โรคตึกเป็นพิษ (Sick Building Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคตึกเป็นพิษ

โรคตึกเป็นพิษ

Sick building syndrome (SBS) คือชื่อของภาวะที่คิดว่าเกิดจากการอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ปิดล้อมประเภทอื่น ๆ สาเหตุมาจากมีคุณภาพอากาศภายในอาคารไม่ดี อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จากข้อมูลของ Consumer Product Safety Commission พบว่าคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่ดีสามารถพบได้ในอาคารใหม่และอาคารที่ปรับปรุงใหม่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

บางครั้งการวินิจฉัย SBS เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากโรคนี้มีกลุ่มอาการที่หลากหลาย และสามารถเลียนแบบโรคอื่นๆ ได้  เช่น โรคไข้หวัดธรรมดา ข้อสังเกตที่สำคัญของ SBS คืออาการของคุณจะดีขึ้นหลังจากออกจากอาคารที่มีปัญหา และจะกลับมาเป็นได้อีกเมื่อคุณกลับเข้าไปที่อาคารเดิมเท่านั้น หากคุณสังเกตพบอาการที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ นี้ ปรากฏขึ้นเมื่อใดก็ตามที่คุณอยู่ในอาคารใดอาคารหนึ่ง คุณควรต้องพิจารณาหาสาเหตุที่ทำให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคุณ

อาการของโรคตึกเป็นพิษ

โรค SBS จะแสดงอาการที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และระบบประสาท ซึ่งอาจจะทำให้คุณเข้าใจผิดว่า คุณกำล้งเป็นหวัดหรือเป็นไข้

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

หากคุณเป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว จะสังเกตเห็นว่า อาการของคุณจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคเพิ่มขึ้นขึ้นเนื่องจากโรคตึกเป็นพิษนี้

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ไว้คือ โรคตึกเป็นพิษที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน เช่น ในพื้นที่เดียวกันมีหลายคนที่อาศัยอยู่ บางคนอาจจะมีอาการบางอย่างที่ได้แจ้งไว้ข้างต้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ เลย หรือบางคนอาจมีอาการหลังจากที่ออกจากอาคารเจ้าปัญหานั้นไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการอยู่ในอาคารเดิมซ้ำๆ หรือการอยู่เป็นเวลานานก็ได้

สาเหตุของโรคตึกเป็นพิษ

คำว่า “โรคตึกเป็นพิษ” จะใช้ก็ต่อเมื่อ แพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้กับคุณได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีสาเหตุมากมายที่อาจเป็นไปได้ของการเกิดโรคนี้  ซึ่งคุณสามารถถามแพทย์ถึงสาเหตุเหล่านี้ได้

สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังโรคตึกเป็นพิษ อาจจะมีดังนี้

  • อาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น โรงเรียน สำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ

  • ฝุ่นละอองในระดับสูง

  • ควันบุหรี่

  • ห้องที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

  • จอคอมพิวเตอร์ที่ล้าสมัย ทำให้ปวดตา

  • เชื้อรา

  • ฟอร์มาลดีไฮด์ (ส่วนใหญ่พบในเฟอร์นิเจอร์ไม้และพื้น)

  • ใยหิน

  • สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ลอยอยู่ในอากาศ

  • สารกำจัดศัตรูพืช

  • คาร์บอนมอนนอกไซด์

  • โอโซนจากการใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องส่งโทรสาร (Fax)

  • ความเครียดระดับสูงจากที่ทำงานหรือโรงเรียน

  • ขวัญและกำลังใจในการทำงานต่ำ

  • ความร้อนและความชื้นต่ำ

  • สภาพแวดล้อมที่ทำงานที่มีเสียงดัง

  • แมลงหรือมูลสัตว์

โรคตึกเป็นพิษนี้เกิดเนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ จึงเป็นการยากที่จะปักหมุดได้ว่าเกิดได้จากสาเหตุนั้นสาเหตุนี้เพียงอย่างเดียว คุณอาจต้องร่วมมือกับนายจ้างเพื่อสืบเสาะหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ ซึ่งด้วยวิธีนี้ คุณอาจจะพบต้นตอของปัญหา

การวินิจฉัยโรคตึกเป็นพิษ

การวินิจฉัยโรคตึกเป็นพิษ จะเป็นขบวนการที่ตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องของการก่อโรคออกไป ซึ่งแพทย์อาจจะทำการตัดภาวะเลียนแบบของโรคตึกเป็นพิษออกไป เช่น หวัด หอบหืด หรือโรคภูมิแพ้ โดยอาจสอบถามถึงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานหรือที่บ้านของคุณเพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย

คุณอาจทำการจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้น เช่น เกิดอาการขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเกิดอาการอยู่นานเพียงใด โดยบันทึกเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การรักษาโรคตึกเป็นพิษ

โรคตึกเป็นพิษ โดยทั่วไปจะรักษาด้วยการบรรเทาอาการจากการลดสัมผัสกับต้นตอที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรค

ยารักษาโรคภูมิแพ้สามารถช่วยบรรเทาอาการคันตา คันจมูก และคันผิวหนังได้ มียาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น Benadryl และ Zyrtec หรืออาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคหอบหืดเพื่อช่วยหากในกรณีที่หายใจไม่ออกและหายใจลำบาก และอาจรวมถึงการใช้ยาในระยะยาว เช่น สารปรับแต่ง leukotriene หรือยาพ่นจมูกหากมีอาการเฉียบพลัน

บางอย่างที่อาจจะรักษาโรคตึกเป็นพิษได้ คุณหรือนายจ้างอาจต้องทำตามขึ้นตอน ดังนี้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีควันน้อยและไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม
  • ดูดฝุ่นเพื่อกำจัดฝุ่นเป็นประจำ
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก 2-3 เดือน (หรือมากกว่านั้นถ้าจำเป็น)
  • ปรับความชื้นที่เหมาะสม – NHS Choices แนะนำระดับความชื้นที่เหมาะสมคือ 40- 70 เปอร์เซ็นต์
  • ตรวจหาเชื้อราในอาคาร
  • เลือกใช้จอคอมพิวเตอร์และระบบแสดงผลรุ่นใหม่ๆ
  • เปลี่ยนหลอดไฟ หากมีความจำเป็น
  • พิจารณาหันมาใช้หลอดไฟ LED หรือหลอดไฟสีน้ำเงินเพื่อให้ได้พลังงานน้อยลง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือโรคตึกเป็นพิษ เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมักมีหลายปัจจัย ปัจจัยทั่วไปที่มีส่วนทำให้เกิดโรคตึกเป็นพิษ อาจรวมถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่ดี การระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ สารปนเปื้อนทางเคมี (เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย) สารปนเปื้อนทางชีวภาพ (เช่น เชื้อราและแบคทีเรีย) และปัจจัยทางจิตสังคม (เช่น ความเครียดและความไม่พอใจในงาน) เพื่อจัดการกับโรคตึกเป็นพิษ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การระบุและบรรเทาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่ทำให้เกิดอาการเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการระบายอากาศ การแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร การตรวจสอบอาคาร และการประเมินทางการแพทย์และการสนับสนุนบุคคลที่ได้รับผลกระทบ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อาคาร นายจ้าง และฝ่ายบริหารอาคารมักมีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ SBS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Sick Building Syndrome

บทสรุปของโรคตึกเป็นพิษ

อาการของโรคตึกเป็นพิษส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อคุณออกจากตัวอาคารที่มีปัญหา อาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะดีขึ้นเมื่อไม่ได้อยู่หรือสัมผัสกับต้นตอของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หรือเมื่อสิ่งที่เป็นอันตรายภายในอาคารถูกกำจัดออกไป ในบางกรณีการอยู่ในที่คุณภาพอากาศภายในอาคารไม่ดีเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดได้ เช่นโรคหอบหืด เป็นต้น

โรคตึกเป็นพิษป้องกันได้หรือไม่

น่าเสียดายที่คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าภายในพื้นที่ที่คุณอยู่มีปัจจัยอะไรที่ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลงจนทำให้คุณป่วยได้หรือไม่ ไม่เป็นไร ยังมีมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตึกเป็นพิษได้

คุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตึกเป็นพิษ ด้วยวิธีการดังนี้

  • ออกมาพักเบรคภายนอกอาคารเป็นประจำ เช่น การรับประทานอาหารนอกอาคาร เป็นต้น

  • เปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ (ควรทำเมื่ออาการภายนอกไม่มีฝุ่นละอองในระดับที่สูง)

  • หยุดพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ

  • เปลี่ยนอิริยาบทโดยการยืนขึ้นข้างๆ โต๊ะทำงาน หรือเดินรอบๆ บริเวณสำนักงาน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีในที่ทำงาน เช่น สารฟอกขาว และสารฆ่าแมลง


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2796751/

  • https://www.nhs.uk/conditions/sick-building-syndrome/

  • https://www.webmd.com/men/features/sick-building-syndrome


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด