ยาแก้แพ้ (Antihistamines) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ (Antihistamines) คืออะไร

โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะใช้ยาแก้แพ้ต่อเมื่อมีอาการแพ้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการผื่นคันตามผิวหนัง อาการจาม คัดจมูก หรือภูมิแพ้อื่น ๆ บางชนิด ยาแก้แพ้มีมีกี่ประเภท ยาแก้แพ้ที่เหมาะสมมีหลากหลายชนิด แต่เราสามารถแบ่งออกได้ง่ายๆ ดังนี้

ประเภทที่ 1

ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานประเภทที่ 1 รวมไปถึงยาไดเฟนไฮดรามีน (เบนาดริล)และ คลอเฟนิรามีน (คลอ-ไทรม์ทอน)  ซึ่งสามารถข้ามแนวกั้นเลือดและสมองได้ง่ายและส่งผลต่อตัวรับ H1 ในระบบประสาทส่วนกลาง ตัวรับ H1 ในระบบส่วนกลางจะช่วยควบคุมวงจรการตื่นการหลับของร่างกาย โดยชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นยากล่อมประสาท ด้วยการไปจับตัวรับในระบบประสาทส่วนกลาง ยาแก้แพ้ประเภทที่ 1 สามารถทำให้ความสามารถในการคิด และเข้าใจ กำลังกล้ามเนื้อแย่ลง และทำให้รู้สึกง่วงนอน ผลข้างเคียงรุนแรงที่มีจากยาแก้แพ้ประเภทที่ 1 มีดังต่อไปนี้
  • ง่วงนอน
  • ปากแห้ง
  • มึนศีรษะ
  • ความดันเลือดต่ำ
  • ตับเสียหายเฉียบพลัน
ตัวอย่างชื่อยาต้านฮีสตามีนประเภทที่ 1 เช่น
  • บรอมเฟนิรามีน (Dimetane)
  • คาร์บินน็อกซามีน (Clistin)
  • คลีมาสทีน (Tavist)
  • ดอกซีลามีน (Unisom)
  • ไฮดรอกไซซีน (Atarax, Vistaril)
  • โปรเมทาซีน (Phenergan)
  • ไตรโพรลิดีน (Triafed)
มียาแก้แพ้ประเภทที่ 1 อยู่หลายตัวที่เหมาะสม แพทย์อาจไม่แนะนำยานี้ให้หากพบว่า มีตัวยารุ่นใหม่ที่เหมาะสมกว่า

ประเภทที่ 2 และ 3

ยาแก้แพ้ประเภทที่ 2 และ 3 ไม่มีคุณสมบัติของยากล่อมประสาท ตามบทความในสื่อสิ่งพิมพ์ของ National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases ว่าไว้ว่า ยาแก้แพ้ประเภทที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มจะข้ามแนวกั้นเลือด และสมองได้น้อยกว่า ซึ่งนั้นหมายความว่ายาพวกนี้ไม่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางเหมือนประเภทที่ 1 ยาแก้แพ้นี้มีความปลอดภัยในการใช้สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กที่อายุ 12 ปี ขึ้นไป ตามที่รีวิวไว้ในปี 2019 ยาแก้แพ้รุ่นที่สองและสามมีความปลอดภัยกว่า และมีศักยภาพมากกว่ารุ่นหนึ่ง ตัวอย่างยาต้านฮีสตามีนประเภทที่ 2 และ 3 เช่น
  • บิลาสทีน (Bilaxten)
  • เดสลอราทาดีน (Clarinex)
  • ลอราทาดีน (Claritin)
  • เฟกโซเฟนาดีน (Allegra)
  • รูพาทาดีน (Rupafin)

แบบซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

เราสามารถหาซื้อยาแก้แพ้ได้หลากหลายตามร้านขายยาแถวบ้าน ยาแก้แพ้มีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่นแบบเม็ด เจลแคปซูล สเปรย์พ่นจมูกและยาหยอดตา ชนิดของยาแก้แพ้ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่น
  • เบเนดริล
  • คลอ-ไทรม์ทอน
  • คลาริทิน
  • อัลเลกรา
  • ซีร์เทค

แบบที่ต้องมีใบสั่งแพทย์

ยาแก้แพ้บางชนิดใช้ได้เฉพาะต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ยาแก้แพ้ที่ต้องมีใบสั่งแพทย์อาจมีส่วนผสมที่เข้มข้นสูงกว่ายาชนิดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาแก้แพ้บางตัวอาจต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้นเพราะมีความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ตัวอย่างยาต้านฮีสตามีนที่ต้องมีใบสั่งแพทย์เช่น
  • อะเซลาสทีน (Astelin, Astepro และ Optivar)
  • คาร์บินน็อกซามีน (Palgic)
  • เดสลอราทาดีน (Clarinex)
  • ไฮดรอกไซซีน (Atarax  และ Vistaril)
  • เลโวเซทิริซีน (Xyzal)
  • โปรเมทาซีน (Phenergan)

Antihistamines

ยาทำงานอย่างไรและได้ผลอย่างไร 

คนที่มีอาการแพ้คือเมื่อไปสัมผัสกับสสารที่ไม่ก่อเกิดอันตราย แต่ร่างกายกลับแปลความว่ากำลังถูกเชื้อโรครุกราน สารก่อภูมิแพ้คือสารตัวหนึ่งที่ไปกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้ ซึ่งรวมไปถึงทุกอย่างจากขนสัตว์และละอองเกสรไปจนถึงโปรตีนบางชนิดที่พบได้ในอาหาร เมื่อสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายหรือสัมผัสกับผิว เซลล์ในระบบภูมิต้านทานจะปล่อยสารฮีสตามีนออกมา ซึ่จะไปจัับกับตัวรับพิเศษที่อยู่ในเซลล์ที่พบเจอได้ตลอดทั่วร่างกาย  เมื่อสารฮีสตามีนไปจับกับตัวรับเมื่อใด มันก็จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้หลายรูปแบบ เช่นทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเป็นสาเหตุทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเรียบมีการหดตัว Antihistamines คือ ยาแก้แพ้ที่นำมาไว้รักษาอาการแพ้ ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวและอาการโรคหวัดและไข้หวัดบางอาการ ยาต้านฮีสตามีนจะไปปิดกั้นตัวรับฮิสตามีน H1   

อาการอย่างไรควรได้รับการรักษา 

เราสามารถใช้ยาต้านฮีสตามีนเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบในจมูก ยาแก้แพ้สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ในวงกว้าง เช่น ยาแก้แพ้กินตอนไหนดี ยาแก้แพ้มีสองกลุ่ม คือกลุ่มรุ่นหนึ่งและรุ่นสองและสาม ความต่างคือ เป็นยาแก้แพ้แบบง่วงกับยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง ห้ามรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร  ควรรับประทานยาแก้แพ้วันละ 2-4 ครั้ง ห่างกัน 6 ชั่วโมง ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปี รับประทานแบบชนิดน้ำเชื่อม เด็กอายุ 4-7 ทานครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด เด็กอายุ 7-12 ปีทานครั้งละครึ่งเม็ด 

ผลข้างเคียงยาแก้แพ้ และความเสี่ยง

คนที่รับประทานยาแก้แพ้หรือยาทุกชนิดควรอ่านฉลากเพื่อดูส่วนผสมที่เป็นส่วนประกอบในยาเพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเกิดขนาด หากรับประทานยาแก้แพ้ที่มียากล่อมประสาท อาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติหรืออาการชัก คนส่วนใหญ่สามารถรับประทานยาแก้แพ้ที่มีปริมาณต่ำทั้งแบบหาซื้อได้เองและแบบมีใบสั่งแพทย์ได้อย่างปลอดภัยในช่วงเวลาสั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยาแก้แพ้ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยในบางคนได้ อาการอาจมีดังนี้: ผลข้างเคียงยาแก้แพ้รุนแรงเช่น:
  • ลมพิษ
  • ผื่นผิวหนัง
  • หายใจหรือการกลืนมีปัญหา
  • บวมบริเวณใบหน้า ปากหรือคอ
  • ภาวะสับสนเฉียบพลัน
ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยนักก็ตาม พบว่าการใช้ยาแก้แพ้ชนิดไม่มียากล่อมประสาท เป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (ยารุ่นที่สองหรือสาม) ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ตับเล็กน้อย  ยาแก้แพ้มีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในยารุ่นหนึ่งและสองในปริมาณต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยาโปรเมทาซีนในปริมาณสูง ซึ่งเป็นยารุ่นหนึ่งที่มียากล่อมประสาทอาจส่งผลข้างเคียงในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยาแก้แพ้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาในปริมาณยาตามที่แนะนำพื้นฐานสถานะอาการและสุขภาพ

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้เป็นยาประเภทหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปในการจัดการกับอาการแพ้และบรรเทาอาการต่างๆ เช่น จาม อาการคัน และน้ำมูกไหล แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วยาแก้แพ้จะถือว่าปลอดภัยเมื่อใช้ตามคำแนะนำ แต่ก็มีข้อควรพิจารณาที่สำคัญและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นที่ต้องระวัง:

ประเด็นสำคัญที่ต้องระวังเมื่อใช้ยาแก้แพ้:

  • อาการง่วงนอน:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:ยาแก้แพ้บางชนิด โดยเฉพาะยารุ่นแรก อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมและระงับประสาทได้ สิ่งนี้อาจทำให้ความสามารถในการขับขี่หรือใช้เครื่องจักรลดลง
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:ยาแก้แพ้สามารถมีปฎิกริยากับยาอื่นๆ ซึ่งอาจเพิ่มหรือลดผลกระทบของยาได้ แจ้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับยาทั้งหมด รวมถึงยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์และอาหารเสริม ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือเภสัชกรของคุณเพื่อตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นก่อนเริ่มใช้ยาใหม่
  • การขับขี่และการใช้เครื่องจักร:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:อาการง่วงนอนที่เกิดจากยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้การทำงานของการรับรู้และการเคลื่อนไหวลดลง หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องตื่นตัวจนกว่าคุณจะรู้ว่ายาแก้แพ้บางชนิดส่งผลต่อคุณอย่างไร หากคุณมีอาการง่วงนอน ให้พิจารณารับประทานยาแก้แพ้ในตอนเย็นหรือก่อนนอนเพื่อลดผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน
  • ปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์:
      • สิ่งที่ควรระวัง:การใช้ยาแก้แพ้ร่วมกับแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนร่วมกับแอลกอฮอล์อาจเพิ่มความใจเย็นและทำให้การประสานงานบกพร่องได้
  • ปากแห้งและท้องผูก:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:ยาแก้แพ้อาจทำให้ปากแห้ง และในบางกรณี อาจมีอาการท้องผูกเนื่องจากมีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิค
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:ยาแก้แพ้บางชนิดอาจถือว่าปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ในขณะที่ยาบางชนิดอาจมีความเสี่ยง ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนใช้ยาแก้แพ้หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร พวกเขาสามารถแนะนำตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดตามสถานการณ์ส่วนบุคคลของคุณ
  • เด็กและผู้สูงอายุ:
      • สิ่งที่ต้องระวัง:ปริมาณและข้อควรพิจารณาด้านความปลอดภัยอาจแตกต่างกันไปในเด็กและผู้สูงอายุ ปฏิบัติตามแนวทางการให้ยาที่เหมาะสมกับวัยเสมอ
  • เงื่อนไขทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง:
    • สิ่งที่ต้องระวัง:บุคคลที่มีอาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้ด้วยความระมัดระวัง
ปฏิบัติตามคำแนะนำและปริมาณที่แนะนำเมื่อใช้ยาแก้แพ้ หากคุณพบผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิดหรือมีข้อกังวล โปรดขอคำแนะนำแพทย์หรือเภสัชกร

บทสรุป

แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้รุ่นที่สองหรือสามในการรักษาอาการแพ้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปานกลาง รวมไปถึงอาการคัดจมูก น้ำตาไหลและอาการคันผิวหนัง พ่อแม่และผู้ดูแลอาจต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการให้ยาแก้แพ้เด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/antihistamines/
  • https://my.clevelandclinic.org/health/drugs/21223-antihistamines
  • https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000549.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด