ยารักษาไมเกรน (Migraine Drugs) – วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยารักษาไมเกรน
ไมเกรน (Migraines) คือ อาการปวดศีรษะที่รุนแรง ส่งผลให้ร่างกาย และสุขภาพทรุดโทรม ปวดศีรษะโดยมีลักษณะสั่นหรือเต้นเป็นจังหวะอย่างรุนแรงในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะ โดยสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนทั่วไปได้แก่ ความไวต่อแสง เสียง และกลิ่น เมื่อปวดไมเกรนจะทำให้เกิดความบกพร่องทางสายตา เช่น ออร่า และมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนได้ ไมเกรนเป็นสิ่งที่รุนแรงกว่าอาการปวดศีรษะโดยทั่วไป และกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ไมเกรนสามารถรักษไดาด้วยยา มี 2 ประเภทของยาที่ใช้ในการรักษาไมเกรน ได้แก่
  • การรักษาแบบเฉียบพลัน สำหรับอาการปวด และอาการอื่นๆ ในระหว่างที่ปวดศีรษะไมเกรน
  • การรักษาเชิงป้องกัน เพื่อลดความถี่ และความรุนแรงของการปวดศีรษะไมเกรน
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ อาการ และการรักษาปวดไมเกรน

ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน

ต่อไปนี้จะเป็นการแนะนำยาสำหรับบรรเทาอาการต่างๆ เกี่ยวกับการปวดไมเกรน การใช้ยาเหล่านี้บ่อยเกินไปสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาที่มากเกินไปได้ หากต้องใช้ยาเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรนมากกว่า 9 ครั้งต่อเดือน ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา

1. ยาแก้ปวด (Painkillers)

ยาแก้ปวดที่จำหน่ายในร้านขายยาทั่วไปสามารถใช้สำหรับไมเกรนได้ แต่ยาส่วนมากมีเฉพาะในใบสั่งยาเท่านั้น  ส่วนมากจะเป็นอะเซตามิโนเฟน และยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวด รวมทั้งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่สามารถลดอาการปวด และอักเสบได้ มีดังนี้
  • อะซิตามิโนเฟน (Excedrin และTylenol)
  • แอสไพริน
  • ไดโคลฟีแนค (Cataflam)
  • ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin)
  • คีโตโรแลค (Toradol)
  • นาพรอกเซน (Aleve)
ยาทั่วไปจำนวนมากที่วางจำหน่ายในตลาดโดยเฉพาะสำหรับไมเกรน หรือปวดหัวโดยทั่วไป โดยจะเป็นยาข้างต้นกับคาเฟอีนในปริมาณเล็กน้อย จะช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ไม่รุนแรง ผลข้างเคียงอาจเกิดจากการใช้ NSAID ในระยะยาว ได้แก่

2. เออร์โกทามีน (Ergotamines)

เออร์โกทามีน (Ergotamines) เป็นยาสำหรับแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดรอบ ๆ สมองหดตัว และสามารถบรรเทาอาการไมเกรนได้ภายในไม่กี่นาที เออร์โกทามีนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด สเปรย์ฉีดจมูก ยาเหน็บ และยาฉีด โดยทั่วไปมักใช้ตั้งแต่เริ่มปวด และสามารถรับประทานซ้ำได้หลังจากนั้นอีก 30 นาที หากอาการไม่ดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างยากลุ่มเออร์โกทามีน
  • Dihydroergotamine (DHE-45, Migranal)
  • Ergotamine (Ergomar)
  • Ergotamine และ caffeine (Cafatine, Cafergot, Cafetrate, Ercaf, Migergot, Wigraine)
  • Methysergide (Sansert)
  • Methylergonovine (Methergine)
เออร์โกทามีน (Ergotamines) อาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เมื่อใช้ในปริมาณที่เกิดกำหนด จะมีผลต่อสุขภาพหัวใจ และข้อบกพร่องด้านสุขภาพอื่นๆ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือมีโรคหัวใจ ไม่ควรใช้ยาเออร์โกทามีน อีกทั้งเออร์โกทามีนยังให้ผลในทางลบกับยาอื่น ๆ เช่น ยาต้านเชื้อรา และยาปฏิชีวนะ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเมื่อใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย

Migraine Drugs

3. ทริปแทน (Triptans)

ทริปแทน (Triptans) เป็นยากลุ่มที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในสมองข ลดการอักเสบ และบีบรัดหลอดเลือด สามารถระงับอาการปวดศีรษะไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยาทริปแทนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ยาพ่นจมูก ยาฉีด และยาเม็ดที่ละลายใต้ลิ้น สามารถออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว เพื่อหยุดอาการไมเกรน ตัวอย่างของยาทริปแทนได้แก่
  • Almotriptan (Axert)
  • Eletriptan (Relpax)
  • Frovatriptan (Frova)
  • Naratriptan (Amerge)
  • Rizatriptan (Maxalt, Maxalt-MLT)
  • Sumatriptan (Imitrex)
  • Sumatriptan and naproxen (Treximet)
  • Zolmitriptan (Zomig)
โดยผลข้างเคียงของทริปแทนมีดังนี้ ผู้ที่มีปัญหาหัวใจ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองควรหลีกเลี่ยงทริปแทน ทริปแทนสามารถทำให้เกิดกลุ่มอาการเซโรโทนินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากรับประทานร่วมกับยาอื่นๆ ที่เพิ่มปริมาณเซโรโทนิน เช่น ยาแก้ซึมเศร้า เป็นต้น

4. ยาแก้การอาเจียน (Antinausea drugs)

เป็นกลุ่มยาเหล่าที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ที่เกิดร่วมกับอาการไมเกรนที่รุนแรงได้ แต่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาแก้ปวด เนื่องจากยานี้ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด โดยตัวอย่างกลุ่มยาแก้อาเจียนได้แก่
  • Dimenhydrinate (Gravol)
  • Metoclopramide (Reglan)
  • Prochlorperazine (Compazine)
  • Promethazine (Phenergan)
  • Trimethobenzamide (Tigan)
ยาเหล่านี้มีผลทำให้ง่วง ตื่นตัวน้อยลง หรือเวียนศีรษะ และมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง

5. สารโอปิออยด์ (Opioids)

หากอาการปวดไมเกรนไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ ข้างต้น  กล่าวคือ ไม่สามารถใช้ยาเออร์โกทามีน และทริปแทนเป็นยาแก้ปวดไมเกรนที่มีฤทธิ์แรงแล้ว ในการบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน แพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้ยาที่มีการผสมสารโอปิออยด์ที่ได้มาจากฝิ่น โดยตัวอย่างมีดังนี้
  • โคเดอีน
  • เมอริดีน (Demerol)
  • มอร์ฟีน
  • ออกซีโคโดน (OxyContin)
ยาที่มีสารโอปิออยด์มาความเสี่ยงสูงในการเสพติด ดังนั้นต้องใช้ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น

รักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติ

บางคนพบว่าการบรรเทาหรือลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนด้วยวิธีการรักษาแบบธรรมชาติ สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการตอบสนองของแต่ละคนต่อการรักษาเหล่านี้อาจแตกต่างกัน และการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและแผนการรักษาที่เหมาะสม ต่อไปนี้เป็นวิธีการรักษาตามธรรมชาติที่อาจช่วยจัดการไมเกรนได้:
  • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต:
      • ระบุและจัดการสิ่งกระตุ้น: เก็บบันทึกไมเกรนไว้เพื่อติดตามสิ่งกระตุ้นที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาหารบางชนิด ความเครียด การอดนอน หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน พยายามหลีกเลี่ยงหรือจัดการทริกเกอร์เหล่านี้
  • การเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร:
      • รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น: ภาวะขาดน้ำอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดทั้งวัน
      • อย่าอาหารเป็นประจำ: การงดมื้ออาหารอาจทำให้เกิดอาการไมเกรนในบางคนได้ รับประทานอาหารที่สมดุลและสม่ำเสมอ
  • สมุนไพร:
      • Butterbur (Petasites hybridus): การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Butterbur อาจช่วยป้องกันไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากอัลคาลอยด์ไพร์โรลิซิดีน ซึ่งอาจเป็นพิษต่อตับได้
      • Feverfew (Tanacetum parthenium): Feverfew เป็นสมุนไพรที่ได้รับการศึกษาถึงศักยภาพในการลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร
  • อโรมาเธอราพี:
      • น้ำมันหอมระเหย เช่น ลาเวนเดอร์ เปปเปอร์มินต์ และยูคาลิปตัสอาจมีฤทธิ์ผ่อนคลายได้ การสูดดมน้ำมันเหล่านี้หรือใช้ในเครื่องกระจายกลิ่นอาจช่วยบรรเทาอาการไมเกรนในบางคนได้
  • เทคนิคการผ่อนคลาย:
      • เทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ โยคะ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบต่อเนื่อง อาจช่วยลดไมเกรนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้
  • การกดจุดและการฝังเข็ม:
      • บางคนสามารถบรรเทาอาการไมเกรนได้ด้วยการกดจุดหรือการฝังเข็ม เทคนิคการแพทย์แผนจีนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการกดจุดเฉพาะบนร่างกาย
  • แมกนีเซียม:
      • การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าการเสริมแมกนีเซียมอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันไมเกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีระดับแมกนีเซียมต่ำ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียม
  • ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2):
    • มีการศึกษาการเสริมวิตามินบี 2 ว่ามีศักยภาพในการลดความถี่ของการเกิดไมเกรน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอีกครั้งก่อนที่จะเพิ่มอาหารเสริมใดๆ ลงในกิจวัตรประจำวันของคุณ
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าสิ่งที่ใช้ได้ผลกับคนคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลกับอีกคนหนึ่ง และการเยียวยาตามธรรมชาติก็อาจไม่สามารถกำจัดไมเกรนได้ทั้งหมด หากคุณประสบกับอาการไมเกรนที่รุนแรงหรือต่อเนื่อง หรือหากอาการของคุณแย่ลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินอย่างละเอียดและวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์หรือการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อจัดการกับไมเกรนอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปเกี่ยวกับยารักษาไมเกรน

มียาหลายชนิดสำหรับรักษาอาการปวดจากไมเกรน โปรดระมัดระวังการใช้ยาเกินขนาดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาในปริมาณมากเกินไป หากอาการปวดศีรษะไมเกรนบ่อยครั้ง คือ มากกว่า 9 ครั้งต่อเดือน หรือเกิดการปวดแบบรุนแรง ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาเชิงป้องกันต่อไป
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด