สิ่งควรรู้เกี่ยวกับชา (What We Need to Know About Tea)

ชาเป็นภูมิปัญญากว่าพันปีของชาวตะวันออก เป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดีและมีความสุข ชาได้รับความสนใจจากนักวิจัยชาวตะวันตก ซึ่งค้นพบประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายในชาประเภทต่างๆ จากการศึกษาพบว่า ชาบางชนิดอาจช่วยในเรื่องโรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรอลและทำให้เกิดความตื่นตัว  อีกทั้งชายังมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ ชามีคาเฟอีนน้อย เป็นที่ยอมรับกันดีว่ามีสารประกอบในชาอันได้แก่ ฟลาโวนอยด์นั้นดีต่อหัวใจและอาจลดการเกิดโรคมะเร็งได้ แม้ว่าจะยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องดื่มชาเพื่อประโยชน์สูงสุดและปริมาณที่คุณต้องดื่ม แต่นักโภชนาการยอมรับว่าไม่ว่าจะเป็นชาประเภทใดก็คือชาที่ดี ถึงกระนั้นพวกเขาก็ชอบชาที่ผ่านการชงมากกว่าบรรจุขวดเพื่อหลีกเลี่ยงแคลอรี่และสารให้ความหวานที่เติมลงไป

คนยังมองหา : ยาลดความอ้วน

 

ประโยชน์ของชา: ชาเขียว ชาดำ และชาขาว

ชามีชื่อที่ตั้งขึ้นมาจากผู้ชงชาจำนวนมาก แต่ผู้ที่พิถีพิถันจะพิจารณาเฉพาะชาเขียว ชาดำ ชาขาว ชาอูหลง และชาผู่เอ๋อ(Pu-erh tea) เรื่องจริงก็คือชาทั้งหมดมาจากพืชที่มีชื่อว่า Camellia sinensis ซึ่งเป็นไม้พุ่มที่มีถิ่มกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย มีสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ส่วน ECGC เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์มากที่สุด ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน ชาเหล่านี้ทั้งหมดยังมีคาเฟอีนและธีอะนีน ซึ่งส่งผลต่อสมองและดูเหมือนจะเพิ่มความตื่นตัว  ใบชาที่ผ่านกระบวนการมาก มักจะมีปริมาณโพลีฟีนอล(Polyphenol)น้อย โพลีฟีนอล ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ชาอู่หลงและชาดำจะถูกออกซิไดซ์หรือถูกหมัก ดังนั้นจึงมีความเข้มข้นของโพลีฟีนอลต่ำกว่าชาเขียว แต่ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระยังคงสูงอยู่

ชามีกี่ประเภท

ชาเขียว (Green tea)

ทำด้วยการนำใบชามานึ่ง มันจะมี EGCG ที่เข้มข้นสูงและได้รับการศึกษากันอย่างกว้างขวาง สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวจะไปต่อต้านการเจริญของโรคมะเร็ง อีกทั้งยังป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด เผาผลาญไขมัน  ต่อต้านความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในสมอง ลดความเสี่ยงของความผิดปกติต่อระบบประสาท เช่น      โรคอัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและลดระดับคอลเลสเตอรอลในเลือด

ชาดำ (Black tea)

ทำมาจากใบชาหมัก มีปริมาณคาเฟอีนสูงสุดและเป็นพื้นฐานสำหรับชาที่มีรสชาติ เช่น ชาพร้อมดื่ม หรือชาสำเร็จรูปบางชนิด มีการศึกษาพบว่าชาดำสามารถป้องกันปอดจากความเสียหายที่เกิดจากการสัมผัสกับควันบุหรี่ นอกจากนี้ยังอาจลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ชาขาว (White tea)

ยังไม่มีการรักษาและการอ้างอิงใดๆ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าชาขาวมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับชาที่ผ่านการแปรรูปมา

ชาอู่หลง (Oolong tea)

ชาอู่หลงมีสารต้านอนุมูลอิสระจากชาอู่หลงมีผลการลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ชาอู่หลงชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Wuyi ทำการตลาดอย่างหนักในฐานะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการลดน้ำหนัก แต่ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้การสนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าว

ชาผู่เอ๋อ (Pu-erh tea)

ทำจากใบชาหมักและชาใบแก่ มีการนำเอาใบชาดังกล่าวผสมลงไปในเค้ก มีการศึกษาในสัตว์การศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่ได้รับชาผู่เอ๋อมีน้ำหนักตัวลดลงและลดระดับคอเลสเตอรอล LDL 

สรรพคุณใบชา: ชาสมุนไพร

ทำจากสมุนไพร ผลไม้  เมล็ด หรือรากที่แช่ในน้ำร้อน ชาสมุนไพรมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าเมื่อเทียบกับชาเขียว  ชาขาว  ชาดำ และชาอู่หลง องค์ประกอบทางเคมีของชาสมุนไพรแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพืชที่ใช้ ชาสมุนไพรได้จากพืชหลากหลายชนิด ได้แก่ ขิง แปะก๊วย โสม ชบา  มะลิ โรสฮิป (Rosehip) สะระแหน่ ชาแดง (Rooibos) คาโมมายล์ และเอ็กไคนาเซีย (Echinacea) มีงานวิจัยอย่างจำกัดเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพของชาสมุนไพร แต่การอ้างอิงถึงการช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหวัด และทำให้นอนหลับสนิท ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนWhat We Need to Know About Tea

ประโยชน์ของการดื่มชา

  • ชาคาโมมายล์ (Chamomile tea): สารต้านอนุมูลอิสระจากตัวชา อาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น การสูญเสียการมองเห็นและความเสียหายของเส้นประสาทและไต อีกทั้งยังทำให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • เอ็กไคนาเซีย (Echinacea): บ่อยครั้งที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนทางในการต่อสู้กับไข้หวัด แต่การวิจัยเกี่ยวกับเอ็กไคนาเซียยังไม่สามารถสรุปได้
  • ชบา (Hibiscus): มีการศึกษาชิ้นเล็กๆพบว่าการดื่มชาชบาวันละ 3 แก้ว ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้
  • ชาแดง (Rooibos): เป็นสมุนไพรแอฟริกาใต้ที่ได้รับการหมัก แม้ว่าจะมีฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านโรคมะเร็ง แต่การศึกษาทางการแพทย์ยังมีข้อจำกัด

ประโยชน์ของน้ำชา: ชาพร้อมดื่ม

ชาพร้อมดื่มหรือชาสำเร็จรูปอาจมีปริมาณชาจริงและความหวานหรือสารให้ความหวานเทียมเพียงเล็กน้อย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพควรตรวจสอบส่วนผสมบนฉลากก่อนบริโภค

ชาอาจไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ

ชาส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่องค์การอาหารและยา (FDA) ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับชาที่เรียกว่า Dieter’s tea ที่มีมะขามแขก ว่านหางจระเข้ บัคธอร์น (Buckthorn) และยาระบายอื่นๆที่ได้จากพืชเป็นส่วนประกอบ องค์การอาหารและยายังเตือนผู้บริโภคอีกว่าให้ระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ซึ่งอ้างว่าช่วยกำจัดความเจ็บปวดและต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ ไม่มีข้อสนับสนุนใดๆที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์และสมุนไพรบางชนิดนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ตับ และไตถูกทำลายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอาหารและยาได้แจงสมุนไพรที่ควรระวังในการบริโภคในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่:
  • Comfrey
  • Ephedra
  • Willow bark
  • Germander
  • Lobelia
  • Chaparral

ชาทำให้นอนไม่หลับจริงหรือไม่

ชา โดยเฉพาะชาที่มีคาเฟอีน อาจรบกวนการนอนหลับในบางคนได้ คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นตามธรรมชาติที่พบในชา (เช่น ชาดำ เขียว ชาขาว และชาอูหลง) ที่อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้บางคนนอนหลับได้ยาก ผลกระทบของคาเฟอีนต่อการนอนหลับอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความไวของแต่ละบุคคล ปริมาณคาเฟอีนที่บริโภค และระยะเวลาในการบริโภค บางคนไวต่อคาเฟอีนมากกว่าคนอื่นๆ สำหรับบุคคลเหล่านี้ แม้แต่คาเฟอีนในปริมาณปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคช่วงหลังของวัน ก็อาจทำให้การนอนหลับของพวกเขาหยุดชะงักได้ โดยทั่วไปผลของคาเฟอีนจะเริ่มภายในประมาณ 15-45 นาทีหลังการบริโภค และสามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานหลายชั่วโมง ครึ่งชีวิตของคาเฟอีน หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการกำจัดคาเฟอีนครึ่งหนึ่งออกจากร่างกาย อาจอยู่ในช่วงประมาณ 3 ถึง 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น กระบวนการเผาผลาญ การดื่มชาที่มีคาเฟอีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบ่ายหรือเย็นอาจทำให้นอนหลับยากหรือรบกวนรูปแบบการนอนหลับสำหรับบางคน เพื่อส่งเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น โดยเฉพาะหากไวต่อคาเฟอีน:
  • จำกัดการบริโภคคาเฟอีน:หลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน
  • เปลี่ยนไปใช้ Decaf หรือชาสมุนไพร:ชาสมุนไพรที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น ชาคาโมมายล์หรือเปปเปอร์มินต์ เป็นทางเลือกที่ดีหากคุณต้องการหลีกเลี่ยงผลกระตุ้นคาเฟอีน
  • ความไวต่อค่าเฟอีน:ระวังว่าคาเฟอีนส่งผลต่อการนอนหลับของคุณอย่างไร หากคุณสังเกตเห็นปัญหาการนอนหลับ ให้พิจารณาลดหรืองดชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนอื่นๆ ในช่วงบ่ายและเย็น
  • สร้างกิจวัตรการนอนเพื่อผ่อนคลาย:สร้างกิจวัตรเพื่อการผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ อาบน้ำอุ่น หรือฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อช่วยส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลานอนพักผ่อนแล้ว
การตอบสนองต่อคาเฟอีนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าชาหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนส่งผลต่อการนอนหลับของคุณอย่างไร การปรับเปลี่ยนปริมาณและจังหวะในการดื่มชาสามารถช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.eatright.org/health/wellness/preventing-illness/the-health-benefits-of-tea
  • https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/best-teas-your-health/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด