ภาพรวม
การฝังยาคุมกำเนิดคือทางเลือกในการคุมกำเนิดระยะยาวสำหรับผู้หญิง ยาฝังคุมกำเนิดจะเป็นก้านพลาสติกยืดหยุ่นได้ที่มีขนาดเท่าไม้ขีดไฟที่นำมาฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณท่อนแทนช่วงบน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินได้ที่นี่ ตัวยาคุมกำเนิดจะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกไปอย่างช้าๆด้วยปริมาณที่แน่นอนสู่มูกช่องคลอดและเนื้อเยื่อบางๆของมดลูก (เยื่อบุมดลูก) ยาฝังคุมกำเนิดจะไปยับยั้งการตกไข่ ยาฝังคุมกำเนิดคือสารทึบรังสีและสามารถมองเห็นได้ผ่านการเอกซเรย์ -ใช้เพื่อระบุตำแหน่งที่ต้องการจะฝัง ยาฝังคุมกำเนิดเป็นยาคุมกำเนิดระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย:- สามารถเอาออกได้ตลอดเวลา สามารถกลับมาพร้อมมีบุตรได้รวดเร็ว
- ไม่ขัดจังหวะกิจกรรมทางเพศเพื่อคุมกำเนิด
- ไม่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ
- มีอาการแพ้สารประกอบของยาคุมชนิดฝัง
- มีลิ่มเลือดที่รุนแรง หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
- มีเนื้องอกตับหรือโรคตับ
- มีหรือสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านมหรือเคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
- ไม่สามารถวินิจฉัยภาวะเลือดออกจากอวัยวะเพศที่ผิดปกติ
- การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อยาระงับความรู้สึกหรือยาฆ่าเชื้อ
- ภาวะซึมเศร้า
- โรคเบาหวาน
- โรคกระเพาะปัสสาวะ
- ความดันโลหิตสูง
- คอเรสเตอรอลสูงหรือไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
- ชักหรือโรคลมชัก
ความเสี่ยง
ยาฝังคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ผู้หญิงที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นเวลาหนึ่งปีมีไม่ถึง 1 ใน 100ที่มีการตั้งครรภ์ หากเกิดการตั้งครรถ์ในขณะใช้ยาฝังคุมกำเนิด อาจทำให้มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก-คือเมื่อไข่เกิดการฝังตัวอยู่ภายนอกมดลูก มักเกิดขึ้นในท่อนำไข่ แต่อย่างไรก็ตามเพราะยาฝังคุมกำเนิดจะช่วยป้องกันการตั้งครรภฺได้ ผู้หญิงที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดจึงมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกต่ำกว่าคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด ผลข้างเคียงที่มีส่วนมาจากการใช้ยาฝังคุมกำเนิดคือ:- ปวดท้องหรือปวดหลัง
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่ที่ไม่ใช่มะเร็ง
- รูปแบบการมีรอบเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมไปถึงภาวะประจำเดือนขาดหายไป (ภาวะขาดระดู)
- แรงขับทางเพศลดลง
- วิงเวียนศีรษะ
- ปวดศีรษะ
- ภาวะดื้ออินซูลินเล็กน้อย
- อารมณ์แปรปรวนและภาวะซึมเศร้า
- คลื่นไส้หรือปวดท้อง
- อาจเกิดปฏิกิริยาร่วมกับยาชนิดอื่นๆ
- เจ็บหน้าอก
- ช่องคลอดอักเสบหรือแห้ง
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
การเตรียมตัว
แพทย์จะทำการประเมินสุขภาพโดยรวมก่อนการฝังยาคุมกำเนิดเข้าไป แพทย์จะระบุช่วงเวลาการฝังโดยดูจากรอบประจำเดือนและวิธีการคุมกำเนิดที่ผ่านมา อาจต้องได้รับการตรวจการตั้งครรภ์และต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบไม่ใช่ฮอร์โมนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การคุมกำเนิดสำรองอาจไม่มีความจำเป็นหากเคย:- ไม่ได้ใช้การคุมกำเนิดและมีการฝังยาคุมกำเนิดในระหว่างห้าวันแรกของรอบเดือน หรือแม้กำลังมีเลือดไหลก็ตาม
- ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับการใช้ห่วงหรือแผ่นคุมกำเนิดและมีการฝังยาคุมกำเนิดภายในเจ็ดวันที่เริ่มจากช่วงปราศจากฮอร์โมน
- ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดฮอร์โมนเดี่ยวและมีการฝังยาคุมกำเนิดในขณะรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดฮอร์โมนเดี่ยว
- ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดและใช้ยาฝังคุมกำเนิดในวันถัดมาจากการฉีดยาคุม
- ใช้ยาฝังคุมกำเนิดอื่นหรือห่วงอนามัยคุมกำเนิด(IUD) และมีการฝังฮอร์โมนอีโทโนเจสตรีล (Nexplanon) ในวันก่อนหน้าที่อุปกรณ์ก่อนหน้านี้จะถูกนำเอาออกไป
สิ่งที่ต้องเจอ
การฝังยาคุมกำเนิดใช้เวลาเพียงแค่นาทีเดียวหรือถ้ารวมการเตรียมตัวก็จะนานเพิ่มขึ้นอีกไปอีกในระหว่างการฝัง
คนไข้ต้องนอนหงายพร้อมกับยกแขนข้างที่ต้องการฝังขึ้นโดยให้ข้อศอกอยู่ในตำแหน่งใกล้ศีรษะ แพทย์จะทำร่องตรงตำแหน่งระหวห่างกล้ามเนื้อไบเซบและไตรเซบที่ด้านในท้องแขนด้านบน แพทย์จะฉีดยาชาในบริเวณที่จะฝังและใช้อุปกรณ์เพื่อใส่ตัวแท่งยาคุมเข้าไปใต้ผิวหนัง การยิ่งใส่ได้ลึกมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้เคลื่อนตัวได้ยากเท่านั้นหลังจากฝังยาคุม
แพทย์จะตรวจเช็คว่ายาคุมฝังไว้อยู่กับที่ หากจำเป็นแพทย์อาจอัลตราซาว์นหรือเอกซเรย์เพื่อดูให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ได้ถูกใส่เข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะปิดบริเวณที่ฝังยาคุมด้วยผ้าปิดแผลเล็กๆ คนไข้สามารถนำผ้าปิดแผลออกได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ควรใช้ผ้าปิดแผลเล็กๆสะอาดอันใหม่และแปะปิดไว้เป็นเวลาสามถึงห้าวัน ในบางรายอาจมีรอยฟกช้ำ ปวด มีแผลหรือมีเลือดออกในบริเวณที่ฝังยาคุมได้ ติดต่อแพทย์หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้:- มีก้อนที่เต้านม
- มีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดเยอะและยาวนาน
- มีสัญญานหรืออาการลิ่มเลือดที่ขาเช่นปวดและบวมไม่หายที่บริเวณน่อง
- มีสัญญานหรืออาการของดีซ่าน เช่นตาหรือผิวเหลือง
- มีสัญญานหรืออาการการติดเชื้อที่บริเวณที่ฝังยาคุม เช่น กดเจ็บ แดง บวมหรือมีน้ำหนองไหล
- มีสัญญานหรืออาการการตั้งครรภ์ได้ทุกช่วงหลังได้รับการฝังยาคุมกำเนิด
การนำยาฝังคุมกำเนิดออก
ยาฝังคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานมากกว่าสามปี ต้องนำเอาออกและเปลี่ยนอัยใหม่ทุกๆสามปีเพื่อการป้องกันต่อเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ แพทย์อาจแนะนำให้นำเอายาฝังคุมกำเนิดออกก่อนเวลาหากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้:- เป็นไมเกรนแบบเห็นแสง
- เป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง
- ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ดีซ่าน
- ภาวะซึมเศร้า
ผลที่ได้รับ
ยาฝังคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึงสามปี ต้องนำออกและใส่ตัวใหม่ทุกๆสามปีเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น