สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง (Causes of Hyperglycemia) – สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา

น้ำตาลในเลือดสูงคือ อะไร

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติ ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และอาจส่งผลเสียร้ายแรงอื่นๆต่อสุขภาพ การผลิตอินซูลินในร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานจะไม่เพียงพอ และร่างกายอาจไม่สามารถดูดซึมอินซูลินได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ กรณีน้ำตาลในเลือดสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานเช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ อาจเกิดเมื่อมีอาการป่วย เครียด หรือฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายต้องผลิตน้ำตาลเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย น้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และถูกวิธี อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น  ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น มีความเสี่ยงที่เกิดผลกระทบต่อดวงตาซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาการมองเห็นในระยะยาวได้ มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท ระบบหัวใจ หลอดเลือด หรืออวัยวะต่างๆ ถูกทำลายจนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง

1.พฤติกรรมการรับประทานของหวานต่างๆมากเกินไป

สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงคือ พฤติกรรมการรับประทานของหวานต่างๆ เพราะอาจทำให้เกิดติดการเติมน้ำตาลไปในอาหาร ติดน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือของหวานต่างๆ นั้น ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสูงขึ้น และในที่สุดนั้นก็ได้กลายเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเบาหวาน 

2.การรรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

การรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปัง ข้าว แป้ง จะสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้  โดยร่างกายของจะแบ่งอาหารเหล่านี้ออกเป็นโมเลกุลน้ำตาลในระหว่างการย่อยอาหาร หนึ่งในโมเลกุลเหล่านี้คือกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำหรับร่างกาย และอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ และควรระมัดระวังอย่างมากในผู้ป่วยเบาหวาน 

3.การรับประทานอาหารที่มีไขมันที่สูงมาก

การรับประทานอาหารที่มีไขมันที่สูง ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายของเรา เพราะทำให้เกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดอุดตัน และหากเส้นเลือดของเรามีความอุดตันจะทำให้การดูดซึมของน้ำตาลในเลือดนั้นลดลงได้ช้าลง ทำให้เสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง

4.การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีคาร์โบไฮเดรตต่างๆ ที่สามารถแปรสภาพเป็นน้ำตาลได้ ถ้าดื่มมากเกินไปย่อมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ และถ้าป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่ก็ย่อมจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ได้โดยตรง

5.การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่

แม้ว่าการดื่มเกลือแร่หลังการออกกำลังกายจะสามารถทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น แต่หากดื่มในปริมาณที่มากเกินย่อมทำให้เสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเครื่องดื่มเกลือแร่บางแบบมีปริมาณน้ำตาลที่สูง โดยหนึ่งขวดก็จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 1.7 ช้อนชา/250 มิลลลิตร และเครื่องดื่มเกลือแร่นั้นยังมีปริมาณแคลอรี่ที่สูงเช่นกัน ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

6.ความเครียด

ความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของน้ำตาล ดังนั้นความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

6.การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ทำลายสุขภาพ แล้วยังทำให้มีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอเป็นอย่างมาก เพราะการมีสุขภาพที่ไม่ดีนั้นเป็นสาเหตุทำให้เรานั้นมีระดับน้ำตาลในเลือดที่เยอะขึ้นได้เช่นกัน

7.การมีประจำเดือน

การมีประจำเดือนทำให้ระดับฮอร์โมนต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้อินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลงจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เนื่องจากความแปรปรวนต่างๆ ทำให้ร่างกายของเรานั้นตอบสนองของอินซูลินที่น้อยลงได้นั่นเอง ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานแล้วมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง

8.การใช้ยาต่างๆ

การใช้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อแก้อาการผื่นคัน อาการข้ออักเสบต่างๆ หรือหอบหืด โดยหากได้รับยาเป็นระยะเวลายาวนานย่อมทำให้น้ำตาลในเลือดของเรานั้นสูงขึ้นผิดปกติได้ และยังทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เมื่อเราป่วยเป็นโรคเบาหวานควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งเพื่อแพทย์จะได้จัดยากันอย่างถูกต้องและถูกวิธี

Causes of Hyperglycemia

9.เคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยการออกกำลังกายสามารถทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ และเป็นการพัฒนาร่างกายให้มีการเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หากไม่ออกกำลังกายจะทำให้ระบบการเผาผลาญต่างๆ ไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยงต่อน้ำตาลในเลือดสูง

  • การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากเกินความจำเป็น
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ป่วยเป็นดรคเครียด หรือมีภาวะเครียด
  • ป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ
  • ป่วยเป็นเนื้องอกทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
  • ป่วยเป็น Cushing’s Syndrome
  • ป่วยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
  • เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน
  • รับประทานยาสเตียรอยด์ หรือยากดภูมิต้านทาน
  • มีการใช้ยาเพรดนิโซน (Prednisone)
  • มีการใช้ยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker)
  • มีการใช้ยาเอสโตรเจน กลูคากอน (Glucagon)
  • มีการใช้ยายาคุมกำเนิดแบบรับประทาน
  • เกิดการติดเชื้อขณะมีไข้
  • เป็นโรคเกี่ยวกับตับอ่อน ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
  • การตั้งครรภ์

สัญญาณอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 

  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว คล้ายเป็นหวัด
  • สายตาพร่ามัว ตาลาย มองเห็นไม่ชัด
  • เป็นแผล แล้วแผลหายช้า
  • มีอาการติดเชื้อ หรืออักเสบได้ง่าย
  • ปวดมวนในท้องอย่างไมีมีสาเหตุ
  • เหนื่อย มีอาการอ่อนล้าผิดปกติ
  • หิวบ่อย อยากทานอาหารมากขึ้น
  • กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ผิวแห้ง และคัน
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย

สัญญาณอันตรายรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

วิธีรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และวิธีลดน้ำตาลในเลือด

  • เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • จัดตารางอาหารให้เหมาะสม
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งหรือไขมันที่สูงมากเกินความจำเป็น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมากเกินไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดของยา เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อลดผลข้างเคียง และความเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลสุขภาพ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ควรได้การรับประทานยา และการรักษาที่เหมาะสม
  • ควรพบแพทยืทันทีเมื่อผู้ป่วยเบาหวานพบอาการผิดปกติ
  • หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือสามารถซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลไว้ตรวจน้ำตาลในเลือดเองที่บ้านได้ สำหรับการควบคุมระดับน้ำตาล
  • ป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำฉับพลัน เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ควรมีลูกอมติดตัวไว้เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำตาลเบื้องต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เคลื่อนไหวร่างกายให้มาก และไม่ควรออกกำลังกายจนหักโหม
  • ผู้ป่วยที่มีการฉีดอินซูลินควรปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมด้วย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ควรระมัดระวังในการเลือกประเภทของการออกกำลังกาย ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
  • นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี เพราะระดับน้ำตาลในเลือดสูงๆ อาจส่งผลมาถึงสายตา และการมองเห็นหรือเป็นต้อได้
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ต้อหิน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

บุคคลที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรคำนึงถึงการเลือกรับประทานอาหารเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตขัดสี น้ำตาล และไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นได้ ต่อไปนี้เป็นอาหารที่ควรจำกัดหรือหลีกเลี่ยงหากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง:

1. อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล:

  • จำกัดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ได้แก่:
    • ลูกอม
    • ซีเรียลที่มีน้ำตาล
    • ขนมอบและขนมหวาน
    • โซดาและเครื่องดื่มรสหวานอื่นๆ
    • น้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล

2. คาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์:

  • อาหารที่ทำจากธัญพืชขัดสีอาจทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จำกัดการบริโภค:
    • ขนมปังขาว
    • ข้าวสีขาว
    • พาสต้าปกติ
    • ซีเรียลอาหารเช้าแปรรูป

3. ของขบเคี้ยวที่ผ่านการแปรรูปสูง:

  • ของขบเคี้ยวแปรรูปหลายชนิดมีไขมัน น้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตขัดสีที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูง ตัวอย่างได้แก่:
    • มันฝรั่งทอดแผ่น
    • สินค้าอบในเชิงพาณิชย์
    • แครกเกอร์ที่เติมน้ำตาล

4. อาหารทอด:

  • อาหารทอดมักมีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูงและอาจส่งผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลิน จำกัดหรือหลีกเลี่ยง:

5. เนื้อติดมัน:

  • การตัดเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ เลือกแหล่งโปรตีนไร้ไขมันและจำกัดการบริโภค:
    • เนื้อแดงติดมัน
    • เนื้อสัตว์แปรรูป (เช่น ไส้กรอก เบคอน)

6. ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มพร้อมน้ำตาลเพิ่ม:

  • ผลิตภัณฑ์นมบางชนิดอาจมีไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง เลือกตัวเลือกที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เติมน้ำตาล

7. โยเกิร์ตหวาน:

  • โยเกิร์ตปรุงแต่งรสและหวานอาจมีน้ำตาลสูง เลือกโยเกิร์ตธรรมดาที่ไม่หวานแล้วเติมผลไม้สดหรือน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความหวาน

8. แอลกอฮอล์:

  • แอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ สิ่งสำคัญคือต้องติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและระวังปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นกับยารักษาโรคเบาหวาน

9. ผลไม้แห้งที่เติมน้ำตาล:

  • แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผลไม้จะดีต่อสุขภาพ แต่ผลไม้แห้งที่เติมน้ำตาลก็สามารถเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเข้มข้นได้ เลือกผลไม้สดหรือแห้งโดยไม่เติมน้ำตาล
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด