ยาเตตระไซคลิน (Tetracycline) – วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาเตตระไซคลิน

Tetracycline คืออะไร

ยาเตตระไซคลิน (Tetracycline) ผลิตจากแบคทีเรียในกลุ่ม Streptomyces  จัดเป็นยากลุ่มยาปฏิชีวนะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ยา Tetracycline เป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปแบบยาสามัญ และยา Tetracycline จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

Tetracycline ใช้รักษาอะไร

  • อาการติดเชื้อ และทำลายแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ โดยไม่มีผลกับการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัด
  • ลำไส้อักเสบ หลอดลมอักเสบ
  • โรคบิดมีเชื้อ
  • แผล ฝี หนอง 
  • กาฬโรค
  • มาลาเรีย
  • รักษาสิว
  • ซิฟิลิส
  • อาการอักเสบต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อ  
  • โรคบรูเซลโลซิส  ที่เกิดจากการติดเชื้อบรูเซลา บรูเซลล่า 
  • การติดเชื้อหนองใน 
  • Tetracycline HCI 250 mg. ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และเนื้อเยื่ออ่อน
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ หนองในเทียม

การใช้ยา Tetracycline

ยาในรูปแบบยารับประทาน 1.ใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อ
  • สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาดวันละ 250 – 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง ห้ามใช้ยาเกินวันละ 4 กรัม
  • สำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ให้ใช้ยาขนาดสูงสุดวันละ 2 กรัม
2.ใช้สำหรับรักษาสิว 
  • สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาดวันละ 250 – 500 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือแบ่งให้ยาวันละหลายครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือน 
3.ใช้สำหรับรักษาซิฟิลิส
  • สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาดวันละ 500 มิลลิกรัม แบ่งใช้วันละสี่ครั้งเป็นระยะเวลา 15 วัน 
4.ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อบรูเซลา 
  • สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาดวันละ  500 มิลลิกรัม แบ่งใช้วันละสี่ครั้งเป็นเวลาสามสัปดาห์ โดยให้ยาร่วมกับยา streptomycin 
5.ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อโกนอเรีย หรือหนองใน 
  • สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาดวันละ 500 มิลลิกรัม แบ่งใช้วันละสี่ครั้งเป็นเวลา 7 วัน

Tetracycline

ข้อควรระวังของการใช้ยา Tetracycline

  • ห้ามใช้ยาในผู้ที่เป็นโรคไตระยะรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาเมธอกซีฟลูเรน 
  • หากลืมรับประทานยา Tetracycline ตามเวลาปกติที่รับประทาน ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้  โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
  • กรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไปให้รับประทานยาในมื้อถัดไป โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่allergy-0094/”>แพ้ยา Tetracycline หรือยากลุ่มTetracycline อื่นๆ 
  • ห้ามใช้ยาในสตรีให้นมบุตร เนื่องจากอาจส่งผลต่อบุตรได้
  • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเอส แอล อี (SLE) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรค Myasthenia Gravis (MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไตระดับความรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์เนื่องจากมีผลต่อทารกได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยา Tetracycline ร่วมกับนม เพราะจะลดการดูดซึมตัวยา
  • การรับประทานยา Tetracycline ร่วมกับยาลดกรด จะลดการดูดซึมตัวยา ควรให้ยาตัวนี้ 1 ชม. ก่อนให้ยาลดกรด หรือหลังให้ยาลดกรด 2 ชม.
  • ยา Tetracycline มีผลต่อยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ยา Tetracycline ลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด ฉะนั้นจึงควรใช้การคุมกำเนิดแบบอื่น
  • ควรแจ้งแพทย์หากเป็นโรคไต เพราะยา Tetracycline มีพิษต่อไต 
  • ยา Tetracycline เพิ่มความเสียงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินและใช้ยากลุ่ม Sulfonylureas
  • ยา Tetracycline เพิ่มความพิษต่อยา Ergot Alkaloids และ Methotrexate
  • ควรแจ้งแพทย์ถ้าได้รับยา Anticoagulants เช่น Warfarin, Penicillin, และยาแก้ท้องร่วง
  • ให้ยาตัวนี้ก่อนหน้ายาเตรียมที่มีเหล็กผสมอยู่ 2 ชม. หรือหลัง 3 ชม.
  • ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี
  • ไม่ควรใช้ยาที่มีการผลิตนานแล้ว เพราะอาจเป็นอันตรายได้
  • หากรู้สึกไม่สบายท้องให้รับประทานยาร่วมกับของขบเคี้ยว
  • ควรรับประทานยาให้หมด เพราะเชื้ออาจจะกลับเป็นซ้ำได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Tetracycline

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ถ่ายท้อง
  • เกิดแผลที่หลอดอาหาร
  • เกิดผื่นที่ผิวหนัง
  • ผิวหนังอักเสบจากการลอกของผิว
  • เล็บเปลี่ยนสี
  • ฟันเปลี่ยนสีถาวร
  • ชั้นเคลือบฟันบางลง
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เป็นไข้ ปวดข้อ
  • ผิวไวต่อแสงมากขึ้น
  • ค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น
  • มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
  • เกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่
  • เมื่อตรวจสอบต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่ามีการเกิดจุดน้ำตาลดำ 
  • มีอาการแพ้ยาแบบ Anaphylaxis
  • มีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium Difficile
  • เกิดภาวะตับเป็นพิษ และไขมันพอกตับ
  • ถ้าเป็นโรคเบาหวาน การรับประทานยาอาจทำให้การวัดระดับน้ำตาลในปัสสาวะเกิดการผิดพลาดได้
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน หรือเปลี่ยนขนาดของยารักษาโรคเบาหวาน
  • คันที่ช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • เจ็บปากรุนแรง
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ แผลในปาก

การเก็บรักษายา Tetracycline

  • เก็บในภาชนะปิดสนิท เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บของเหลวในตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บในช่องแข็ง
  • เก็บเม็ดยาและแคปซูลที่อุณหภูมิห้อง
ที่ภาชนะบรรจุยาจะระบุวันหมดอายุไว้ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาหลังวันหมดอายุ

Tetracycline ไม่เหมาะกับใคร

Tetracycline เป็นยาปฏิชีวนะในวงกว้างที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้ยาเตตราไซคลิน เนื่องจากมีปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น ข้อห้าม หรือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลข้างเคียง ต่อไปนี้คือกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยาเตตราไซคลิน:
  • สตรีมีครรภ์:
      • ยาเตตราไซคลินสามารถรบกวนการพัฒนากระดูกของทารกในครรภ์และทำให้ฟันที่กำลังพัฒนาเปลี่ยนสีในทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นจึงมักหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลัง
  • สตรีให้นมบุตร:
      • ยาเตตราไซคลินสามารถขับออกมาในน้ำนมแม่และอาจส่งผลต่อการพัฒนาฟันและกระดูกของทารกในวัยทารก มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงยาเตตราไซคลินขณะให้นมบุตร
  • เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี:
      • ยาเตตราไซคลินอาจรบกวนการพัฒนาของฟันและกระดูกในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี อาจทำให้ฟันเปลี่ยนสีอย่างถาวรและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก ทางเลือกอื่นมักนิยมใช้สำหรับกลุ่มอายุนี้
  • ผู้ที่มีความบกพร่องทางไต:
      • Tetracycline ถูกกำจัดออกทางไตเป็นหลัก บุคคลที่มีความบกพร่องทางไตอาจมีความสามารถในการล้างยาออกจากระบบลดลงซึ่งนำไปสู่ความเป็นพิษได้ อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ:
      • ยาเตตราไซคลินถูกเผาผลาญในตับเป็นหลัก และผู้ที่เป็นโรคตับอาจพบการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญยา อาจต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและการปรับขนาดยาที่อาจเกิดขึ้น
  • บุคคลที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือภูมิไวเกิน:
      • ผู้ที่มีอาการแพ้หรือภูมิไวเกินต่อยาเตตราไซคลินหรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ในกลุ่มยาเตตราไซคลิน (เช่น ด็อกซีไซคลินหรือมิโนไซคลิน) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้
  • ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด:
      • ยาเตตราไซคลินสามารถโต้ตอบกับยาอื่นๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทราบเกี่ยวกับยา อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น
  • ผู้ที่เป็นโรค Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือ Myasthenia Gravis:
    • ยาเตตราไซคลินอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นในบุคคลที่มีภาวะภูมิต้านตนเองบางอย่าง เช่น โรคลูปัส erythematosus (SLE) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายแรง
ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอเมื่อพูดถึงการใช้ยาเตตราไซคลินหรือยาอื่น ๆ หากคุณมีข้อกังวลว่ายาเตตราไซคลินเหมาะกับคุณหรือไม่ ให้ปรึกษาประวัติการรักษาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มใช้ยา พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลตามสถานะสุขภาพและสถานการณ์ส่วนบุคคลของคุณ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด