ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาโพรพราโนลอล

ยา Propranolol คืออะไร

ยาโพรพราโนลอล Propranolol คือ ยาชนิดหนึ่งในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเบตา (Beta Blockers) สามารถใช้รักษาอาการของโรคได้หลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง หัวใจห้องบนเต้นถี่ อาการมือไม้สั่น ยาลดความตื่นเต้น แต่ยาอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างหัวใจเต้นช้า อ่อนเพลีย เวียนหัว ได้ แต่ยังไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา แม้จะใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมัน ทำให้เซลล์ใช้กลูโคสลดลง ทำให้ผู้ใช้ยารู้สึกไม่กระตือรือร้น และไม่ค่อยอยากเคลื่อนไหวร่างกาย จึงมักส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

ข้อบ่งชี้การใช้ยาโพรพราโนลอล

ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บรรเทาอาการทางกายเช่น อาการสั่นจากอาการหวาดวิตกกังวล และใช้ป้องกันอาการเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจวายและอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือปวดไมเกรน นอกจากนี้ยังใช้บรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไทรอย์มากผิดปกติ เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่นไม่หยุด
  • ขนาดปกติสำหรับรักษาความดันโลหิตสูงคือ ขนาด 40 มิลลิกรัม วันละ 2 คร้ัง แพทย์อาจพิจารณาใช้ Propranolol รักษาอาการเพียงตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม Diuretics และแพทย์อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาจนกว่าจะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้
  • ขนาดยาสำหรับรักษาระดับความดันโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ยา Propranolol 20-80 มิลลิกรัม วันละ 2-4 คร้ัง
กลไกการออกฤทธิ์ของยาจะยับยั้งการทำงานของสารเคมีบางชนิดในร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อหัวใจ และหลอดเลือด จึงสามารถลดจังหวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความเครียดของหัวใจได้

การใช้ยา Propranolol

ก่อนใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติการallergy-0094/”>แพ้ยา โรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยาชนิดอื่น ๆ อยู่ ผู้ป่วยควรศึกษารายละเอียดบนฉลากให้ดีก่อนรับประทาน และใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรหยุด เปลี่ยน หรือปรับขนาดยาเอง ยา Propranolol สามารถรับประทานพร้อมอาหาร หรือไม่ก็ได้ แต่ควรกินให้เป็นเวลาเดียวกัน ห้ามบด หัก เคี้ยว หรือแกะยาออกจากแคปซูล ควรกลืนลงไปทั้งแคปซูล กรณีต้องให้ยากับทารก ควรให้ยาระหว่างเด็กที่กำลังกินนม หรือหลังกินนมไปได้ไม่นาน การให้ยาควรเว้นระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง และหลังกินยาทารกสามารถรับประทานอาหาร หรือนมได้ตามปกติหรือไม่ และหากทารกเกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะปริมาณจะสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของเด็ก หรือหากเด็กเกิดอาเจียน หรือไม่อยากอาหาร ให้รีบแจ้งแพทย์ทราบทันที การรับประทาน Propranolol ยา ชนิดน้ำควรวัดปริมาณด้วยหลอดดูดยาเฉพาะ หรือช้อนสำหรับวัดปริมาณยา หรือถ้วยยาเท่านั้น ผู้ป่วยควรตรวจความวัดดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และหากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ควรบอกกับศัลยแพทย์ว่ากำลังใช้ Propanolol อยู่ และอาจต้องหยุดยาสักระยะหนึ่ง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ทุกครั้ง เพราะยาอาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดปกติได้ ผู้ป่วยที่ใช้ ยา Propranolol รักษาอาการความดันโลหิตสูง ควรใช้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีอาการที่ดีขึ้นก็ตาม  เพราะโรคความดันโลหิตสูงอาจแค่ไม่แสดงอาการ การใช้ Propranolol Dose เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษา ผู้ป่วยควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไปพร้อม ๆ กับการใช้ยา และพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด การรับประทานยาควรทานให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ และหากลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด ให้รีบรับประทานทันทีที่รู้ตัว แต่หากใกล้ถึงกำหนดการรับประทานมื้อต่อไปน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไปเลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า และหากมีอาการที่ผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์ ให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากความร้อน ความชื้น และแสงแดด และห้ามนำยาไปแช่เย็นหรือแช่แข็ง

Propranolol

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาโพรพราโนลอล

  • มีปัญหาหัวใจเต้นช้ามาก หรือมีการปิดกันการน้ำไฟฟ้าในหัวใจรุนแรง
  • มีปัญหาหัวใจด้านซ้ายล้มเหลวรุนแรง
  • โรคหัวใจขาดเลือดชนิด Prinzmetal’s angina
  • โรคหอบหืดระดับรุนแรง
  • โรคประสาทซึมเศร้ารุนแรง
  • โรคเส้นเลือดส่วนปลายตีบที่เป็นอาการรุนแรงจนเนื้อเยื่อตาย
  • ไม่ควรใช้ในหญิงครรภ์ เพราะยาจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารก

ผลข้างเคียงยาโพรพราโนลอล

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ นอนไม่หลับคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรืออ่อนเพลีย กรณีแพ้ยาจะมีอาการเกิดลมพิษ หายใจติดขัด บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอ ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการต่อไปนี้:
  • จังหวะหัวใจเต้นช้า หรือไม่สม่ำเสมอ
  • รู้สึกวิงเวียน คล้ายจะหมดสติ
  • เกิดปัญหาในการหายใจ หรือเวลาหายใจมีเสียงหวีด
  • หายใจได้ไม่ลึก
  • ตัวบวม น้ำหนักเพิ่ม
  • อ่อนเพลียอย่างกะทันหัน เกิดปัญหาในการมองเห็น หรือเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • มือและเท้าเย็น
  • ภาวะซึมเศร้า สับสน เห็นภาพหลอน
  • เกิดปัญหากับตับ อาการคือคลื่นไส้ ปวดท้องช่วงบน อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระสีซีด ดีซ่าน
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หิวบ่อย อ่อนเพลีย เหงื่อออก สับสน หงุดหงิด วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นถี่ รู้สึกกระวนกระวาย
  • กรณีน้ำตาลในเลือดต่ำในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดอาการผิวซีด หรือคล้ำเป็นสีม่วงหรือฟ้า มีเหงื่อออก ร้องไห้งอแง ไม่อยากอาหาร หนาวสั่น ง่วงซึม อ่อนเพลีย หายใจได้ไม่ลึก ชัก หมดสติ
  • เกิดปฏิกริยารุนแรงที่ผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการไข้ขึ้น เจ็บคอ บวมบริเวณใบหน้า หรือลิ้น แสบตา เจ็บผิวหนัง และมีผื่นสีแดงหรือม่วงกระจายไปตามผิวหนัง และทำให้เกิดแผลพุพอง

ยาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายยาโพรพราโนลอล

Propranolol เป็นยา beta-blocker ที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจบางอย่าง นอกจากนี้ยังกำหนดไว้สำหรับการจัดการความวิตกกังวล อาการสั่น และอาการปวดหัวไมเกรน หากมีคนไม่สามารถทนต่อโพรพราโนลอลได้หรือมีข้อห้ามเนื่องจากสภาวะสุขภาพหรือผลข้างเคียง บุคลากรทางการแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาทางเลือกตามความต้องการของแต่ละบุคคล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล เนื่องจากการเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์เฉพาะที่กำลังรับการรักษา ต่อไปนี้คือตัวปิดกั้นเบต้าและยาทางเลือกที่อาจพิจารณาได้:

ตัวบล็อคเบต้า:

  • เมโทโพรลอล (Lopressor, Toprol-XL):
    • เช่นเดียวกับโพรพาโนลอล เมโทโพรลอลเป็นยาเบต้าบล็อคเกอร์ที่ใช้สำหรับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ
  • อะทีโนลอล (เทนอร์มิน):
    • Atenolol เป็นอีกหนึ่ง beta-blocker ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจบางอย่าง
  • นาโดล (คอร์การ์ด):
    • Nadolol เป็นตัวบล็อกเบต้าแบบไม่เลือกสรรที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ยาลดความดันโลหิตอื่นๆ:

  • ตัวบล็อกช่องแคลเซียม:
    • ยา เช่น แอมโลดิพีน ดิลเทียเซม และเวราปามิล เป็นตัวป้องกันช่องแคลเซียมที่สามารถใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
  • สารยับยั้ง ACE (สารยับยั้งเอนไซม์ที่แปลงแอนจิโอเทนซิน):
    • Enalapril, lisinopril และ ramipril เป็นตัวอย่างของสารยับยั้ง ACE ที่ใช้สำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ARB (ตัวบล็อกตัวรับ Angiotensin II):
    • Losartan, valsartan และ candesartan เป็นตัวอย่างของ ARB ซึ่งใช้สำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลวเช่นกัน

ยาต้านความวิตกกังวล:

  • เบนโซไดอะซีพีน:
    • สำหรับการจัดการความวิตกกังวล อาจพิจารณาใช้ยา เช่น ลอราซีแพม ไดอะซีแพม หรือโคลนาซีแพม อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาเบต้าบล็อคเกอร์
  • สารยับยั้งการรับเซโรโทนินแบบเลือกสรร (SSRIs):
    • SSRIs เช่น sertraline, fluoxetine หรือ escitalopram มักถูกกำหนดไว้สำหรับโรควิตกกังวลเรื้อรัง

ยาไมเกรน:

  • โทพิราเมต (โทปาแม็กซ์):
    • Topiramate เป็นยากันชักที่บางครั้งใช้เพื่อป้องกันไมเกรน
  • อะมิทริปไทลีน:
    • Amitriptyline ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้า tricyclic บางครั้งมีการกำหนดไว้เพื่อป้องกันไมเกรน
  • เวราปามิล:
    • Verapamil นอกจากจะเป็นตัวป้องกันช่องแคลเซียมแล้ว ยังอาจใช้เพื่อป้องกันไมเกรนได้อีกด้วย
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การตอบสนองต่อยาของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป และทางเลือกของยาทางเลือกควรได้รับการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ โดยพิจารณาจากการประเมินประวัติการรักษาของผู้ป่วย สถานะสุขภาพในปัจจุบัน และอาการเฉพาะที่กำลังรับการรักษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่าสั่งยาด้วยตนเองหรือเปลี่ยนยาโดยไม่ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เนื่องจากพวกเขาสามารถให้คำแนะนำที่แม่นยำและเป็นส่วนตัวที่สุดได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/propranolol-oral-tablet
  • https://www.nhs.uk/medicines/propranolol/
  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682607.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด