โรคมะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) : อาการ สาเหตุและการรักษา

มะเร็งมดลูกคืออะไร

โรคมะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) เกิดขึ้นเมื่อมีเซลล์เจริณเติบโตผิดปกติและมีเนื้องอกเกิดขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ โรคมะเร็งมดลูกมี 2 ประเภทได้แก่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณ endometrium คือเนื้อเยื่อบุภายในมดลูก ซึ่งการเกิดมะเร็งชนิดนี้คิดเป็น 95% ของการเกิดโรคมะเร็งทั้งหมดและมะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) ซึ่งมะเร็งชนิดเป็นมะเร็งมดลูกชนิดที่พบได้น้อยมาก 

อาการของมะเร็งมดลูก

อาการเลือดไหลออกจากช่องคลอดผิดปกติเป็นอาการส่วนใหญ่ของมะเร็งมดลูกที่พบได้มากที่สุด โดยเฉพาะอาการมีเลือดออกจากช่องคลอดหลังจากหมดประจำเดือน ผู้หญิงบางรายอาจมีอาการตกขาวผิดปกติซึ่งทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์ อาการทั่วไปที่พบได้น้อยได้แก่น้ำหนักลดลงผิดปกติ ปัสสาวะลำบากหรือปวดท้อง ในขณะที่มีอาการอื่นๆเกิดขึ้นเนื่องจากส่เหตุอื่นๆ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเข้ารับตรวจสุขภาพ ถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น

สาเหตุของมะเร็งมดลูก

ปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งมดลูกได้แก่
  • เป็นวัยหมดประจำเดือนหรือใกล้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (มีอายุ 55 ขึ้นไป)
  • ผนังมดลูกหนา (เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ)
  • ไม่เคยมีลูก
  • มีประจำเดือนก่อนวัย (ก่อนอายุ 12)
  • มีความดันเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวาน
  • น้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ มดลูกหรือลำไส้
  • มีโรคทางพันธุกรรมเช่น Cowden syndrome หรือ Lynch syndrome 
  • เคยเป็นเนื้องอกที่รังไข่มาก่อนหรือเป็นโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่
  • ใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนทดแทนเพียงอย่างเดียวหรือเคยเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก
  • การรักษาด้วยการฉายเเสงบำบัดที่บริเวณเชิงกราน
  • ทานยา tamoxifen เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม โดยปกติประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านมคือน้ำหนักเพิ่มขึ้นเเละมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมดลูกมากขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ เมื่อคุณมีความกังวลต่อการเกิดโรค

วิธีรักษาสำหรับโรคมะเร็งมดลูก

สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นโรคมะเร็งมดลูกมักจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อวินิจฉัยพบมะเร็งในระยะเเรกและยังไม่เกิดการแพร่กนะจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

การผ่าตัด (การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องและการผ่าตัดมดลูกปากมดลูกท่อนำไข่และปีกมดลูกออกไปทั้งหมด)

เป็นวิธีการรักษาที่นำมาใช้รักษาโรคมะเร็งมดลูกมากที่สุด โดยเป็นการผ่าตัดนำมดลูกและปากมดลูกออกโดยเฉพาะด้วยวิธีการผ่าตัดที่เรียกว่าการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องทั้งหมด ถ้าหากท่อน้ำไข่และมะเร็งปีกมดลูกถูกนำออกเช่นกันเรียกว่า bilateral salpingo-oophorectomy  รังไข่ถูกนำออกเนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากรังไข่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุทำให้เชื้อมะเร็งเจริญเติบโต โดยการผ่าตัดสามารถทำด้วยวิธีผ่าตัดที่หน้าท้องหรือการผ่าตัดผ่ากล้อง คุณจะได้รับยาชาในระหว่างผ่าตัด ในระหว่างที่ทำการผ่าตัด ศัลยแพทย์อาจนำเนื้อเยื่อบริเวณอื่นออก ถ้าหากพบว่ามีเชื้อมะเร็งแพร่กระจายหรือผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองออกจากอุ้งเชิงกราน สำหรับผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนเดือนอยู่ เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีตัดท่อนำไข่และปีกมดลูกออก ประเดือนของพวกเขาจะหมดไปเนื่องจากรังไข่ของพวกเขาถูกตัดออก ดังนั้นถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มต้นการรักษา ทีมผู้รักษาจะให้คำปรึกษาเพื่อดูแลตนเองในระหว่างเข้ารับการผ่าตัด ได้แก่ หลีกเลี่ยงการกระตุ้นและการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลาสั้นในช่วงระหว่างที่พักฟื้น

การฉายแสงบำบัด (Radiotherapy)

การฉายแสงบำบัดเป็นการใช้ลำแสงเอ็กซเรย์เพื่อฆ่าเชื้อหรือทำให้เซลล์มะเร็งได้รับบาดเจ็บ วิธีการรักษาดังกล่าวเป็นวิธีทั่วไปที่ใช้รักษาเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสเกิดเซลล์มะเร็งอีกครั้ง ซึ่งอาจนำวิธีการรักษานี้มาใช้เป็นหลักเมื่อการผ่าตัดใช่ไม่ได้ผลดีเพียงพอ การรักษาด้วยการฉายแสงบำบัดเป็นการรักษาด้วยการใช้เครื่องฉายแสงโดยตรงลงบริเวณเนื้อเยื่อที่เกิดมะเร็งและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆหรือการให้รังสีในระยะใกล้ (brachytherapy) เป็นการใช้สารกัมมันตรังสีใส่เข้าไปในหลอดและวางไว้ใกล้บริเวณที่เกิดมะเร็งภายในร่างกาย  การฉายเเสงบำบัดที่บริเวณอุ้งเชิงกรานสามารถทำให้ประจำเดือนหมดไปได้ ดังนั้นถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีนี้ที่อาจส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของคุณ สิ่งสำคัญคือควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นรักษา

การทำฮอร์โมนบำบัด

โดยปกติการทำฮอร์โมนบำบัดนำมาใช้เมื่อเชื้อมะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆหรือมีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังนำมาใช้เมื่อการผ่าตัดไม่ใช้ทางเลือกที่ใช้ได้ผล ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนหลักที่นำมาใช้ทำฮอร์โมนบำบัดสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งมดลูก ซึ่งมีทั้งรูปแบบเป็นยาชนิดเม็ดสำหรับทานและยาสำหรับฉีดโดยแพทย์หรือพยาบาล โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่ทำให้เชื้อมะเร็งมีขนาดเล็กลงและควบคุมอาการของโรค

การทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัดนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งมดลูกบางชนิดหรือนำมาใช้ในกรณีที่เซลล์มะเร็งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน ซึ่งสามารถนำวิธีนี้มาใช้เพื่อควบคุมโรคมะเร็งและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น โดยปกติมักใช้ยาเคมีบำบัดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ โดยแพทย์จะทำการอธิบายวิธีการรักษาด้วยเคมีบำบัดและระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา

การรักษาระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

ในบางกรณีของการเกิดโรคมะเร็งมดลูก ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคองอาการ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการใช้ชีวิตด้วยการบรรเทาอาการของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้น รวมถึงชะลอกการเเพร่กระจายของเชื้อมะเร็งภายในมดลูก ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและช่วยขัดการกับอาการอื่นที่เกิดขึ้น โดยการรักษาแบบประคับประคองได้แก่การฉายแสงบำบัด การทำเคมีบำบัดหรือการใช้ยาบำบัด 

ทีมแพทย์ที่ให้การรักษา

ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาของคุณ โดยทีมเเพทย์ที่รักษาของคุณอาจประกอบไปด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงแตกต่างกันได้แก่
  • แพทย์ทั่วไป (General Practitioner) เป็นผู้ที่ทำการตรวจสุขภาพทัวไปและทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ
  • แพทย์สูตินารีเป็นผู้ที่ทำการวินิจฉัยโรคมะเร็งและรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบสืบพันธ์เพศหญิง
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารีเวชเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเกี่ยบกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง 
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเป็นผู้ที่ให้การรักษาที่เกี่ยวกับการฉายเเสงบำบัด
  • การรักษามะเร็งวิทยาเป็นการใช้ยาร่วมกับการทำเคมีบำบัด
  • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งเป็นผู้ที่ให้การรักษาและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกรและผู้ให้คำปรึกษา

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมดลูก

ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยาหรือนักกำหนดอาหารที่ขึ้นทะเบียน เพื่อสร้างแผนโภชนาการเฉพาะบุคคลตามสภาวะสุขภาพและความต้องการเฉพาะของคุณ การรักษาอาหารเพื่อสุขภาพอาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งมดลูก เนื่องจากสามารถช่วยสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม และอาจช่วยในการจัดการผลข้างเคียงของการรักษา นี่คือเคล็ดลับทั่วไปบางประการ:
  • อาหารที่สมดุล: ตั้งเป้าไปที่อาหารที่สมดุลซึ่งรวมถึงผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนไม่ติดมัน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ สารอาหารที่หลากหลายสามารถสนับสนุนร่างกายของคุณในระหว่างการรักษามะเร็ง
  • การให้ความชุ่มชื้น: การให้ความชุ่มชื้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการรักษาหรือยาทำให้เกิดภาวะขาดน้ำหรือหากคุณมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
  • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง: อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ เช่น เมล็ดธัญพืช ผลไม้และผัก สามารถช่วยในการย่อยอาหารและอาจช่วยจัดการกับอาการท้องผูก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการรักษามะเร็งบางชนิด
  • โปรตีน: การบริโภคโปรตีนที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการรักษาและรักษามวลกล้ามเนื้อ แหล่งโปรตีนไร้ไขมัน ได้แก่ สัตว์ปีก ปลา ถั่ว ถั่วเลนทิล เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
  • จำกัดอาหารแปรรูป: พยายามลดอาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาล และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลให้น้อยที่สุด เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงเล็กน้อยและอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
  • จัดการผลข้างเคียง: หากคุณพบผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ การรับรสเปลี่ยนไป หรือเบื่ออาหาร ให้ทำงานร่วมกับนักโภชนาการเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และให้แน่ใจว่าคุณยังคงได้รับสารอาหารที่จำเป็น
  • อาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ: สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้อาจช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย รวมผักและผลไม้หลากสีสันในอาหารของคุณ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร: ในบางกรณี อาจมีการแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าคุณตอบสนองความต้องการด้านโภชนาการของคุณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาทีมแพทย์ของคุณก่อนรับประทานอาหารเสริมใดๆ
  • วิธีการเฉพาะบุคคล: จำไว้ว่าความต้องการทางโภชนาการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ปรับแต่งอาหารของคุณตามความต้องการและความชอบเฉพาะของคุณ
  • ทานมื้อเล็กและบ่อยครั้ง: หากคุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ให้พิจารณารับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และบ่อยขึ้นตลอดทั้งวันเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับแคลอรีและสารอาหารเพียงพอ
อีกครั้ง สิ่งสำคัญคือต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมแพทย์ของคุณเพื่อพัฒนาแผนโภชนาการที่เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคลของคุณและเสริมแผนการรักษาของคุณ พวกเขาสามารถช่วยคุณในการตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับอาหารของคุณและจัดการกับข้อกังวลหรือคำถามที่คุณอาจมี

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endometrial-cancer/symptoms-causes/syc-20352461
  • https://www.nhs.uk/conditions/womb-cancer/
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/broken-arm
  • https://medlineplus.gov/uterinecancer.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด