เมลาโทนิน (Melatonin) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

Melatonin คืออะไร

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียลในสมอง ทำหน้าที่เหมือนนาฬิกาในร่างกาย จัดการวงจรการหลับจึงนำมาใช้ในคนที่นอนไม่หลับ นอกจากช่วยเรื่องการหลับแล้ว เมลาโทนินยังช่วยระบบภูมิคุ้มกัน ความดันเลือดและระดับคอร์ติโซลด้วย นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจากการศึกษาบางชิ้นพบว่ามีผลต่อโรคหลายชนิด เมลาโทนินมีในรูปแบบอาหารเสริมช่วยให้นอนหลับ ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก แม้ว่าจะรู้จักกันว่ามันช่วยให้หลับแต่มีผลดีต่อสุขภาพอื่นๆอีกด้วย และยังพบว่ามันช่วยให้สุขภาพตาดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล และยังช่วยลดกรดไหลย้อนด้วย

ประโยชน์ของสารเมลาโทนิน 

ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

เมลาโทนินมีอีกชื่อว่า ฮอร์โมนหลับ เป็นที่นิยมใช้มากในผู้ที่นอนไม่หลับ จากการศึกษาพบว่ามันทำให้หลับเร็วและหลับสบายขึ้น 

ช่วยลดอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล

อาการซึมเศร้าตามฤดูกาล Seasonal affective disorder (SAD), พบได้ราว 10% ของประชากรโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับฤดูกาล เกิดทุกปีในช่วงเวลาเดิม ราวปลายฤดูใบไม้ร่วงต่อกับฤดูหนาว มีการศึกษาบางชิ้นพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับนาฬิกาของร่างกายเนื่องจากแสงอาทิตย์น้อยลง จึงใช้เมลาโทนินในขนาดน้อยๆ เพื่อลดอาการได้ แต่ผลการศึกษายังมีไม่มากพอ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเมลาโทนินและอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล Melatonin

อาจช่วยเพิ่ม Growth Hormone

ฮอร์โมน Growth hormone (HGH) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ถ้ามีมากจะทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ยังไม่มีการศึกษาที่มากพอในเรื่องนี้ 

 ช่วยบำรุงสุขภาพตา

เมลาโทนินมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์และทำให้สุขภาพตาดีขึ้น มีผลการวิจัยว่ามันยังช่วยรักษาต้อกระจกและจอตาเสื่อมจากวัยได้ด้วย แต่การศึกษายังไม่มากพอ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม มลาโทนินมีสารต้านอนุมูลอิสระและรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุและโรคของจอตาอื่นๆทั้งในคนและสัตว์

อาจช่วยรักษากรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเป็นอาการที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร ทำให้มีอาการแสบหน้าอก คลื่นไส้ และเรอ เมลาโทนินช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยังลดการสร้างกรดไนตริกที่คลายหูรูดหลอดอาหาร ทำให้กรดไหลออกมาที่หลอดอาหารได้ จึงมีการเสนอให้ใช้เมลาโทนินรักษาอาการแสบหน้าอกและกรดไหลย้อน 

การใช้อาการเสริมเมลาโทนิน

ขนาดยา ใช้ 0.5-1 กรัมต่อวัน แต่อาหารเสริมเมลาโทนินแต่ละชนิดอาจไม่เหมือนกัน จึงควรกินตามคำแนะนำในฉลากยา คุณอาจเริ่มจากน้อยก่อนแล้วจึงเพิ่มขึ้นเพื่อดูว่าขนาดไหนจะเหมาะกับคุณ หากจะกินเพื่อให้นอนหลับสบายขึ้น เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรกินก่อนนอนสามสิบนาที แต่ถ้าหากใช้เพื่อเลื่อนนาฬิกาของร่างกายและตั้งเวลานอนใหม่ ควรกิน 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน 

เมลาโทนินผลข้างเคียง

เมลาโทนินปลอดภัยและไม่เสพติด ใช้ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในผู้ใหญ่แต่ยังมีความกังวลว่าหากใช้ไปนานๆ ร่างกายจะผลิตเมลาโทนินน้อยลง แต่จากการศึกษาไม่พบปัญหานี้ แต่เนื่องจากการศึกษาผลระยะยาวของเมลาโทนินในผู้ใหญ่ยังมีไม่มาก จึงไม่ควรใช้กับเด็กหรือวัยรุ่น ผลข้างเคียงที่พบคือ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ มึนงงและง่วงนอน  เมลาโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นเช่น ยาต้านเศร้า ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาควบคุมความดันเลือด หากคุณกินยาเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เมลาโทนิน 

สุดท้าย

เมลาโทนินอาจช่วยให้นอนหลับ สุขภาพตาดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล เพิ่มฮอร์โมนเจริญเติบโต และช่วยลดอาการกรดไหลย้อน ขนาดที่ใช้ 0.5-1 กรัมต่อวัน แต่ควรกินยาตามที่ระบุไว้ในฉลากยา  เมลาโทนินปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยในผู้ใหญ่แต่อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ไม่ควรใช้กับเด็ก

อาหารที่มีสารเมลาโทนิน

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตตามธรรมชาติโดยต่อมไพเนียลในสมอง มีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่น แม้ว่าเมลาโทนินจะมีเป็นอาหารเสริม แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่มีเมลาโทนินจำนวนเล็กน้อยหรือสารอื่นๆ ที่สามารถรองรับการผลิตเมลาโทนินได้ ต่อไปนี้เป็นแหล่งของเมลาโทนินตามธรรมชาติ:
  • เชอร์รี่ทาร์ต:
      • เชอร์รี่ทาร์ต โดยเฉพาะเชอร์รี่มอนต์โมเรนซี มีระดับเมลาโทนินที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ การดื่มน้ำทาร์ตเชอร์รี่หรือการรับประทานทาร์ตเชอร์รี่สดอาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
  • องุ่น:
      • องุ่น โดยเฉพาะพันธุ์องุ่นแดงและดำ มีเมลาโทนินในปริมาณเล็กน้อย  
  • มะเขือเทศ:
      • มะเขือเทศมีเมลาโทนินอยู่ในผิวหนังเป็นหลัก แม้ว่าระดับจะไม่สูงเท่ากับอาหารอื่นๆ แต่การเพิ่มมะเขือเทศเข้าไปในอาหารของคุณอาจทำให้เพิ่มเมลาโทนินได้
  • กล้วย:
      • กล้วยมีเมลาโทนินในปริมาณเล็กน้อย นอกจากนี้ยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น โพแทสเซียม ซึ่งช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับได้ดีขึ้น
  • สัปปะรด:
      • สับปะรดมีเมลาโทนินในปริมาณเล็กน้อย การรับประทานสับปะรดเป็นของว่างหรือเพิ่มลงในอาหารอาจมีผลส่งเสริมการนอนหลับเล็กน้อย
  • ส้ม:
      • ส้มและผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ มีเมลาโทนิน แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าก็ตาม พวกเขายังให้วิตามินซีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม
  • ถั่วและเมล็ด:
      • ถั่วและเมล็ดพืชบางชนิด เช่น อัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดทานตะวัน มีเมลาโทนินในปริมาณเล็กน้อย สิ่งเหล่านี้สามารถรวมไว้ในอาหารของคุณเป็นของว่างหรือเพิ่มในมื้ออาหารได้
  • ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง:
      • ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น สตรอเบอร์รี่และกีวี อาจสนับสนุนการผลิตเมลาโทนินโดยอ้อม วิตามินซีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนทริปโตเฟนไปเป็นเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน
  • ข้าวโอ้ต:
      • ข้าวโอ๊ตมีเมลาโทนิน และข้าวโอ๊ตอุ่นๆ สักชามอาจเป็นทางเลือกที่ผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับได้
  • นมและผลิตภัณฑ์นม:
    • นมมีทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน การรวมผลิตภัณฑ์จากนมในกิจวัตรช่วงเย็นของคุณอาจส่งผลต่อการสังเคราะห์เมลาโทนิน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่าอาหารเหล่านี้จะมีสารตั้งต้นของเมลาโทนินหรือเมลาโทนิน แต่ก็มีปริมาณค่อนข้างน้อย และผลกระทบต่อการนอนหลับอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ปัจจัยในการดำเนินชีวิต สุขอนามัยในการนอนหลับ และการสัมผัสกับแสงสว่างยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับและการตื่นอีกด้วย หากคุณมีปัญหาการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำและคำแนะนำเฉพาะบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nccih.nih.gov/health/melatonin-what-you-need-to-know
  • https://www.webmd.com/sleep-disorders/news/20171004/is-natural-sleep-aid-melatonin-safe
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/melatonin-side-effects/faq-20057874
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด