อาการง่วงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเวลา โดยอาจมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท หรือโรคประจำตัว ซึ่งความง่วงอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดปัญหาในชีวิต การทำงาน หรือการเข้าสังคม จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีรับมือกับความง่วง ซึ่งวิธีแก้ง่วงอย่างมีประสิทธิภาพมีมากมายหลายวิธี
วิธีแก้ง่วงตอนเช้า
1.ดื่มน้ำระดับอุณหภูมิห้อง 1 แก้วหลังตื่นนอนเป็นประจำ สามารถช่วยให้รู้สึกสดชื่นและร่างกายตื่นตัวเต็มที่ 2.ตื่นด้วยแสงแดดดีกว่าการตื่นด้วยนาฬิกาปลุก แนะนำให้วางตำแหน่งของเตียงให้อยู่ใกล้หน้าต่างหรือที่ที่ในตอนเช้าแสงแดดส่องถึง อาจติดม่านบาง ๆ กรองแสงไว้ 3.การอาบน้ำอุ่นในตอนเช้า เป็นการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกให้ทำงานเต็มที่ รู้สึกมีชีวิตชีวา 4.ควรออกกำลังกายเบาๆ ก่อนลุกจากเตียง เช่นขยับแขนขยับขาเล็กน้อย ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ อย่างวิ่ง หรือเวตเทรนนิ่ง เพราะยังวอร์มร่างกายไม่พอ อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือสมองขาดเลือดได้ 5.ทำกิจกรรมผ่อนคลายในยามเช้าอย่างไม่เร่งรีบ เช่น ดื่มกาแฟ ฟังเพลง รดน้ำต้นไม้ วิ่งที่สวนสาธารณะ เดินตลาดสด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอยากตื่นเช้าแบบสดใส อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ อโรมาเธอราพีวิธีแก้ง่วงตอนบ่าย
- ดื่มน้ำ เพราะน้ำช่วยให้ร่างกายตื่น และสดชื่น
- ลุกจากโต๊ะเพื่อยืดกล้ามเนื้อ บิดซ้ายขวา หรืออาจเดินไปคุยกับเพื่อน
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว อย่างกาแฟ ชา ชามะนาว
- ดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะทำให้รู้สึกสดชื่น เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว
- ฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วๆ หรือเพลงโปรดจะช่วยให้สดชื่นขึ้น เพราะคลื่นความถี่จะเข้าไปกระตุ้นประสาทสัมผัสของเราให้ตื่นตัวมากขึ้น
- ทานผลไม้เปรี้ยวๆ หวานๆ เช่น ส้ม มะนาว มะขาม สามารถช่วยให้หายง่วง แต่อย่าทานจนมากเกินไป เพราะจะทำให้อิ่ม และรู้สึกง่วงมากขึ้น
- ล้างหน้าให้สดชื่น
- หากวิธีใดๆ ก็ไม่สามารถทำให้หายง่วงได้ แนะนำให้งีบหลับสักนิด เพราะการที่ได้งีบหลับสัก 10-15 นาที ทำให้ร่างกาย และสมองได้พักผ่อน จะรู้สึกสดชื่น และสมองปลอดโปร่งขึ้นกว่าเดิม
วิธีแก้ง่วงตอนกลางคืน
- เดินเล่นเพื่อยืดกล้ามเนื้อ อาจเดินในบ้าน หรือเดินบริเวณบ้าน
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม ให้รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเพราะทำให้รู้สึกง่วงมากยิ่งขึ้น
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นได้
- ฟังเพลงที่มีจังหวะสนุกๆ เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว
- ดูวีดีโอสั้นๆ หรือสิ่งที่น่าสนใจเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย
- พักการทำงานทุก 30 นาที เพราะความง่วงอาจเกิดจากความล้าจากการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ รับลมเย็นๆ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และสงบ
วิธีแก้ง่วงตอนเรียน
- ปรับเวลานอนให้เหมาะสม ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง จะทำให้ไม่รู้สึกง่วงระหว่างวัน
- ควรนั่งหน้าห้อง จดจ่ออยู่กับการเรียน จะช่วยให้ตั้งใจเรียน และมีสมาธิ
- นั่งอยู่ในท่าที่ถูกต้องเหมาะสม นั่งหลังตรง ไม่งอหลัง
- ไม่ควรทานจนกินอิ่มมากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกง่วง
- ควรทานผัก ผลไม้ช่วยให้สดชื่น
- หลีกเลี่ยงการทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงมากยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ เช่น แกว่งแขนไปมา ยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ
- ทำให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา อย่าให้มือไม่ว่างงาน เช่น จดตามที่ครูสอน
- เดินไปเดินมาบ้าง ไม่ควรอยู่กับที่นานๆ เช่น เดินไปเข้าห้องน้ำ
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวันให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- หยอดน้ำตาเทียมช่วยให้ตาสว่างขึ้น
- ทำกิจกรรมกับเพื่อนในเวลาว่าง ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น จับกลุ่มคุยเรื่องที่น่าสนใจ
- สร้างเป้าหมายให้ตนเองจะได้มีสมาธิไม่ง่วง เช่น ต้องตั้งใจเรียนเพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหาที่ครูสอน
- เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอมแก้ง่วง หรือทานผลไม้อบแห้งแก้ง่วง
- แอบหลับสัก 10-15 นาที เพื่อให้ร่างกายรู้สึกว่าได้รับการพักผ่อนแล้ว จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง
วิธีแก้ง่วงตอนขับรถ
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินทางเสมอ
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการทานยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงก่อนออกเดินทาง เช่น ยาภูมิแพ้
- รับประทานอาหารว่างเพื่อแก้ง่วง เช่น ผลไม้อบแห้ง ขนมขบเคี้ยว
- ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือใช้ผ้าเย็นเช็ดใบหน้าช่วยทำให้สดชื่น
- สนทนาพูดคุยกัน หรือเปิดเพลงฟัง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา
- หากขับรถเป็นเวลานานควรจอดรถเพื่อพัก และยืดเส้นยืดสายคลายง่วง
- ไม่ควรขับขี่ในช่วงเที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้า เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการการพักผ่อน จะทำให้รู้สึกง่วง
ยาที่ทำให้ง่วงนอน
- ยานอนหลับ
- ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ยาแก้คันต่างๆ
- ยาแก้ปวดศรีษะ
- ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
จะรู้ได้อย่างไรว่าง่วง
เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย หาวบ่อยจนอาจมีน้ำตาไหล กระพริบตาถี่ๆ ลืมตาไม่ขึ้น มองไม่ชัด หงุดหงิด กระวนกระวาย มึนงง ใจลอย ไม่มีสมาธิ รู้สึกมึนหัว หนักศีรษะ ขับรถส่ายไปมา หรือออกนอกเส้นทาง วูบหลับ ความจำขาดๆหายๆ จำเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้ในช่วง 2-3 นาทีที่ผ่านมา แสดงว่าคุณอาจรู้สึกง่วง ควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับ หากคุณมีกิจกรรมที่ต้องทำก็ควรหาวิธีคลายความง่วง หรืองีบหลับสักครู่ หากขับรถอยู่ก็ควรจอดพัก และหากิจกรรมผ่อนคลายง่ายๆ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ งานอดิเรกอาหารที่นิยมรับประทานแก้ง่วง
1. น้ำเปล่า เป็นอาหารแก้ง่วงที่หาง่าย ทานง่ายที่สุด และเห็นผลทันที น้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้องจะช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือดทำให้ร่างกายตื่นตัว 2. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เพราะคาเฟอีนเป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผักผลไม้ที่มีวิตามินซี ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม บร็อคโคลี ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยต้านความเหนื่อยล้าที่มาจากความเครียด และกังวล ลดความง่วงได้ดี 4. ผลไม้ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ แอปเปิล มันฝรั่ง กล้วย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีโครเมียม 5. เมล็ดพืช งา ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และจมูกข้าวสาลี ช่วยบำรุงประสาท เพราะมีโพแทสเซียม และแมกนีเซียม 6. ไขมันดีจากปลา มีโปรตีน และกรดไขมันโอเมก้า-3 ทำให้มีสมาธิและความจำดี 7. หมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งก็ยังช่วยให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงที่สมองได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ทำให้สมองแล่น เกิดความกระฉับกระเฉงตื่นตัวทันที 8. ช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตมีคาเฟอีนผสมอยู่ ในปริมาณที่ทำให้ให้ร่างกายตื่นตัวได้ 9. อัลมอนต์ เพราะมีโปรตีนสูง มีกรดไขมันชนิดดีช่วยเพิ่มพลังงาน และออกซิเจนให้สมอง ทำให้ร่างกายตื่นตัวคูณสอง 10. ป็อปคอร์น มีโปรตีน วิตามิน และมีไฟเบอร์สูง 11. ผลไม้รสเปรี้ยว ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย 12.ไข่ต้ม มีโปรตีน มีวิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยเพิ่มพลังงาน และมีโคลีน(Choline) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้ตื่นตัว 13. น้ำแข็ง ช่วยเติมความสดชื่นได้ การเคี้ยวน้ำแข็งทำให้เพลิน และไม่ง่วง 14. ผักใบเขียว และนมถั่วเหลือง ช่วยลดการอ่อนเพลีย เพราะมีธาตุเหล็กสูง ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย และอาการง่วงนอนได้เป็นอย่างดีง่วงขนาดไหนที่ควรพบแพทย์
หากเป็นโรคลมหลับ หรือภาวะง่วงเกิน จะส่งผลให้ง่วงนอนจนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา หรือรับยา เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่หากง่วง โดยมีสาเหตุมาจากความเครียด หรือสาเหตุอื่น ๆ ควรบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม ควรปรับการนอนหลับ และลดความวิตกกังวล จะช่วยให้นอนหลับได้สนิทขึ้นอาการง่วงนอนและสุขภาพ
การรู้สึกง่วงนอนอย่างต่อเนื่องและรู้สึกเหนื่อยล้าสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของโรคประจำตัว และขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินที่ครอบคลุม สาเหตุที่เป็นไปได้บางประการของความง่วงนอนและความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องมีดังนี้:- ความผิดปกติของการนอนหลับ:
-
-
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ:มีลักษณะเป็นการหยุดหายใจชั่วคราวระหว่างการนอนหลับ ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับไม่ดีและง่วงนอนตอนกลางวัน
- นอนไม่หลับ:การนอนหลับยากหรือนอนหลับอาจส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าในเวลากลางวัน
- Narcolepsy:โรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการควบคุมความตื่นตัวและอาจนำไปสู่การนอนหลับกะทันหัน
-
- โรคโลหิตจาง:
-
-
- ภาวะที่ร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ส่งผลให้การส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อลดลง และทำให้เกิดความเหนื่อยล้า
-
- ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์:
-
-
- ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป) อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า น้ำหนักเพิ่ม และรู้สึกเฉื่อยชาโดยทั่วไป
-
- อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS):
-
-
- ความผิดปกติที่ซับซ้อนซึ่งมีลักษณะเหนื่อยล้าอย่างมากซึ่งไม่ดีขึ้นเมื่อพักผ่อน และอาจแย่ลงเมื่อทำกิจกรรมทางร่างกายหรือจิตใจ
-
- อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล:
-
-
- สภาวะสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลสามารถแสดงออกมาเป็นอาการทางกายภาพ รวมถึงความเหนื่อยล้าและการขาดพลังงาน
-
- โรคเรื้อรัง:
-
-
- ภาวะต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไฟรโบไมเจีย และโรคภูมิต้านตนเองอาจเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง
-
- ผลข้างเคียงของยา:
-
-
- ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ซึมเศร้า และยารักษาโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนหรือเหนื่อยล้าซึ่งเป็นผลข้างเคียง
-
- ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์:
-
-
- สุขอนามัยในการนอนหลับที่ไม่ดี การใช้ชีวิตแบบอยู่ประจำที่ และโภชนาการที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องได้
-
- ภาวะขาดน้ำ:
-
-
- ปริมาณของเหลวที่ไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและรู้สึกเซื่องซึม
-
- อดนอน:
-
-
- การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอนและเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง
-
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน:
-
-
- ความผันผวนของฮอร์โมน เช่น ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน หรือรอบประจำเดือน อาจส่งผลต่อระดับพลังงานได้
-
- การติดเชื้อ:
-
- การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น การติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสหรือการติดเชื้อไวรัสเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องได้
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น