ก้างปลาติดคอทำอย่างไร (Fish Bone Stuck in Throat) – วิธีการกำจัด

ก้างปลาติดคอ

เมื่อเรากินปลาแล้วก้างปลาติดคอ เป็นอะไรที่เกิดขึ้นบ่อยมากจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ก้างปลา (Fish Bones) โดยเฉพาะส่วนส่วนขากรรไกรที่มีขนาดเล็ก อาจทำให้พลาดได้ง่ายมากขณะเตรียมปลา หรือขณะเคี้ยว เนื่องด้วยความคม และรูปร่างที่ทำให้ก้างปลามีโอกาสติดคอได้มากกว่าอาหารอื่นๆ หากก้างปลาติดอยู่ภายในคอของคุณ มันจะรู้สึกเจ็บมาก แต่โชคดีที่มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มีเคล็ดลับ และเทคนิคในการเอาก้างปลาออก

ก้างปลาติดคอแล้วรู้สึกอย่างไร 

หากก้างปลาติดคอ คุณจะรู้สึกได้ และอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้:
  • รู้สึกมีอะไรปักอยู่ในลำคอ
  • รู้สึดเจ็บเหมือนของมีคมปักอยู่ในลำคอ
  • ปวดร้าวไปทั่วลำคอ
  • ไอ
  • กลืนลำบาก หรือรู้สึกเจ็บเวลากลืน
  • อาจมีเลือดออกในลำคอ

ปลาชนิดใดที่มักรับประทานแล้วก้างติดคอ 

ปลาบางชนิดมีก้างเยอะ ทำให้เวลานำมาประกอบอาหารเอาก้างปลาออกยากมาก โดยทั่วไป เมื่อมีปลามาเสิร์ฟทั้งตัวมักมีความเสี่ยงที่ก้างจะติดคอมากที่สุด ตัวอย่างปลาที่เอาก้างออกยากมาก เช่น :
  • ปลาแชด
  • ปลาไพค์
  • ปลาคาร์พ
  • ปลาเทราท์
  • ปลาแซลมอน
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ประโยชน์ของปลาแซลมอน

วิธีเอาก้างปลาออกจากคอ

การกลืนก้างปลาเป็นกรณีฉุกเฉินที่พบได้น้อย ดังนั้น คุณควรลอง 2-3 วิธีเอาก้างปลาออก ที่ทำเองได้ที่บ้านก่อนที่จะไปหาหมอ

1. มาร์ชเมลโลว์

ดูเหมือนจะแปลก แต่มาร์ชเมลโลว์ชิ้นใหญ่เหนียวหนิบอาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการเอามาช่วยให้ก้างปลาหลุดออกจากคอได้ โดยการเคี้ยวมาร์ชเมลโลว์ให้อ่อนลงเล็กน้อย จากนั้นกลืนลงไปคำใหญ่เลย ความเหนียวของน้ำตาลจะไปเกี่ยวเอาเศษก้างปลาหลุดลงไปในกระเพาะอาหารด้วย

2. น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก (Olive Oil) เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ หากเกิดก้างปลาติดคอ ให้ลองเอาน้ำมันมะกอก 1-2 ช้อนโต๊ะเข้าปากแล้วกลืนลงคอไป โดยน้ำมันมะกอกจะไปเคลือบลำคอ และตัวก้างปลา ทำให้ง่ายต่อการหลุดเวลาคุณกลืนอาหาร หรือไอเอาก้างปลาออกมา อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม สรรพคุณน้ำมันมะกอก

3. ไอ

ก้างปลาส่วนใหญ่จะติดอยู่บริเวณลำคอส่วนหลัง ใกล้ๆกับทอนซิล การออกแรงไอ 2-3 ที อาจพอที่จะทำให้ก้างปลาหลุดออกมาได้

4. กล้วย

บางคนพบว่ากล้วยก็สามารถช่วยให้ก้างปลาหลุดลงไปในกระเพาะอาหารได้ คล้ายกับมาร์ชเมลโลว์ โดยให้ทานกินกล้วยคำโต อมไว้ในปากซักครู่แล้วก็กลืนลงไปทีเดียว วิธีนี้จะได้กลืนน้ำลายลงไปด้วย

5. ขนมปัง และน้ำ

นำขนมปังมาจุ่มน้ำ เป็นวิธีคลาสสิกที่ทำให้อาหารชุ่มน้ำก่อนกลืนลงคอ โดยขนมปังที่ชุ่มน้ำประมาณหนึ่งนาที เอามากลืนลงคอทั้งๆที่ชิ้นใหญ่แบบนั้นในครั้งเดียว วิธีนี้จะเป็นการใช้น้ำหนักในการพลักเอาก้างปลาที่ติดคอหลุดลงไปกับขนมปังด้วย

6. โซดา

หลายปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการทางสุขภาพบางท่านใช้โคล่า และน้ำอัดลมในการรักษาคนที่อาหารติดคอ โดยโซดาเมื่อลงไปอยู่ในกระเพาะอาหาร มันจะปล่อยแก๊สออกมา ซึ่งแก๊สเหล่านั้นจะช่วยสลายก้างปลา และเพิ่มแรงดันให้ก้างปลาหลุดออกมาจากคอได้

7. น้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชู (Vinegar) เป็นกรดแก่ การดื่มน้ำส้มสายชูอาจช่วยให้ก้างปลาละลาย ทำให้อ่อนนุ่ม และง่ายต่อการกลืนลงไป ลองเจือจางน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำ 1 แก้ว หรือกลืนน้ำส้มสายชูอย่างเดียว 1 ช้อนโต๊ะลงไปเลย น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์เป็นทางเลือกที่ดีที่มีรสชาติไม่แย่เกินไป โดยเฉพาะเมื่อผสมกับน้ำผึ้ง อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม น้ำส้มสายชู

Fish Bone Stuck in Throat

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ น้ำส้มสายชู

8. ขนมปังกับเนยถั่ว

ขนมปังที่ทาเนยถั่วเป็นวิธีที่ได้ผลในการเอาก้างปลาออก และพลักมันลงกระเพาะอาหารไป ให้ทานคำโตๆโดยก่อนกลืนอย่าลืมอมขนมปังไว้ในปากก่อนเพื่อให้ขนมปังชุ่มเล็กน้อย จากนั้นกลืนลงไปทีเดียว และดื่มน้ำตาม

9. ปล่อยไว้อย่างนั้น

หลายครั้งที่คนไปโรงพยาบาลเวลามีก้างปลาติดคอ แต่พอให้คุณหมอตรวจดูกลับไปพบอะไร ก้างปลามีลักษณะค่อนข้างแหลม และสามารถขูดผนังลำคอส่วนหลังของคุณเวลากลืนอาหารได้ บางครั้งคุณยังรู้สึกเหมือนมีอะไรขูดอยู่ภายในลำคอ แต่ก้างปลาได้หลุดไปนานแล้ว สมมุติว่าการหายใจของคุณไม่ได้มีปัญหาอะไร คุณอาจต้องให้เวลามัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าภายในลำคอของคุณไม่มีอะไรติดอยู่ก่อนที่จะเข้านอน แต่หากคุณมีปัญหาในการหายใจ ให้ไปหน่วยฉุกเฉินทันที

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

บางครั้งก้างปลาติดคออาจไม่หลุดไปเอง ในบางรายจำเป็นต้องไปพบแพทย์ หากก้างปลาติดอยู่ที่หลอดอาหาร หรือบางทีในทางเดินอาหาร มันจะสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ เป็นเหตุให้หลอดอาหารเป็นแผล ฝี และถึงแก่ชีวิตได้ในบางราย ปรึกษาแพทย์หากคุณเจ็บปวดรุนแรงหรือรู้สึกว่าก้างปลาไปหายไปไหนเสียที ภายหลัง 2-3 วัน ควรให้ทีมแพทย์ช่วยคุณหากคุณเคยมีอาการ:
  • เจ็บหน้าอก
  • ช้ำ
  • บวม
  • น้ำลายไหลมากผิดปกติ
  • ไม่สามารถที่จะดื่ม หรือทานอะไรได้

สิ่งที่แพทย์ทำได้

หากคุณไม่สามารถเอาก้างปลาออกมาได้ คุณหมอจะช่วยเอาออกให้ง่ายกว่า หากคุณหมอมองไม่เห็นก้างปลา ก็อาจใช้การส่องกล้อง (Endoscopy) เป็นตัวช่วย การส่องกล้อง จะเป็นการสอดกล้องที่มีลักษณะยาวเป็นท่อที่มีความโค้งงอ และติดกล้องเล็กๆไว้ที่ปลายท่อ คุณหมอจะใช้มันเป็นเครื่องมือในการส่องหาก้างปลา หรือพลักก้างปลาลงไปในกระเพาะอาหาร

เคล็ดลับในการป้องกันก้างปลาติดคอ

บางคนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดก้างปลาติดคอ หรืออาหารติดคอ มันเป็นเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นบ่อยในผู้ที่มีฟันปลอม เพราะมักไม่รู้สึกถึงก้างปลาเวลาเคี้ยวอาหาร นอกจากนี้ก็พบบ่อยในเด็ก, ผู้สูงอายุ และผู้ที่รับประทานปลาขณะมึนเมา คุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยซื้อเนื้อปลาแทนปลาทั้งตัว แม้ว่าบางครั้งก้างปลาชิ้นเล็กๆก็อาจพบในเนื้อได้ แต่ก็มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับปลาทั้งตัว หมั่นดูแลเด็ก และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเวลารับประทานอาหารที่มีก้างปลา การทานคำเล็กๆ และเคี้ยวช้าๆก็สามารถช่วยให้คุณและคนอื่นๆหลีกเลี่ยงการเกิดก้างปลาติดคอได้

ตัวเลือกปลาที่ไม่มีก้างติดคอ

โดยทั่วไปแล้วปลาจะมีกระดูก แต่บางสายพันธุ์เป็นที่รู้กันว่ามีกระดูกน้อยกว่าหรือกระดูกที่เอาออกง่ายกว่า หากคุณชอบปลาไม่มีกระดูก คุณอาจพิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้:

1. ปลาดุก:

  • เป็นที่รู้กันว่าปลาดุกมีโครงสร้างค่อนข้างไม่มีกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปลาประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ตรวจสอบก้างก่อนบริโภค

2. ปลานิล:

  • ปลานิลเป็นปลาที่มีรสอ่อนและมีกระดูกน้อยกว่า และโดยทั่วไปแล้วก้างจะมีขนาดใหญ่กว่าและเอาออกง่ายกว่า

3. ปลาลิ้นหมา:

  • ปลาเนื้อเรียบ เช่น ปลาลิ้นหมาและปลาโซลมีโครงสร้างที่ทำให้ถอดก้างออกได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปจะเสิร์ฟเป็นเนื้อปลา และสามารถแยกก้างออกได้ง่าย

4. ปลาแฮดด็อก:

  • Haddock เป็นปลาเนื้อขาวที่มีเนื้อแน่นและมีก้างน้อย มักใช้ในปลาและมันฝรั่งทอด

5. ปลาฮาลิบัต:

  • ฮาลิบัตเป็นปลาเนื้อเรียบขนาดใหญ่ที่ให้เนื้อเนื้อหนาและไม่มีก้าง ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติอ่อนๆ และเนื้อสัมผัสที่แน่น

6. พอลล็อค:

  • Pollock มักใช้ในผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูป เช่น ปลาแท่ง และมีก้างน้อยกว่า

7. ปลาคอดอลาสก้า:

  • ปลาค็อดอลาสก้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะมีก้างน้อยลงและได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสชาติอ่อนๆ

8. ปลาเก๋า:

  • ปลาเก๋าเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่มีเนื้อแน่นและมีก้างที่ใหญ่และถอดออกได้ง่าย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/326739
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC317472
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด