นมระหว่างตั้งครรภ์ (Milk During Pregnancy) – เคล็ดลับและข้อควรระวัง

นมคือสิ่งที่จำเป็นในโภชนาการอาหาร โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ มารดาสามารถดื่มนมได้สองหรือสามหน่วยบริโภคต่อวัน นมช่วยเติมเต็มความต้องการสารอาหารให้หญิงตั้งครรภ์รวมถึงเพื่อพัฒนาการของทารก นมมีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนทั้งเก้าชนิดที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาการและการยังชีพของมนุษย์ แต่ก็ยังคงมีทางเลือกอื่นๆสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการดื่มนมวัวหรือนมจากสัตว์หรือไม่  ต่อไปนี้คือชนิดของนมที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารและผลข้างเคียงของนมเพื่อช่วยเลือกชนิดให้ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์ดื่มนมแล้วดีหรือไม่ 

ดี เพราะนมมีปริมาณแคลเซียม โปรตีนและวิตามินดีที่ช่วยบำรุงสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของทารก

หญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคนมในปริมาณเท่าใดต่อวัน?

หญิงตั้งครรภ์สามารถดื่มนมได้ถึง 3 แก้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งนมไขมันต่ำหรือนมปราศจากไขมันที่หลากหลายได้ทุกๆวันเพื่อรับประโยชน์จากนม แต่อย่างไรก็ตามการเลือกชนิดของนมนั้นขึ้นอยู่กับโภชนาการและสถานะทางการแพทย์ของมารดา

ประโยชน์ที่ได้จากการดื่มนมในระหว่างการตั้งครรภ์

นมมีประโยชน์ในระหว่างการตั้งครรภ์ดังนี้:

1. มีแคลเซียมสำหรับกระดูก

มารดาต้องการแคลเซียมประมาณ 50 ถึง 330 มก.เพื่อช่วยในการพัฒนาการกระดูกของทารก หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไปแนะนำให้บริโภคแคลเซียม 1,000 มก.ต่อวัน ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 19 แนะนำให้บริโภคแคลเซียม 1,300 มก.ต่อวัน นมปราศจากไขมันหนึ่งแก้ว (250 มล.) มีแคลเซียม 309 มก. ดังนั้นแนะนำให้ดื่มนม 3-4 แก้วเพื่อได้รับแคลเซียมตามที่ต้องการในระหว่างการตั้งครรภ์

2. โปรตีนเพื่อพัฒนาการของทารก

ในระหว่างการตั้งครรภ์ การรับประทานโปรตีนที่เหมาะสมจะช่วยในการเจิญเติบโตของทารกและเซลล์ที่ทวีคูณอย่างรวดเร็ว โปรตีนยังช่วยให้มดลูกแข็งแรง  หลอดเลือดดีขึ้นและหล่อเลี้ยงทารก หากบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย ปริมาณโปรตีนที่ต้องการในแต่ละวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์คือ 1.1 กก./น้ำหนักตัว/วัน นมหนึ่งแก้วมีโปรตีน 8-9 กรัม ดังนั้นการดื่มนมไขมันต่ำสามแก้วจะช่วยทำให้ได้รับโปรตีนตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ถึง 1ใน 3

3. วิตามินดีช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก

การได้รับวิตามินดีในระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กและทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ปริมาณวิตามินดีที่ต้องการในแต่ละวันคือ 400 IU และนมหนึ่งหน่วยบริโภค (8ออนซ์)สามารถให้วิตามินดี 115 ถึง 124 IU ดังนั้นการดื่มนม 3 แก้วจะทำให้ได้รับวิตามินถึง 59%    

4. มีคุณสมบัติในการลดกรด

อาการปวดแสบร้อนกลางหน้าอกและปัญหากระเพาะอาหารอื่นๆที่เกิดขึ้นคืออาการปกติระหว่างการตั้งครรภ์ การดื่มนมปราศจากไขมันหรือไขมันต่ำสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดแสบร้อนกลางอกได้

5. ช่วยรักษาความชุ่มชื้น

หากรู้สึกกระหายหรือเครียด การได้ดื่มนมสามารถช่วยอาการเหล่านี้ได้  นมช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเติมเต็มสำหรับของเหลวที่สูญเสียไปของร่างกาย

น้ำนมดิบหรือนมพาสเจอไรส์ ชนิดไหนมีความปลอดภัย?

การดื่มนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์หรือนมดิบหรือการบริโภคทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเตรียมจากนมดิบคือสิ่งที่ไม่ปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์ การบริโภคน้ำนมดิบ (นมที่ไม่ผ่านการพลาสเจอไรส์และมีจุลินทรีย์) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลายอย่างเช่น โรคลิสเทริโอซิส ในระหว่างกระบวนการพลาสเจอไรส์ นมจะโดนความร้อนที่อุณหภูมิสูงเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรคหลายชนิด โรคลิสเทริโอซิสคือโรคที่พบได้ยากแต่สามารถส่งผลให้เกิดอันตรายสำหรับทารกที่ยังไม่คลอด

ประเภทของนม-นมที่ดีที่สุดที่ควรดื่มเมื่อตั้งครรภ์?

โดยทั่วไป นมมีมากมายหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งนมได้เป็น 2 ชนิดคือนมไขมันเต็มและนมไขมันต่ำหรือนมพร่องมันเนย ไม่ว่าจะเลือกชนิดไหนสิ่งที่สำคัญคือต้องเลือกชนิดที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ น้ำนมดิบมักมีแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับตัวมารดาและทารกในครรภ์ ทาง The US Center for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำมาจากนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ นมชนิดต่างๆที่สามารถเลือกดื่มได้มีดังต่อไปนี้:
  1. นมพร่องมันเนย คือนมที่มีไขมันต่ำและเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยในการบำรุงร่างกายและมีสุขภาพแข็งแรงในระหว่างการตั้งครรภ์ นมมีสารอาหารที่จำเป็นที่ช่วยในการเจริญเติบโตของทารกและโครงสร้างกระดูก
นมไขมันต่ำ 1 แก้ว (250มล.)ให้แคลเซียม 309 มก. ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมารดารวมถึงการพัฒนาการของทารก จากการวิจัยพบว่าการดื่มนมไขมันต่ำ 2 ถึง 3 แก้ว คือทางเลือกที่ฉลาดในระหว่างการตั้งครรภ์
  1. นมไขมันเต็มหรือนมครบส่วน นมไขมันเต็มจะมีสารอาหารและไขมันส่วนเกิน นมไขมันเต็ม 1 แก้วมี 150 แคลลอรี่ในขณะที่นมพร่องมันเนยมี 83 แคลลอรี่เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นนมไขมันเต็ม 100 กรัม มีไขมันอิ่มตัวรวมคือ 1.6 กรัมในขณะนมพร่องมันเนยมีเพียง 0.056 กรัมเท่านั้น
ดังนั้นนมไขมันเต็มสามารถดื่มได้หากแพทย์แนะนำให้ดื่ม แต่อย่างไรก็ตามก็ควรระมัดระวังว่าในขณะตั้งครรภ์นั้นไม่ควรได้รับไขมันมากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไป นมได้มาจากแหล่งที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงในสัตว์และพืช จากนมวัวและนมแพะ นมข้าวและนมอัลมอนด์ ซึ่งนมแต่ละชนิดต่างมีรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนการลอง นมระหว่างตั้งครรภ์

1. นมวัว

  • เป็นนมที่บริโภคทั่วไปที่ให้เลือกทั้งแบบนมเต็มไขมัน นมปราศจากไขมัน นมพร่องมันเนย
  • อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ช่วยสร้างเซลล์ในมารดาและร่างกายของทารก
ส่วนประกอบ:
  • วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยควบคุมความเสียหายจากอนุมูลอิสระ
  • วิตามินเอ เพื่อสายตาที่ดี ช่วยสร้างเนื้อเยื่อให้แข็งแรงและเสริมภูมิคุ้มกัน
  • นมวัวหนึ่งแก้วให้แคลเซียม 240 มก.

2. นมแพะ

  • ไม่เป็นที่นิยมแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
  • เมื่อเทียบกับนมวัวแล้ว นมแพะมีโปรตีนและไขมันสูงกว่า มีแคลลอรี่สูงและมีเม็ดไขมันน้อยกว่า และมีวิตามินบี2สูง
  • นมแพะมีกรดไขมันที่จำเป็นมากกว่าเช่น กรดลิโนเลอิกและกรดอะราคิโดนิก
  • นมแพะหนึ่งแก้วมีแคลเซียม 134 มก.

3. นมถั่วเหลือง

  • ปราศจากไขมัน มีหลายรสชาติ มีสารเสริมอาหารด้วยใยอาหารหรือแคลเซียม นมถั่วเหลืองยังมีระดับโปรตีนเกือบเท่ากับนมวัว
  • ไม่มีคอเรสเตอรอลและมีปริมาณแคลเซียมที่ดีต่อทารกและมารดา นมถั่วเหลือง 1 แก้วมีแคลเซียม 300มก.
  • มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียวและเชิงคู่ที่ช่วยป้องกันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็งและผลกระทบ

3. นมข้าว

  • ทำมาจากข้าวและน้ำ นมข้าวเป็นพมพร่องมันเนย มีรสชาติ แคลเซียมหรือโปรตีนที่เหมาะสม
  • นมข้าวมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่านมวัวสี่เท่า ไม่แนะนำสำหรับหญิงที่มีภาวะเบาหวาน
  • มีระดับวิตามินบีสูงและไขมันต่ำ
  • อุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีนต่ำและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
  • นมข้าว 1 แก้วให้แคลเซียม 118มก.

4. นมอัลมอนด์

  • นมอัลมอนด์คือทางเลือกที่ดีที่สุดโดยเฉพาะกับคนที่แพ้แลคโตสหรือถั่วเหลือง ทำมาจากอัลมอนด์บดกับน้ำ
  • ปราศจากคอเรสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัว นมอัลมอนด์หนึ่งแก้วมีปริมาณแคลเซียม 197 มก.
  • อุดมไปด้วยใยอาหาร กรดโฟลิค วิตามินบีและอี โปรตีน แคลเซียมและเหล็ก
  • แคลออรี่ต่ำและมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมระบบภูมิต้านทาน

5. นมข้าวโอ๊ต

  • ใยอาหารสูงสามารถป้องกันภาวะท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ยังอาจช่วยควบคุมความอยากอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ
  • ใยอาหารหลักในนมข้าวโอ๊ตคือเบต้ากลูแคน ที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติโภชนเภสัชที่ช่วยรักษาระดับกลูโคสในเลือด 
  • อุดมไปด้วยวิตามินเอและบี และแร่ธาตุเช่น โปแตสเซียม แมงกานีสและฟอสฟอรัส
  • มีโปรตีนมากกว่านมอัลมอนด์หรือนมข้าวแต่น้อยกว่านมวัว

6. นมมะพร้าว

  • นมมะพร้าว 1 แก้วมี 76 แคลลอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากน้ำตาลและไขมันแต่แทบจะไม่มีโปรตีนเลย
  • มีแคลเซียม 459 มก.ซึ่งเป็นจำนวนที่จัดว่ามากเมื่อเทียบกับนมที่ได้จากสัตว์

8. นมหญ้าฝรั่น

  • นมหญ้าฝรั่นหรือนมกีชาร์ทำมาจากการเติมหญ้าฝรั่นในนม การเติมหญ้าฝรั่นในนมดื่มสำหรับหญิงตั้งครรภ์คือประเพณีที่ทำกันมาเป็นอายุรเวท
  • มีความเชื่อกันว่าการเติมหญ้าฝรั่นลงในนมจะช่วยเรื่องดังต่อไปนี้
  1. ช่วยการย่อยอาหารและความอยากอาหาร
  2. ส่งผลดีในการต้านโรคซึมเศร้าควบคุมความเครียดและสามารถจัดการกับอารมณ์ขึ้นๆลงๆได้
  3. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และท้องผูก
  4. ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  5. ควบคุมอาการไข้หวัด

9. นมผง

  • ทำมาจากนมที่ผ่านกระบวนการระเหยน้ำเพื่อทำให้แห้งเป็นผง 
  • มีผลดีต่อสุขภาพน้อยเพราะผ่านการสัมผัสความร้อนสูงเพื่อระเหยน้ำในนมส่งผลไปทำลายวิตามินและแร่ธาตุที่ละลายได้ในน้ำ

10. นมเปรี้ยว(หรือนมบัตเตอร์มิลล์)

  • นมที่ผ่านกระบวนการแยกเนยออกจากนม น้ำที่เหลือมีโปรตีนในนมเป็นส่วนประกอบ 
  • การทำนมเปรี้ยวคือการการเติมแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่ไปหมักอยู่ในนมทำให้เกิดรสเปรี้ยว
  • สารอาหารเหมือนกับนมไขมันต่ำหรือปราศจากไขมัน

11. นมข้นหวาน

  • เป็นนมวัวที่ถูกทำให้ระเหยน้ำและเติมน้ำตาล
  • มีความปลอดภัยในการบริโภคสำหรับหญิงตั้งครรภ์เพราะทำมาจากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • มีคุณสมบัติโภชนาการเหมือนกับนมสดหรือนมพร่องมันเนย

12. นมช็อกโกแลต

  • เป็นนมปรุงแต่งรสชาติด้วยการผสมช็อกโกแลตหรือไซรัป
  • จัดว่ามีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ มีแคลลอรี่สูงควรดื่มไม่เกิน 2 แก้ว ระวังเรื่องคาเฟอีนและน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ

ความปลอดภัยในการบริโภคนมในระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อบริโภคมากเกินไปหรือผ่านการเตรียมที่ไม่มีความเหมาะสม นมก็สามารถสร้างความไม่สบายตัวให้คุณได้ ต่อไปนี้คือการบริโภคนมที่ปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์t:
  • เจือจางนมกับน้ำในอัตราส่วน  2:1 และคนให้เข้ากัน นำไปผสมทำชาหรือมิลล์เชค
  • บริโภคนมอุ่นด้วยการค่อยๆจิบ ไม่ควรดื่มอย่างรวดเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มนมหลังมื้ออาหาร
  • สามารถดื่มนมได้มากกว่า 3 แก้วโดยเว้นช่วงเวลาในการดื่ม

เคล็ดลับและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าการบริโภคนมจะมีประโยชน์ในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณต้องจำไว้เช่นกัน

สิ่งที่ควรรับประทานหรือดื่ม

  • อาหารจากนมเช่นโยเกิร์ตถือเป็นอาหารว่างมื้อบ่ายที่ดีต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่องของน้ำตาล โยเกิร์ตบางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ได้
  • สำหรับมื้อเช้า รับประทานนมร่วมกับซีเรียลเช่นข้าวโอ๊ต ข้าวโพดหรือคอร์นเฟล็กซ์ 
  • มื้อเย็น ทานนมพร่องมันเนยหนึ่งแก้ว
  • ชีสไขมันต่ำในสลัด

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงชีสรา (camembert and brie) ชีสที่มีจุดน้ำเงินหรือสีเขียว(Roquefort) และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ การบริโภคชีสข้างต้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการได้รับการปนเปื้อนขากแบคทีเรียที่อาจนำไปสู่โรคลิสเทริโอซิส

ภาพรวม

โดยรวมแล้ว นมและผลิตภัณฑ์จากนมสามารถเป็นส่วนเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยสำหรับอาหารการตั้งครรภ์ที่ดีต่อสุขภาพ โดยให้สารอาหารที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงความชอบส่วนบุคคล ข้อจำกัดด้านอาหาร และระดับการทนต่ออาหารเมื่อรวมนมเข้ากับอาหารการตั้งครรภ์ของคุณ หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการบริโภคนมในระหว่างตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำและคำแนะนำเฉพาะบุคคล
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด