ่าเชื้อบาดแผลเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และเศษฝุ่นต่าง ๆ ออกแรงกด และบริเวณเหนือบาดแผลโดยตรงเพื่อห้ามเลือด และลดอาการบวม การพันแผลอาจใช้เศษผ้าที่สะอาด หรือผ้าพันแผลทุกครั้ง  บาดแผลที่เล็กน้อยมากสามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องใช้ผ้าพันแผล การรักษาแผลให้สะอาด และแห้งเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างน้อย 5 วัน นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ความเจ็บปวดที่มาพร้อมกับบาดแผล สามารถแก้ไขด้วยการกินยาอะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) ตามวิธีที่ระบุไว้บนฉลาก หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มียาแอสไพริน เพราะมักทำให้เลือดออก หรือแข็งตัวช้าลงได้ กรณีมีรอยช้ำหรือบวมควรใช้น้ำแข็ง หลีกเลี่ยงการแกะสะเก็ด หากต้องอยู่กลางแจ้งให้ใช้ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติป้องกันแสงแดด (SPF) 30 ทาบริเวณที่เป็นแผลจนกว่าจะหายสนิทOpen Wound

ความจำเป็นที่ต้องไปพบแพทย์ เมื่อมีแผลสด :

แม้ว่าจะสามารถรักษาบาดแผลที่บ้านได้ แต่ควรไปพบแพทย์  เมื่อพิจารณาชนิดของแผล ในกรณีต่อไปนี้ :
  • แผลเปิดลึกกว่า 1/2 นิ้ว
  • เลือดไหลไม่หยุด แม้จะออกแรงกดโดยตรงเอาไว้
  • เลือดออกนานกว่า 20 นาที
  • การตกเลือด ที่เกิดจากอุบัติเหตุที่ร้ายแรง

การปฐมพยาบาลบาดแผล:

แพทย์อาจใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการรักษาแผลเปิด หลังจากทำความสะอาด และอาจทำให้บริเวณที่เกิดแผลชามากขึ้น แพทย์อาจปิดแผลโดยใช้กาวปิดแผล หรือใช้วิธีการเย็บ แพทย์อาจพิจารณาฉีดบาดทะยัก หากเป็นแผลเจาะ พิจารณาตามตำแหน่งของแผล และโอกาสในการติดเชื้อด้วย แพทย์อาจไม่ปิดแผล และปล่อยให้หายเองตามธรรมชาติ เรียกกระบวนการหายของแผล เป็นวิธีการรักษาในกรณีที่แผลเปิดไม่ลึกมาก เกิดเฉพาะบริเวณผิวหนังชั้นกำพร้าเท่านั้น ในขั้นตอนนี้ แพทย์อาจพันแผลด้วยผ้าก๊อซเอาไว้ แม้ว่าจะทำให้ดูไม่สวยงาม แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อ และโอกาสเกิดฝีบริเวณแผลได้ การรักษาแผลเปิดวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวด แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพนิซิลิน หรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ หากผู้บาดเจ็บเกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ บางกรณีอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด หากร่างกายมีอวัยวะฉีกขาด ควรพาผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล เพื่อหาทางติดส่วนที่ฉีดขาดกลับเข้าไปใหม่ ให้ห่อส่วนของร่างกายที่ฉีดขาดด้วยผ้าที่สะอาดและชื้น แล้วบรรจุเอาไว้ในน้ำแข็ง เมื่อผู้บาดเจ็บออกจากสถานพยาบาล แพทย์อาจให้พันแผล และใส่ยาเอาไว้ สิ่งสำคัญคือต้องล้างมือ และทำความสะอาดผิวที่เป็นแผล เมื่อเปลี่ยนผ้าพันแผล และใส่ยาทาแผลใหม่ ฆ่าเชื้อ และเช็ดแผลให้แห้งก่อนทำแผลใหม่ทุกครั้ง ทิ้งผ้าพันแผล และผ้าปิดแผลที่ใช้แล้วในถุงพลาสติก

ภาวะแทรกซ้อนจากแผลเปิด

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยจากแผลเปิด คือความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ติดต่อแพทย์ทันที หากเกิดแผลเจาะ มีอาการของเลือดออกมาก หรืออุบัติเหตุที่ร้ายแรง ผู้บาดเจ็บอาจมีเลือดออกมาก หรือเกิดการติดเชื้อ สัญญาณของการตกเลือด ได้แก่ เลือดออกอย่างต่อเนื่อง และไม่ตอบสนองต่อการกดห้ามเลือด ลักษณะที่แสดงว่าบาดแผลเกิดการติดเชื้อ ได้แก่:
  • เหงื่อออกมาก
  • มีหนองสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาลออกมา
  • หนองมีกลิ่นเหม็น
สัญญาณอื่น ๆ ที่แสดงถึงการติดเชื้อ ได้แก่ :
  • มีไข้สูงกว่า 100.4 ° F (38 ° C) นานกว่าสี่ชั่วโมง
  • เกิดฝีบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้
  • บาดแผลไม่ยอมหายดี
แพทย์อาจพิจารณาเจาะ หรือล้างแผล และสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในกรณีที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ในกรณีที่ร้ายแรงแพทย์อาจผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก และบางกรณีก็รวมถึงเนื้อเยื่อรอบข้างบาดแผลด้วย

ภาวะอื่น ๆ ที่เกิดจากแผลเปิด ได้แก่ :

บาดทะยัก : ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดบาดทะยัก อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกราม และคอหดเกร็ง โรคเนื้อเน่า : โรคเนื้อเน่าคือการติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนอย่างรุนแรง เกิดจากแบคทีเรียหลายชนิด ทั้ง Clostridium และ Streptococcus ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย และเกิดภาวะติดเชื้อได้ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ : โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบคือการติดเชื้อที่ผิวหนังของผู้บาดเจ็บ ซึ่งเชื้ออาจไม่ได้สัมผัสกับบาดแผลโดยตรง

ข้อควรปฎิบัติเมื่อมีแผลเปิด

เมื่อคุณมีแผลเปิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อและส่งเสริมการรักษาที่เหมาะสม ขั้นตอนสำคัญที่ต้องระวังเมื่อต้องรับมือกับบาดแผลเปิดมีดังนี้
  • ทำความสะอาดมือ : ก่อนสัมผัสบาดแผล ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • หยุดเลือด : หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้ากอซฆ่าเชื้อกดเบาๆ เพื่อห้ามเลือด ยกบริเวณที่บาดเจ็บขึ้นถ้าเป็นไปได้
  • ทำความสะอาดบาดแผล : ทำความสะอาดแผลเบา ๆ ด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่รุนแรงหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เนื่องจากอาจทำลายเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีได้  
  • ซับให้แห้ง : ค่อยๆ ซับแผลและผิวหนังโดยรอบให้แห้งด้วยผ้ากอซที่สะอาดหรือผ้าสะอาด อย่าถูเพราะจะทำให้แผลระคายเคืองมากขึ้น
  • ทาน้ำยาฆ่าเชื้อ : หากมี ให้ทาครีมหรือครีมฆ่าเชื้อที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ที่แผลเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งาน
  • ปิดแผล : ใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อ แถบกาว หรือผ้าปิดแผลที่สะอาดเพื่อปิดแผล ซึ่งจะช่วยปกป้องแผลจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรียพร้อมทั้งช่วยให้แผลสมานตัวได้
  • เปลี่ยนผ้าปิดแผล : เปลี่ยนผ้าปิดแผลหรือผ้าพันแผลเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเปียก สกปรก หรือสกปรกอย่างเห็นได้ชัด ทำความสะอาดแผลและติดผ้าปิดแผลใหม่ตามความจำเป็น
  • เฝ้าระวังสัญญาณของการติดเชื้อ : จับตาดูบาดแผลเพื่อดูสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีรอยแดงเพิ่มขึ้น บวม รู้สึกอุ่น มีหนอง หรืออาการปวดที่แย่ลง หากคุณสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ให้ไปพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ : หลีกเลี่ยงการจุ่มแผลในน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ หรืออ่างน้ำร้อน จนกว่าแผลจะหายสนิทเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • อย่าแกะหรือเกา : หลีกเลี่ยงการหยิบสะเก็ดหรือเกาแผล เพราะจะทำให้กระบวนการหายช้าลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ : หากแผลลึก ใหญ่ หรือเกิดจากวัตถุสกปรกหรือปนเปื้อน หรือหากมีความเสี่ยงต่อสิ่งแปลกปลอมภายในแผล ให้ไปพบแพทย์ทันที ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • อัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักของคุณเป็นข้อมูลล่าสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบาดแผลเกิดจากการถูกเจาะหรือวัตถุสกปรก โรคบาดทะยักคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากบาดแผลบางประเภท
หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับแผลเปิด แนะนำให้ไปพบแพทย์เสมอ การดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสมและการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและสนับสนุนกระบวนการสมานแผล

สรุปภาพรวมของแผลเปิด

ไม่ว่าจะมีบาดแผลที่เล็กน้อย หรือมีอาการรุนแรง สิ่งสำคัญคือการแก้ไขทันที แผลเปิดบางอย่างสามารถรักษาได้ที่บ้าน แต่ก็ไม่ใช่ในทุกกรณี ผู้บาดเจ็บควรไปพบแพทย์หากเป็นแผลลึก หรือมีเลือดออกมาก วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/325260
  • https://www.medicinenet.com/what_is_the_fastest_way_to_heal_an_open_wound/article.htm
  • https://www.webmd.com/first-aid/ss/slideshow-how-does-your-wound-heal
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด