บาดทะยัก (Tetanus) : อาการ สาเหตุ การรักษา การป้องกันโรค

โรคบาดทะยักคืออะไร 

โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือโรคแผลติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็งตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ บางครั้งโรคบาดทะยักอาจจะส่งรุนแรงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้   จากสิถิติผู้ป่วยโรคบาดทะยักในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปี 2516 มีผู้ป่วยเป็นโรคบาดทะยักจำนวน 1,494 ราย และในปี  2520 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,975 รายในปี 2520 คิด เป็นอัตราป่วยด้วยโรคบาดทะยักต่อประชากร แสนคนเท่ากับ 3.67 และ 4.49 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคบาดทะยักแล้วเสียชีวิตมี 273 คน ในปี 2516 เพิ่มเป็น 427 คน ในปี 2520 อัตราตายนี้คิดได้เป็น 18.3 ถึง 21.7% ของผู้ป่วย ดังนั้นการเป็นโรคบาดทะยักนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวลมาก ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาทันที แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัค แต่วัคซีนโรคบาดทะยัคจำเป็นต้องฉีดซ้ำทุก ๆ 10 ปี โรคบาดทะยัก (Tetanus)

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

สาเหตุของโรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani ที่มีสปอร์ที่แพร่กระจายตามบริเวณฝุ่น หรือพื้นดิน และมูลสัตว์ และเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานตามพื้นที่ต่าง ๆ นอกร่างกาย แบคทีเรียมีความทนทานต่อความร้อน จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ เมื่อผู้ป่วยมีบาดแผลและสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคบาดทะยักขึ้น และเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วสปอร์ของแบคทีเรียจะแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ประสาทส่วนกลางผลิตสารพิษ ทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย  สาเหตุการบาดเจ็บที่อาจจะก่อให้เกิดการได้รับเชื้อบาดทะยักมีดังนี้ 

อาการโรคบาดทะยัก

เมื่อรับเชื้อบาดทะยักมาแล้ว เชื้อจะทำการฟักตัวเป็นเวลา 3-21 วัน โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมาภายใน 14 วัน โรคบาดทะยักจะส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งอาจนำไปสู่การเกร็งบริเวณขากรรไกร และกล้ามเนื้อลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการชักและเกร็งในกล้ามเนื้อต่างๆ เช่นบริเวณกราม หน้าท้องหน้าอก หลังและคอ  นอกจากนี้บาดทะยักอาจจะส่งผลให้ :

การรักษาโรคบาดทะยัก

การรักษาโรคบาดทะยักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย และมีหลายทางเลือกในการรักษา :
  • การให้ยาปฏิชีวนะ จำพวกเพนิซิลลินในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • การให้ยา tetanus immune globulin (TIG) เพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • ทำความสะอาดแผลที่ติดเชื้อแบคทีเรีย 
  • ในบางกรณีอาจจะมีการผ่าชิ้นเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกไป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคบาดทะยัก  ด้วยอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่รุนแรงอาจจะส่งผลเสียอื่น ๆ ต่อสุขภาพตามมาเช่น : 
  • การหายใจติดขัด
  • โรคปอดบวม (การติดเชื้อของปอด)
  • สมองถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจน
  • การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ

การป้องกันโรคบาดทะยัก

วิธีป้องกันโรคบาดทะยักที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือการ ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยปัจจุบันนี้การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักจะต้องฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่เด็ก 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน จากนั้น 15-18 เดือน และอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ขวบ โดยวัคซีนป้องกันบาดทะยักควรฉีดทุก ๆ 10 ปี  และเมื่อเกิดบาดแผลผู้ป่วยควรทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อไหร่ที่แผลสดหรือแผลที่เปิดได้รับการสัมผัสกับ ดิน ฝุ่น สภาวะแวดล้อมภายนอก ผู้ป่วยควรระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดบาดทะยัก 

คำถามที่พบบ่อย

บาดทะยักสามารถหายเองตามธรรมชาติได้หรือไม่ ไม่มีวิธีรักษาบาดทะยัก การรักษามุ่งเน้นไปที่การจัดการกับอาการและภาวะแทรกซ้อนจนกว่าผลของพิษบาดทะยักจะหาย รักษาบาดทะยักได้เร็วแค่ไหน การรักษาทันทีด้วยยาที่เรียกว่า Human tetanus immun globulin (TIG) การดูแลบาดแผลที่รุนแรง ยาควบคุมการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ยาปฏิชีวนะ บาดทะยักเป็นนานแค่ไหน  ผู้ที่เป็นโรคบาดทะยักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรงอาจคงอยู่ประมาณสามถึงสี่สัปดาห์และจะค่อยๆ ดีขึ้น เมื่ออาการกระตุกเหล่านี้ทุเลาลง การพักฟื้นจะใช้เวลาหลายเดือน คุณจะรอดจากบาดทะยักได้ด้วยการรักษาหรือไม่ ด้วยการรักษาที่เหมาะสม ผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 15% จะเสียชีวิต บาดแผลที่ศีรษะหรือใบหน้าดูจะอันตรายกว่าบาดแผลที่ส่วนอื่นของร่างกาย หากบุคคลนั้นรอดชีวิตจากการเจ็บป่วยเฉียบพลัน โดยทั่วไปการฟื้นตัวจะสมบูรณ์ ร่างกายของคุณสามารถต่อสู้กับบาดทะยักได้หรือไม่ บาดทะยัก เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Clostridium tetani เมื่อคุณได้รับวัคซีนบาดทะยักตามคำแนะนำ ร่างกายของคุณจะสร้างแอนติบอดี ซึ่ง เป็นโปรตีนพิเศษที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต่อสู้กับสารพิษที่แบคทีเรียผลิตขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเป็นบาดทะยัก บาดทะยักคือการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า Clostridium tetani เมื่อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย พวกมันจะสร้างสารพิษที่ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอย่างเจ็บปวด ชื่ออื่นสำหรับบาดทะยักคือ “โรคขากรรไกร” มักทำให้กล้ามเนื้อคอและกรามของบุคคลนั้นล็อค ทำให้อ้าปากหรือกลืนลำบาก บาดทะยักมีกี่ระยะ บาดทะยักมีสี่รูปแบบตามผลการวิจัยทางการแพทย์ ได้แก่ บาดทะยัก ทั่วไป ทารกแรกเกิด เฉพาะที่ และบาดทะยักขึ้นสมอง บาดทะยักทั่วไปเป็นบาดทะยักรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบได้ประมาณ 80% ของกรณีทั้งหมด บาดทะยักอันตรายหรือไม่ บาดทะยัก หรือที่บางครั้งรู้จักกันในชื่อ “โรคขากรรไกรค้าง” คือการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Clostridium tetani เมื่อแบคทีเรียนี้บุกรุกเข้าสู่ร่างกาย มันจะสร้างสารพิษที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงและตึงจนเจ็บปวด ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้หายใจลำบาก ชัก และเสียชีวิตได้ อาหารอะไรป้องกันบาดทะยัก อาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม เช่น อะโวคาโด เมล็ดแฟลกซ์ ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต นมเปรี้ยว ฟักทอง ; ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อกรามที่อุดตันและบรรเทาอาการปวดและอักเสบ เพิ่มอาหารโปรตีนสูง เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ในอาหารประจำวันของคุณ มันลดประสิทธิภาพของแบคทีเรียบาดทะยักลงอย่างมาก จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รักษาบาดทะยัก หากไม่ได้รับการรักษา บาดทะยักอาจถึงแก่ชีวิตได้ ความตายพบได้บ่อยในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ 
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/syc-20351625
  • https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tetanus
  • https://www.cdc.gov/tetanus/index.html
  • https://www.nhs.uk/conditions/tetanus/
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459217/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด