ผายลมหรือตดคืออะไร (What is Flatulence) – สาเหตุ การวินิจฉัย การป้องกัน

ผายลมคืออะไร 

ผายลม หรือที่รู้จักกันดีว่า ตด คือการปล่อยลม หรือมีแก๊ส การผายลม คือ คำใช้เรียกการปล่อยแก๊สจากระบบย่อยอาหารผ่านทางทวารหนัก เกิดขึ้นเมื่อมีแก๊สสะสมอยู่ภายในระบบย่อยอาหาร และจัดเป็นกระบวนการตามปกติของร่างกาย การสะสมของแก๊สเกิดได้สองทาง ทางแรกคือการกลืนเอาอากาศเข้าในในขณะรับประทานอาหารหรือดื่ม เป็นสาเหตุทำให้ออกซิเจนและไนโตรเจนไปสะสมอยู่ในทางเดินอาหาร ทางที่สองคือแก๊สที่เกิดขึ้นจากการย่อยอาหาร แก๊สจากการย่อยเช่นไฮโรเจน มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการสะสมขึ้น ซึ่งทั้งสองวิธีนี้เป็นสาเหตุของการผายลมทั้งสองวิธี

สาเหตุของการผายลมคืออะไร 

การผายลมถือเป็นเรื่องปกติมากๆ เราทุกคนล้วนมีการสะสมแก๊สในระบบย่อยอาหารกันทุกคน คนส่วนใหญ่มักปล่อยแก็สราว 10 ครั้งต่อวัน หากคุณผายลมบ่อยเกินกว่าจำนวนพื้นฐานนี้ คุณอาจตดบ่อยเกินไปซึ่งก็มีสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น 

การกลืนอากาศ

เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีการกลืนเอาอากาศเข้าไปได้ตลอดทั้งวัน ปกติมักมาในระหว่างการรับประทานอาหารหรือดื่ม ปกติจะเป็นการกลืนอากาศจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากคุณมีการกลืนเอาอากาศเข้าไปบ่อยกว่าคนอื่น คุณอาจพบว่าคุณอาจตดมากกว่าคนอื่นด้วย และอาจเป็นสาเหตุของการเรอ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ทำไมเราถึงเรอ เหตุผลที่อาจทำให้คุณกลืนเอาอากาศเข้าไปมากกว่าปกติคือ:
  • การเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • การสูบบุหรี่
  • การดูดสิ่งของเช่นหัวปากกา
  • ดื่มน้ำโซดา
  • รับประทานอาหารเร็วเกินไป

โภชนาการ

อาหารที่รับประทานบางชนิดอาจทำให้เกิดการผายลมมากเกินไปได้ อาหารบางชนิดอาจไปเพิ่มแก๊สได้เช่น:
  • ถั่วต่างๆ
  • กระหล่ำปลี
  • บล็อคโคลี่
  • ลูกเกด
  • เลนทิล
  • ลูกพรุน
  • แอปเปิ้ล
  • อาหารที่มฟรุกโตสหรือซอร์บิทอลสูง เช่น น้ำผลไม้
อาหารเหล่านี้จะใช้เวลาในการย่อยนาน ส่งผลให้เกิดผายลมมีกลิ่นเหม็นร่วมกับการผายลม ดังนั้นอาการบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ ซึ่งนั้นหมายความว่าพวกมันผ่านจากลำไส้ไปสู่ลำไส้ใหญ่โดยไม่ได้มีการย่อยเต็มที่ก่อน  ลำไส้ใหญ่ที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมากจะย่อยสลายอาหาร และปล่อยแก๊สออกมา การสะสมของแก๊สเป็นสาเหตุของการผายลม

สาเหตุของการผายลม และภาวะแทรกซ้อน

หากอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปไม่มีคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลในปริมาณมาก และคุณไม่ได้กลืนเอาอากาศเข้าไปมากจนเกินไป การตดบ่อยมากเกินไปอาจเกิดเพราะโรคบางอย่าง โรคบางอย่างที่ทำให้เกิดการผายลมนั้นกว้างมากนับตั้งแต่โรคที่เกิดขึ้นชั่วคราวไปจนถึงปัญหาของระบบย่อยอาหาร โรคบางชนิดนั้นรวมไปถึง:

What is <a href=Flatulence” width=”300″ height=”183″ />

ทางเลือกในการรักษาและการดูแลตนเองที่บ้านสำหรับการผายลมคืออะไร 

มีหลายวิธีในการรักษาการตดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา การรักษาการผายลมที่บ้านสามารถทำได้ดังต่อไปนี้:
  • ลองดูอาหารที่รัประทาน หาพบว่ามีปริมาณคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากซึ่งยากต่อการย่อย ให้ลองเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นมี่ง่ายต่อการย่อยมากกว่า เช่น มันฝรั่ง ข้าวและกล้วย ก็เป็นการทดแทนที่ดี
  • จดบันทึกอาหารที่รับประทานไว้ เพื่อช่วยระบุอาหารที่เป็นตัวกระตุ้น หลังจากที่ระบุอาหารที่เป็นสาเหตึของการทำให้เกิดการผายลมมากเกินไปได้แล้ว คุณควรพยายามหลีกเลี่ยงหรือรับประทานให้น้อยลง
  • รับประทานทีละน้อย ลองทานอาหารโดยแบ่งเป็นห้าหรือหกมื้อย่อยๆต่อวันแทนการทานวันละสามมื้อใหญ่ๆเพื่อช่วยในกระบวนการย่อย
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่อาจเป็นการเพิ่มปริมาณอากาศที่กลืนเข้าร่างกาย รวมไปถึงการเคี้ยวอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกาย ในบางคนพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยเรื่องการย่อยได้และสามารถป้องกันการตดบ่อยได้ด้วย
  • ลองรับประทานยาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งรวมไปถึงยาเม็ดคาร์บอนที่ช่วยดูดซึมแก๊สผ่านระบบย่อยอาหาร ยาลดกรดและอาหารเสริมเช่น alpha-galactosidase (Beano) แต่ควรจำว่ายาต่างๆเหล่านี้เป็นการบรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น

ควรไปพบแพทย์เมื่อไรสำหรับการผายลม

หากคุณมีการผายลมที่ไม่สามารถอธิบายได้ หรือมีอาการอย่างอื่นร่วมกับการผายลม คุณควรไปพบแพทย์เมื่อ: อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อาหารลดน้ำหนัก

การวินิจฉัยการผายลม

แพทย์จะสอบถามอาการของคุณ รวมไปถึงช่วงเวลาที่เริ่มมีปัญหา และหาสิ่งกระตุ้น แพทย์จะตรวจร่างกายของคุณ การตรวจเลือดอาจเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณไม่ได้กำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ การหาภูมิแพ้อาหารแฝง และให้แน่ใจว่าไม่มีโรคอื่นที่เป็นสาเหตุของการผายลม แพทย์จะเสนอขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คุณอาจได้รับยาสำหรับอาการบางอย่าง หากแพทย์สามารถระบุสาเหตุของอาการได้ คุณอาจได้รับการรักษาสำหรับอาการนั้น 

การป้องกันการผายลม

อาหารบางชนิดที่อาจทำให้เกิดแก๊สน้อยเช่น:
  • เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และปลา
  • ไข่
  • ผัก เช่น ผักกาดหอม มะเขือเทศ ซุคกีนี่ และกระเจี๊ยบ
  • ผลไม้ เช่น แคนตาลูป องุ่น เบอรรี่ เชอรรี่ อะโวคาโด และมะกอก
  • คาร์โบไฮเดรตเช่น ขนมปังปราศจากกลูเตน ขนมปังข้าว และข้าว

การเฝ้าติดตามสำหรับการผายลม

ไม่มีการติดตามในระยะยาวในการรักษาอาการผายลม หากการผายลมเกิดขึ้นจากภูมิแพ้อาหารแฝงหรือปัญหาการย่อย ปัญหานี้อาจแย่ลงทำให้เกิดอาการอื่นๆขึ้น  ในบางราย การผายลมมากเกินไปเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลสู่ปัญหาด้านอื่นๆ เช่นการเข้าสังคมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หากการผายลมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมากก็อาจส่งผลต่อเรื่องของอารมณ์ได้ด้วย สิ่งที่สำคัญคือพยายามรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและไปปรึกษาแพทย์หากปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิตของคุณ

แต่ถ้าไม่ผายลมเลยอาจผิดปกติ

แม้ว่าการผายลม (ตด) เป็นการทำงานของร่างกายตามปกติและเป็นธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่มีอันตรายเฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับการไม่ตด อย่างไรก็ตาม การสะสมของก๊าซมากเกินไปในระบบย่อยอาหารอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ท้องอืด และแน่นท้องได้ ต่อไปนี้เป็นประเด็นที่ควรพิจารณา:
  • ความถี่ปกติ:
      • โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนส่งก๊าซประมาณ 13 ถึง 21 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม ความถี่อาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคน และปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร สุขภาพทางเดินอาหาร และนิสัยของแต่ละคนก็มีบทบาทเช่นกัน
  • สาเหตุของการสะสมของก๊าซ:
      • ก๊าซในระบบย่อยอาหารเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการย่อยอาหาร การกลืนอากาศ การบริโภคอาหารบางชนิด (เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี และเครื่องดื่มอัดลม) และการย่อยสลายอาหารที่ไม่ได้ย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ อาจทำให้เกิดการผลิตก๊าซได้
  • รู้สึกไม่สบายและท้องอืด:
      • การสะสมของก๊าซมากเกินไปโดยไม่มีการปล่อยก๊าซออกมาอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ท้องอืด และแน่นขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มและอาจปวดท้องร่วมด้วย
  • ปัญหาทางเดินอาหารที่สำคัญ:
      • ปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับแก๊ส ท้องอืด และไม่สบายอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือความผิดปกติของการดูดซึมผิดปกติ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอาจจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยและการจัดการที่เหมาะสม
  • บรรเทาก๊าซ:
      • หากคุณรู้สึกไม่สบายเนื่องจากการสะสมของแก๊ส การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างอาจช่วยได้ เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแก๊ส การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ และการรักษาร่างกายให้ไม่ขาดน้ำ การออกกำลังกายเบาๆ และการเดินยังช่วยขับแก๊สออกมาได้
  • เมื่อใดควรไปพบแพทย์:
    • หากคุณมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางเดินอาหารที่ซ่อนอยู่ซึ่งต้องมีการประเมินและการรักษา
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการเปลี่ยนแปลงความถี่ในการจ่ายแก๊สเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องปกติ และอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร ความเครียด และความแปรผันของระบบย่อยอาหารของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรงควรได้รับการแก้ไขกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์เพื่อขจัดปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทางเดินอาหาร รู้สึกไม่สบายอย่างต่อเนื่อง หรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพฤติกรรมการขับถ่าย ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมินอย่างละเอียดและการจัดการที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://kidshealth.org/en/kids/fart.html
  • https://www.nhs.uk/conditions/flatulence/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/321556
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด