หญ้าหวานคืออะไร 

หญ้าหวาน (Stevia rebaudiana) คือ พืชที่อยู่ในตระกูลดอกเบญจมาศ เป็นกลุ่มรองในตระกูลพืชวงศ์ทานตะวัน (ตระกูลแร๊กวีด) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างหญ้าหวานที่ซื้อตามร้านขายของกับหญ้าหวานที่โตเองที่บ้าน ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานที่เราพบเห็นตามชั้นวางขายสินค้า เช่น ทรูเวียและสเตเวียอินเดอะลอว์ สินค้าพวกนี้ไม่ใช่ใบหญ้าหวานทั้งหมด พวกมันทำมาจากใบหญ้าหวานสกัดบริสุทธิ์สูงที่เรียกว่า รีบาวดิโอไซด์ เอ (Reb-A)  ในความเป็นจริงแล้วนั้น ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานหลายตัวมีหญ้าหวานอยู่ในนั้นน้อยมาก  Reb-A จะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 200 เท่า สารให้ความหวานที่ทำด้วย Reb-A  ถือว่าเป็น “สารให้ความหวานแบบใหม่” เพราะพวกมันผสมผสานด้วยสารให้ความหวานที่แตกต่างกัน เช่น อิริทริทอล (น้ำตาลแอลกอออล์) และ เดกซ์โทรส (กลูโคส) ยกตัวอย่าง ทรูเวียคือการผสมผสานของ Reb-A และอิริทริทอล และสเตเวียอินเดอะลอว์คือการผสมผสาน Reb-A กับ เดกซ์โทรสหรือมอลโทเดกซ์ทริน หญ้าหวานบางยี่ห้ออาจใส่สารให้กลิ่นรส ทางองค์กรอาหารและยายังไม่คัดค้าน “สารให้กลิ่นรส” หากส่วนผสมนั้นไม่มีการเติมสี วัตถุปรุงแต่งกลิ่นสังเคราะห์หรือสารสังเคราะห์  คุณสามารถปลูกต้นหญ้าหวานได้ที่บ้านและใช้ใบของมันเพื่อเพิ่มความหวานในอาหารหรือเครื่องดื่ม สารให้ความ Reb-A มีให้เลือกทั้งในรูปแบบของเหลว แป้งและเม็ดเล็กๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึง “หญ้าหวาน”ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ Reb-A      

ประโยชน์ของหญ้าหวาน

หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งนั่นหมายความว่ามันเกือบไม่มีแคลลอรี่ หากคุณกำลังพยายามลดน้ำหนัก หญ้าหวานนี้ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม จนทุกวันนี้การวิจัยนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพก็ขึ้นกับจำนวนที่บริโภคเข้าไป รวมไปถึงจำนวนวันที่บริโภคเข้าไป. หากคุณเป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลหญ้าหวานอาจช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุมได้ จากการศึกษาเมื่อปี 2010 ในผู้ร่วมทดลองที่มีสุขภาพดี ผอม จำนวน 19 คน และผู้ร่วมทดลองที่เป็นโรคอ้วนจำนวน 12 คน พบว่าหญ้าหวานช่วยลดระดับกลูโคสและอินซูลินลงได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้าทดลองพึงพอใจและรู้สึกอิ่มหลังการรับประทานอาหาร แม้จะรับประทานแคลลอรี่เข้าไปน้อยก็ตาม จากการศึกษาปี 2009 พบว่าใบหญ้าหวานผงอาจช่วยจัดการกับคอเรสเตอรอลได้ ด้วยการให้ผู้ทดลองบริโภคหญ้าหวานสกัดปริมาณ 20 มล.เป็นประจำทุกวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน จากการศึกษาพบว่าสรรพคุณหญ้าหวานช่วยลดคอเรสเตอรอล “ชนิดเลว” LDL และไตรกลีเซอร์ไรด์ได้โดยไม่มีผลข้างเคียงในทางลบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคอเรสเตอรอล (ตัวดี) HDL ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในปริมาณการใช้หญ้าหวานที่ส่งผลเดียวกันที่Stevia

หญ้าหวานมีผลข้างเคียงหรือไม่ 

องค์กรอาหารและยากล่าวว่าหญ้าหวานไกลโคไซด์ เช่น  Reb-A คือ “ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัย” พวกเค้ายังไม่ได้รับรองใบหญ้าหวานทั้งใบหรือหญ้าหวานสกัดสำหรับใช้ในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มเพราะยังขาดข้อมูลที่ปลอดภัย สิ่งที่เป็นกังวลคือสมุนไพรหญ้าหวานสดอาจเป็นอันตรายต่อไต ระบบสืบพันธุ์และระบบระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจส่งผลทำให้ความดันเลือดลดจนต่ำเกินไปหรือมีปฏิกิริยากับยาที่ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ถึงแม้หญ้าหวานจะถูกพิจารณาแล้วว่ามีความปลอดภัยสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน บางยี่ห้อที่มีเด็กซ์โทรสหรือมอลโทเดกซ์ทรินควรต้องใช้อย่างระมัดระวัง เด็กซ์โทรสคือกลูโคส และมอลโทเดกซ์ทรินคือสตาร์ช ส่วนผสมเหล่านี้มีคาร์บและแคลลอรี่จำนวนเล็กน้อย  หากคุณกำลังใช้หญ้าหวานนานๆครั้ง อาจจะยังไม่มากพอที่จะส่งผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือดของคุณ แต่หากคุณใช้ตลอดทั้งวัน อาจเพิ่มจำนวนคาร์บได้ จากการศึกษาเมื่อปี 2019 พบว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมไปถึงหญ้าหวาน กับ การถูกทำลายของแบคทีเรียในลำไส้ จากการศึกษาเดียวกันพบว่าสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการอาจไปลดความทนทานต่อน้ำตาลและโรคเมเทบอลิก สารให้ความหวานส่วนใหญ่มักมีข้อเสียหลักๆ คือ เรื่องของรสชาติ หญ้าหวานมีรสชาติคล้ายชะเอมเทศที่มีรสขมนิดๆ แต่บางคนก็ชอบ ในบางคน ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานที่ทำมาจากน้ำตาลแอลกอฮอล์อาจเป็นสาเหตุทำให้ระบบย่อยมีปัญหา เช่นท้องอืดและท้องเสีย

หญ้าหวานสามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่ 

หญ้าหวานที่ทำจาก Reb-A มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้กับหญิงตั้งครรถ์ในปริมาณที่พอเหมาะ หากคุณเป็นคนที่ไวต่อน้ำตาลแอลกอฮอล์ ให้เลือกยี่ห้อที่ไม่มีอิริทริทอลเป็นส่วนประกอบ  ใบหญ้าหวานทั้งใบและหญ้าหวานสกัด รวมถึงหญ้าหวานที่คุณปลูกไว้ที่บ้านเป็นหญ้าหวานอันตราย ไม่ปลอดภัยที่จะใช้กับหญิงตั้งครรภ์ มันอาจดูเป็นเรื่องแปลกที่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการกลั่นกลับมีความปลอดภัยมากกว่าแบบธรรมชาติ และสิ่งนี้คือเรื่องลึกลับของผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพร ในกรณีนี้ Reb-A ที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีความปลอดภัยที่จะใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์และอื่นๆ แต่หญ้าหวานที่มีตามธรรมชาตินั้นไม่ใช่ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานมากเพียงพอว่าหญ้าหวานทั้งใบหรือหญ้าหวานสกัดจะไม่ทำอันตรายให้กับหญิงตั้งครรภ์

หญ้าหวานมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งหรือไม่ 

มีหลักฐานบางอย่างพบว่าหญ้าหวานอาจช่วยต่อสู้หรือป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้ จากข้อมูลจากการศึกษาเมื่อปี 2012 พบว่าไกลโคไซด์ที่เรียกว่าสตีวิโอไซด์ที่พบได้ในหญ้าหวานจะช่วยให้เซลล์มะเร็งตายในคนที่เป็นมะเร็งเต้านม สตีวิโอไซด์อาจช่วยลดวิถีไมโทคอนเดรียซึ่งเป็่นตัวช่วยให้มะเร็งเติบโต

การใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล

หญ้าหวานสามารถนำมาใช้แทนที่น้ำตาลทรายในอาหารจานโปรดและเครื่องดื่มได้ หญ้าหวานผงเพียงหยิบมือเท่ากับน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา ลองใช้น้ำตาลจากหญ้าหวานในเมนูดังต่อไปนี้:
  • ในกาแฟหรือชา
  • ในน้ำมะนาว
  • โรยบนซีเรียลทั้งร้อนหรือเย็น
  • ในน้ำปั่น
  • โรยบนโยเกิร์ตชนิดไม่หวาน
หญ้าหวานบางยี่ห้อเช่น สเตเวียอินเดอะรอว์ สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลทราย (เพื่อทำเครื่องดื่มรสหวานและซอส) คุณสามารถทำอาหารอบด้วยหญ้าหวานได้ ถึงแม้มันอาจจะทำให้เค้กและคุกกี้มีรสคล้ายชะเอมเทศค้างอยู่ในคอ ควรใช้หญ้าหวานแทนทีน้ำตาลด้วยการใช้เพียงแค่ครึ่งเดียวของน้ำตาลทรายตามสูตร บางยี่ห้ออาจไม่ได้ทำมาเพื่อนำไปอบ ดังนั้นจึงควรใช้ให้น้อย คุณสามารถเอาของเหลวเติมใส่หรือส่วนผสมที่เป็นก้อนเช่นแอปเปิ้ลซอสหรือกล้วยบดในสูตรเพื่อทดแทนน้ำตาลส่วนที่หายไป

ใครที่ควรหลีกเลี่ยงหญ้าหวาน

หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติที่ได้มาจากใบของพืชหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana) เป็นที่รู้กันว่ามีความหวานมากกว่าน้ำตาลมาก แต่มีแคลอรี่น้อยกว่าและส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า แม้ว่าหญ้าหวานจะถือว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็มีกลุ่มบางกลุ่มที่ควรใช้ความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยง:
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้:บางคนอาจแพ้หญ้าหวาน ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น คันหรือลมพิษ ไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรง เช่น หายใจลำบาก หากคุณสงสัยว่าจะแพ้หญ้าหวาน สิ่งสำคัญคือต้องขอคำแนะนำจากแพทย์
  • รสที่ค้างอยู่ในคอ:หญ้าหวานอาจมีรสขมเล็กน้อยหรือคล้ายชะเอมเทศ ซึ่งบางคนพบว่าไม่พึงประสงค์ หากคุณไม่ชอบรสชาตินี้ คุณอาจต้องการหลีกเลี่ยงหญ้าหวานหรือลองใช้สารให้ความหวานยี่ห้อหรือรูปแบบอื่น เนื่องจากรสที่ค้างอยู่ในคออาจแตกต่างกันไป
  • ความไวต่อสารให้ความหวาน:บุคคลบางคนไวต่อสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงหญ้าหวาน อาจรู้สึกไม่สบายทางเดินอาหาร ท้องอืด หรือมีอาการทางเดินอาหารเมื่อบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีหญ้าหวาน
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:มีงานวิจัยที่จำกัดเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างหญ้าหวานกับยา หากคุณกำลังใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีข้อจำกัดด้านอาหารโดยเฉพาะ ให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อขอคำแนะนำในการใช้หญ้าหวาน
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:แม้ว่าหญ้าหวานโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรส่วนใหญ่เมื่อบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ก็มีการวิจัยที่จำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัยของหญ้าหวานในระหว่างตั้งครรภ์ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคหญ้าหวานในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร
  • ยาลดความดันโลหิต:การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าสตีวิออลไกลโคไซด์ซึ่งเป็นสารประกอบในหญ้าหวานอาจมีผลในการลดความดันโลหิตเล็กน้อย หากคุณกำลังใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้แพทย์ของคุณเกี่ยวกับการใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวาน
  • สารกำจัดวัชพืชตกค้าง:ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานเชิงพาณิชย์บางชนิดอาจมีร่องรอยของสารกำจัดวัชพืชตกค้างจากกระบวนการเพาะปลูก หากคุณกังวลเกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ให้เลือกผลิตภัณฑ์หญ้าหวานปลอดสารกำจัดศัตรูพืชแบบออร์แกนิกหรือที่ผ่านการรับรอง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือสำหรับคนส่วนใหญ่ หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่ปลอดภัย ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่สมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาล หากคุณมีข้อกังวลเรื่องอาหาร โรคภูมิแพ้ หรืออาการป่วยใดๆ เป็นพิเศษ ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าหญ้าหวานเหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคลของคุณหรือไม่ และเพื่อสร้างแนวทางการบริโภคที่ปลอดภัย

ประเด็นสำคัญ

ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานที่ทำด้วย Reb-A มีความปลอดภัย แม้แต่กับหญิงตั้งครรภ์หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน ผลิตภัณฑ์นี้มีผลข้างเคียงน้อยมากๆ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม จำไว้ว่าหญ้าหวานให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้มากจนเกินไป หญ้าหวานทั้งใบยังไม่มีการรับรองให้ใช้เพื่อการค้า แต่คุณสามารถปลูกใช้ที่บ้านได้ แม้จะยังไม่มีการวิจัย แต่หลายคนก็อวดอ้างว่าหญ้าหวานทั้งใบมีความปลอดภัยสูงกว่าน้ำตาลทราย ในขณะที่ใช้ใบหญ้าหวานสดเพื่อชงชานานๆครั้งอาจไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ก็ไม่ควรใช้หากคุณกำลังตั้งครรภ์ จนกว่าจะมีการวิจยที่แน่ชัดว่าใบหญ้าหวานทั้งใบมีความปลอดภัยสำหรับทุกคน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัวที่รุนแรง เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/287251
  • https://www.webmd.com/food-recipes/what-is-stevi
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด