ประโยชน์สุขภาพของมะละกอ (Health Benefits of Papaya)

มะละกอ

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้เขตร้อนที่ดีต่อสุขภาพมาก อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถลดการอักเสบ ต่อสู้กับโรคร้าย และช่วยให้ดูอ่อนเยาว์ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของมะละกอต่อสุขภาพ

1. อร่อยและอุดมด้วยด้วยสารอาหาร

มะละกอเป็นผลไม้ในกลุ่มพืช Carica papaya มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและเม็กซิโกตอนใต้ แต่ปัจจุบันได้ถูกเพาะปลูกในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของโลก มะละกอมีเอนไซม์ที่เรียกว่าปาเปน ซึ่งสามารถทำลายสายใยโปรตีนที่พบในเนื้อสัตว์ ผู้คนจึงใช้มะละกอในการทำให้เนื้อนุ่มมาเป็นเวลานานหลายพันปี นอกจากมะละกอสุกแล้ว ก็ยังสามารถรับประทานผลดิบได้ แต่ควรปรุงมะละกอดิบก่อนรับประทาน กรณีสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากผลไม้ดิบจะมีน้ำยางสูงซึ่งสามารถกระตุ้นให้มดลูกหดตัวได้ มะละกอมีรูปร่างคล้ายกับลูกแพร์ที่ยาวได้ถึง 20 นิ้ว (51 ซม.) ผิวเป็นสีเขียวเมื่อยังไม่สุก และจะกลายเป็นสีส้มเมื่อสุก อาจมีสีเหลืองส้มหรือแดงได้ ผลไม้นี้ยังมีเมล็ดสีดำจำนวนมากซึ่งกินได้ แต่มีรสขม มะละกอ 1 ลูก (152 กรัม) ประกอบด้วย:
  • แคลอรี่: 59
  • คาร์โบไฮเดรต: 15 กรัม
  • ไฟเบอร์: 3 กรัม
  • โปรตีน: 1 กรัม
  • วิตามินซี: 157% ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
  • วิตามินเอ: 33% ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
  • โฟเลต (วิตามินบี 9): 14% ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
  • โพแทสเซียม: 11% ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
มะละกอยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพที่เรียกว่าแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะสารที่เรียกว่าไลโคปีน ร่างกายสามารถดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์จากมะละกอได้ดีกว่าผักและผลไม้ชนิดอื่น ๆ

2. มะละกอสุกมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ

อนุมูลอิสระเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย หากมีสารอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในมะละกอ คือ แคโรทีนอยด์ ผลการศึกษาพบว่ามะละกอหมักสามารถลดการสร้างสารอนุมูลอิสระในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์บกพร่อง และโรคตับได้ นักวิจัยหลายคนยังเชื่อว่าสารอนุมูลอิสระในสมองที่มีมากเกินไป คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษาผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ได้รับสารสกัดจากมะละกอหมักเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าสารบ่งชี้โรคจะลดลง 40% บ่งบอกว่าความเสียหายที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่มีต่อดีเอ็นเอลดลง – อาการยังสัมพันธ์กับอายุ และมะเร็งด้วย ช่วยลดความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ เนื่องจากไลโคปีนในมะละกอ ซ่วยลดปริมาณธาตุเหล็กส่วนเกินที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้

3. คุณสมบัติในการต้านมะเร็ง

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าไลโคปีนในมะละกอสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้โดยการลดสารอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลดีต่อผู้ที่กำลังรับการรักษาโรคมะเร็งด้วย ในผักและผลไม้กว่า 14 ชนิดที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ มีเพียงมะละกอเท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมได้ ผลการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีอาการอักเสบ และมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ที่ได้บริโภคมะละกอหมักจะช่วยลดความเสียหายจากความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนให้คำแนะนำ

4. ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น

การเพิ่มมะละกอในมื้ออาหาร มีผลดีต่อสุขภาพหัวใจ ผลการศึกษาพบว่าผลไม้ที่มีไลโคปีน และวิตามินซีสูงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ สารต้านอนุมูลอิสระในมะละกอจะช่วยปกป้องหัวใจ และช่วยกระตุ้นให้เกิด HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ “ดี”  ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่กินมะละกอหมักเป็นอาหารเสริม นาน 14 สัปดาห์ พบว่าจะเกิดอาการอักเสบน้อยกว่า และมีอัตราส่วนระหว่าง LDL ที่ “ไม่ดี” กับ HDL ”ดี” เหมาะสมกว่าผู้ที่ไม่ได้กินมะละกอหมัก ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสมนี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหัวใจที่ลดลง 

5. ช่วยต่อสู้กับการอักเสบ

การอักเสบเรื้อรังคือสาเหตุของโรคต่าง ๆ การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และวิธีการใช้ชีวิตจะมีผลกระทบต่อกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผักและผลไม้ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมะละกอนั้นสามารถลดอาการอักเสบได้ ผลการศึกษาหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ชายที่บริโภคผักและผลไม้ที่มีแคโรทีนอยด์มากขึ้นจะมีโปรตีนที่เกิดจากการอักเสบ CRP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

6. ช่วยย่อยอาหาร

เอนไซม์ปาเปนในมะละกอช่วยให้ย่อยโปรตีนง่ายขึ้น ผู้คนในเขตร้อนเชื่อว่ามะละกอเป็นยาแก้อาการท้องผูก และแก้อาการอื่น ๆ ของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่บริโภคมะละกอเป็นเวลา 40 วัน จะมีอาการท้องผูก และท้องอืดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พบว่าเมล็ด ใบ และรากมะละกอสามารถรักษาบาดแผลในสัตว์และมนุษย์ได้

7. ป้องกันความเสียหายของผิวหนัง

นอกจากช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว มะละกอยังช่วยให้ผิวกระชับและอ่อนเยาว์มากขึ้น ภาวะความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะทำให้เกิดริ้วรอย ความหย่อนคล้อย และความเสียหายของผิวหนังได้ตามอายุ วิตามินซี และไลโคปีนในมะละกอช่วยปกป้องผิว และลดริ้วรอยจากวัยได้ผลการศึกษาพบว่ารับประทานไลโคปีนเป็นเวลา 10–12 สัปดาห์ สามารถลดรอยแดงของผิวหนังที่เกิดขึ้นหลังอาบแดด ซึ่งเป็นสัญญาณของความเสียหายของผิวหนังได้ ผู้หญิงที่มีอายุมากที่ได้บริโภคไลโคปีน วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ เป็นเวลา 14 สัปดาห์จะมีความลึกของริ้วรอยบนใบหน้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด และวัดผลได้

8. รสอร่อย ทำเมนูอาหารได้หลากหลาย

มะละกอมีรสชาติเฉพาะตัวที่หลายคนชื่นชอบ แต่ความสุกของผลไม้คือตัวการของรสอร่อย มะละกอดิบหรือสุกเกินไปอาจมีรสชาติที่แตกต่างจากมะละกอที่สุกกำลังพอดี เมื่อสุกพอดี มะละกอจะมีสีเหลืองถึงแดงอมส้ม อาจยังมีจุดสีเขียวอยู่บ้าง และมีลักษณะเช่นเดียวกับอะโวคาโด ผิวควรนุ่มเมื่อออกแรงกดเบา ๆ รสชาติของมะละกอจะดีขึ้น หากนำไปแช่เย็น จึงควรเก็บเอาไว้ในตู้เย็นก่อนรับประทาน เมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว ให้ผ่าครึ่งตามยาวของผลมะละกอ นำเมล็ดออกแล้วใช้ช้อนตัดกินจากเนื้อในยกเว้นเปลือก  เนื่องจากความหลากหลายในการปรุงอาหาร จึงสามารถใส่ในอาหารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติได้Health Benefits of Papaya สูตรอาหารอย่างง่ายที่ใช้มะละกอลูกเล็ก ๆ 1 ลูก ได้แก่: อาหารเช้า: มะละะกอผ่าครึ่งแล้วเติมกรีกโยเกิร์ตลงไปครึ่งถ้วย เสริมด้วยบลูเบอร์รี่ และถั่วสับหยาบ ๆ ของว่าง: หั่นมะละกอเป็นแผ่นแล้วห่อแฮม หรือแฮมดิบโปรซิอุตโตเอาไว้ ซัลซ่า: หั่นมะละกอ มะเขือเทศ หัวหอม และผักชีเป็นชิ้น ๆ จากนั้นเติมน้ำมะนาว แล้วผสมให้เข้ากัน สมูทตี้: นำมะละกอ และผลไม้ชนิดต่าง ๆ หั่นเป็นลูกเต๋า ใส่เครื่องปั่นพร้อมน้ำกะทิ และน้ำแข็ง แล้วปั่นจนเนียน สลัด: หั่นมะละกอและอะโวคาโดเป็นชิ้น จากนั้นใส่ไก่ต้มสุกหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า แล้วปรุงรสด้วยน้ำมันมะกอก และน้ำส้มสายชู ของหวาน: หั่นมะละกอและผลไม้ชนิดอื่น ๆ ผสมกับเมล็ดเจีย 2 ช้อนโต๊ะ (28 กรัม) นมอัลมอนด์ 1 ถ้วย (240 มล.) และวานิลลา 1/4 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้นำไปแช่เย็นก่อนรับประทาน

โทษของมะละกอ

  1. หากกินมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารสี Carotenoid สะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลืองอมส้ม
  2. ผลมะละกอสุกมีความหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไม่ควรกินมะละกอสุกมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  3. ยางมะละกอ มีสารพาเพน เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ หญิงตั้งครรภ์ควรระวังยางมะละกอในอาหาร
  4. ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน

ใครที่ควรหลีกเลี่ยงมะละกอ

แม้ว่ามะละกอเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่ก็มีบางคนที่ควรรับประทานมะละกอด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงมะละกอด้วยเหตุผลหลายประการ ต่อไปนี้เป็นกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจพิจารณาหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคมะละกอ:
  • โรคภูมิแพ้มะละกอ:หากคุณแพ้มะละกอ ควรหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง การแพ้มะละกออาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น คันและลมพิษ ไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรง เช่น หายใจลำบากและภูมิแพ้
  • อาการแพ้ยางธรรมชาติ:บุคคลที่แพ้ยางธรรมชาติอาจเกิดปฏิกิริยาข้ามกับมะละกอ เนื่องจากมะละกอมีเอนไซม์ที่เรียกว่าปาเปน ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติได้ ในกรณีเช่นนี้ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เพื่อขอคำแนะนำ
  • ความไวต่อปาเปน:บางคนอาจมีความไวต่อปาเปนของเอนไซม์ย่อยอาหารที่พบในมะละกอ โดยเฉพาะในมะละกอดิบหรือสุกมากเกินไป ปาเปนอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ ดังนั้นบุคคลที่มีความไวต่อทางเดินอาหารควรบริโภคมะละกอในปริมาณที่พอเหมาะ
  • โรคเบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดสูง:มะละกอมีน้ำตาลธรรมชาติค่อนข้างสูง และการบริโภคในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล การควบคุมสัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร:หากคุณมีภาวะระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือโรคลำไส้อักเสบ (IBD) ปริมาณเส้นใยและปาเปนในมะละกออาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นในบางครั้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนที่จะรวมมะละกอไว้ในอาหารของคุณ
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับมะละกอ ตัวอย่างเช่น มะละกอมีวิตามินเค ซึ่งอาจส่งผลต่อยาลดความอ้วน เช่น วาร์ฟาริน หากคุณกำลังใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีข้อจำกัดด้านอาหารโดยเฉพาะ ให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อขอคำแนะนำในการบริโภคมะละกอ
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมะละกอถือว่าปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรส่วนใหญ่เมื่อบริโภคในปริมาณปานกลาง ความเชื่อดั้งเดิมบางประการชี้ให้เห็นว่ามะละกอดิบอาจทำให้มดลูกหดตัว และควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคมะละกอในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือมะละกอสามารถเป็นอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพและอร่อยสำหรับหลายๆ คนได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีข้อจำกัดด้านอาหาร อาการแพ้ หรืออาการป่วยใดๆ เป็นการดีที่สุดที่จะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อพิจารณาว่ามะละกอเหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคลของคุณหรือไม่ และเพื่อสร้างแนวทางการบริโภคที่ปลอดภัย

ส้มตำคุณค่าทางอาหารต่อสุขภาพ

ส้มตำมีส่วนประกอบหลักคือ มะละกอ 
  • แคลอรี 62 
  • พลังงานจากไขมัน 3.6% 
  • ไขมันทั้งหมด 0.4g 1%
  • ไขมันอิ่มตัว 0.1g 1%
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1g
  • ไขมันทราน 0g
  • คลอเรสเตอรอล 0mg 0%
  • โซเดียม 11.6mg 1%
  • โพแทสเซียม 263.9mg 8%
  • คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 15.7g 6%
  • ใยอาหาร 2.5g 10%
  • น้ำตาล 11.3g
  • โปรตีน 0.7g 
  • วิตามินเอ 27.55 % วิตามินซี 147.9 % แคลเซียม2.9 % เหล็ก1.45 % วิตามินดี 0 % วิตามินบี 62.9 % วิตามินบี 120 % แมกนีเซียม 7.25 % ซิงค์ 1.45 % 

มะละกอทำอะไรได้บ้าง

มะละกอดิบ
  • สับและซอยเป็นเส้นใช้ทำอาหารยอดนิยมในประเทศไทย คือ ส้มตำ
  • ซอยเป็นเส้นผัดใส่ไข่หรือผัดกับน้ำพริกแกง
  • ฝานบางทำแกงส้ม แกงเนื้อ
  • ชุบแป้งทอด
มะละกอสุก
  • กินเป็นผลไม้
  • ปั่นหรือทำสมูทตี้
  • โรยหน้ามูสลี่ กินเป็นอาหารเช้า

ใบมะละกอสรรพคุณมีอะไรบ้าง

  1. รักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับไข้เลือดออก จากการวิจัยพบว่าสารสกัดจากใบมะละกอสามารถช่วยเพิ่มระดับเกล็ดเลือดในเลือดได้
  2. ช่วยปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  3. ช่วยย่อยอาหาร ใบมะละกอมีปาเปนช่วยย่อยโปรตีนในอาหาร และจากการศึกษาหนึ่งพบว่า การใช้ผงปาเปน ช่วยลดอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ท้องผูก และลำไส้แปรปรวนได้
  4. ช่วยทำความสะอาดตับและต้านการอักเสบ
  5. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม
  6. สารสกัดจากใบมะละกอ บำรุงเส้นผม และป้องกันผมร่วง 
  7. รักษาปัญหาผิวและส่งเสริมสุขภาพผิว
  8. ใช้รักษาผิวให้อ่อนนุ่ม ทำให้ผิวใส และดูอ่อนเยาว์ เนื่องจากใบมะละกอมีวิตามินซีและวิตามินเอจำนวนมาก 
  9. ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง สารสกัดจากใบมะละกอ มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง เพราะมีสารอะซิโทจีนิน (Acetogenin) จากการศึกษาพบว่า เอนไซม์ในใบมะละกอสามารถต่อสู้กับมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม ทั้งยังลดอาการอักเสบและผลข้างเคียงของเคมีบำบัดได้ด้วย
  10. ต่อต้านมาลาเรีย ใบมะละกอมีสารอะซีโทจีนิน (Acetogenin) ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อมาลาเรีย และไข้เลือดออกได้

มะละกอแคลอรี่ปริมาณเท่าไหร่

มะละกอสุก 8  ชิ้นพอดีคำ มี 60 แคลอรี กินอิ่มพอดี ช่วยลดน้ำหนักได้

ใจความสำคัญ

มะละกออุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ และมีรสอร่อย มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี อย่างไลโคปีนอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น เช่นโรคหัวใจ และมะเร็ง นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันริ้วรอยแห่งวัย ช่วยให้ผิวเรียบเนียน แลดูอ่อนเยาว์ ลองเพิ่มผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและอร่อยชนิดนี้ในมื้ออาหารเลย ตั้งแต่วันนี้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/275517
  • https://www.webmd.com/diet/health-benefits-papaya#1
  • https://www.news-medical.net/health/Papaya-Health-Benefits.aspx
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด