ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาแก้ปวด
ยาแก้ปวด (Pain Reliever Drug) คือ กลุ่มยาที่ใช้เพื่อลดอาการเจ็บปวด มีทั้งชนิดที่หาซื้อมาใช้ได้เอง หรือชนิดที่ต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ สามารถแบ่งตามลักษณะกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้ 3 ชนิด คือ ยากลุ่ม Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs ลักษณะออกฤทธิ์คือการยับยั้งสารเคมีในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือบวม ยากลุ่มโอปิออยด์ หรือ Opioid คือยาที่มีฤทธิ์ลดสัญญาณความเจ็บปวดที่ส่งมาจากระบบประสาท และทำปฏิกิริยาในสมองทำให้รู้สึกเจ็บปวด ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ออกฤทธิ์เปลี่ยนแปลงการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย

ยาแก้ปวดมีอะไรบ้าง

ยาแก้ปวดอาจจัดกลุ่มตามฤทธิ์ที่มีต่อระบบประสาทต่าง ๆ ได้ดังนี้ ยาที่ออกฤทธิ์บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ยากลุ่มโอปิออยด์ ตัวอย่างเช่นยามอร์ฟีน ยาออกซิโคโดน เป็นต้น ยาที่ออกฤทธิ์บริเวณระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ ยากลุ่ม NSAIDs และยา Cox-2 Inhibitor ตัวอย่างเช่น ยาเซเลคอกซิบ เป็นต้น และยังมีกลุ่มยาแก้ปวดที่แยกตามลักษณะการเสพติด ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ยาแก้ปวดชนิดเสพติดได้ และยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด ยาแก้ปวดชนิดเสพติด มักมีมีฤทธิ์ระงับที่มีอาการรุนแรง แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ มักใช้กับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และจำเป็นต้องได้รับการระงับอาการปวดแบบเฉียบพลันและรุนแรง เช่น ปวดเกร็งในช่องท้อง อวัยวะภายใน ปวดกระดูก มีทั้งแบบฉีดเพื่อให้เห็นผลอย่างรวดเร็ว และแบบรับประทานเมื่อต้องใช้รักษาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น มอร์ฟีน เมธาโดน โคดีอีน เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยที่ได้รับยาจะรู้สึกผ่อนคลาย ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน อาจท้องผูก และหายใจช้าลง การใช้ยาประเภทนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หากใช้ยาต่อเนื่องระยะยาวอาจเกิดอาการติดยาได้ แพทย์จึงมักใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่รู้สึกปวดอย่างรุนแรง และทรมานจากอาการปวกมาก ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด เป็นกลุ่มยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดค่อนข้างต่ำ ใช้บรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรงมากนัก และตัวยายังช่วยลดไข้ มักใช้แก้อาการปวดที่เกิดพร้อม ๆ กับการมีไข้ เช่น อาการปวดศีรษะเนื่องจากไข้หวัด ตัวอย่างเช่นยาพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดลดไข้ ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ตัวอย่างเช่น แอสไพริน ไอบูเฟน เป็นต้น ยาประเภทนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการติดยา และไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อตามร้านขายยาทั่วไป

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดถือเป็นยาสามัญที่ใคร ๆ ก็รู้จัก และสามารถซื้อมาใช้เองได้ หาซื้อได้ง่าย ดังนั้นจึงควรศึกษาการใช้ให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน การใช้ยาติดต่อกันเป็นประจำอาจก้อให้เกิดผลเสียได้ ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs ที่ใช้บรรเทาอาการปวดอักเสบเรื้อรัง การใช้ยาระงับปวดไปเรื่อย ๆ โดยไม่ปรับพฤติกรรม หรือดำเนินการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังไม่หายขาดสักทีได้ ดังนั้นเมื่อกินยาแก้ปวดแล้วหายจากอาการปวดได้ ผู้ป่วยหลายคนจึงเลือกที่จะซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะหากผู้ป่วยไม่เข้าใจถึงผลข้างเคียงของยาที่กินก็อาจขาดความระมัดระวังในการกินยา ทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวได้  ตามปกติหากใช้ยาแก้ปวดไปนาน ๆ แพทย์มักพิจารณาหยุดยาเมื่อผู้ป่วยกินยาไปได้สักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยได้พัก และขับสารพิษที่สะสมในร่างกายออกไปก่อน พร้อมตรวจสอบอวัยวะต่าง ๆ ว่ายังทำงานได้เป็นปกติอยู่หรือไม่ หากมีความผิดปกติใด ๆ จะได้เร่งทำการรักษาให้กลับมาเป็นปกติPain Reliever Drug

คำเตือนในการใช้ยาระงับปวด

ยาแก้ปวดแต่ละประเภทจำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ยา โดยมีส่วนประกอบของยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบถึงอาการป่วย ประวัติทางการแพทย์ และประวัติการแพ้ยาก่อนรับยามารักษาอาการ และควรศึกษาวิธีการใช้ยา และคำเตือนต่าง ๆ บนฉลากให้ดี เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาผิดวิธี รายละเอียดที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ได้แก่
  • ประวัติallergy-0094/”>การแพ้ยา รวมถึงอาหาร หรือสารชนิดต่าง ๆ
  • รายการยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อมาใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาชนิดนี้ และก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
  • โรคประจำตัวหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เพราะการใช้ยานี้อาจส่งผลกระทบต่ออาการป่วยบางชนิดได้
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่า 3 แก้ว/วัน
  • กำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาระงับปวดบางชนิด เช่น ยาพาราเซตามอล มักส่งผลต่อทารกในครรภ์ หรือน้ำนมมารดา และก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกได้
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเกี่ยวกับภาวะความเสี่ยงเหล่านี้ เด็ก ๆ ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอาการไรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะของโรคร้ายแรง ยาพาราเซตามอลห้ามใช้เกินกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะการใช้ยาปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดอันตรายต่อตับ การใช้ยาโอปิออยด์ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ และทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูง เพราะยาอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ และเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการติดยาได้ ผู้ป่วยที่สงสัยว่าตนเองเสพติดยานี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยาแก้ปวด  เพราะจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่รุนแรงได้มากกว่าปกติ อ่านฉลาก และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาในปริมาณที่มากกว่าคำแนะนำ หากสงสัยว่ากำลังใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

ข้อควรรู้ในการใช้ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดประเภทยาชุดแก้ปวดที่บรรจุรวมยาในซองเดียวกัน และต้องรับประทานเป็นชุด มักเป็นชุดยาที่ประกอบด้วยยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายความกังวล และสเตียรอยด์ซึ่งเป็นอันตรายมาก ยิ่งในกรณีที่ใช้ติดต่อกันนานกว่า 7 วัน เพราะยานี้จะไปกดการทำงานของไต ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ไตทำงานได้น้อยลง บวมน้ำ ความดันโลหิตสูงขึ้น ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ติดเชื้อได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทนี้

วิธีเลือกใช้ยาแก้ปวด

การเลือกยาบรรเทาอาการปวดเกี่ยวข้องกับการพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงประเภทและความรุนแรงของอาการปวด สุขภาพโดยรวมของคุณ และสภาวะทางการแพทย์ที่มีอยู่ ต่อไปนี้เป็นแนวทางบางส่วนที่จะช่วยคุณเลือกยาบรรเทาอาการปวดที่เหมาะสม:

1. ระบุประเภทของความเจ็บปวด:

  • ยาบรรเทาอาการปวดต่างๆ อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับอาการปวดบางประเภท ตัวอย่างเช่น:
    • อะเซตามิโนเฟน:โดยทั่วไปมีประสิทธิผลสำหรับอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางและลดไข้
    • NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์):มีประสิทธิผลสำหรับอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบหรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
    • มอร์ฟีน:กำหนดไว้สำหรับอาการปวดอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บ

2. พิจารณาความรุนแรงของความเจ็บปวด:

  • อาการเจ็บปวดเล็กน้อยสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น อะเซตามิโนเฟนหรือ NSAID อาการปวดปานกลางถึงรุนแรงอาจต้องใช้ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ซึ่งอาจรวมถึงฝิ่นด้วย

3. รู้สภาวะสุขภาพของคุณ:

  • พิจารณาภาวะสุขภาพใดๆ ที่คุณอาจมี เช่น ปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต ยาบรรเทาอาการปวดบางชนิด เช่น อะเซตามิโนเฟนหรือ NSAIDs อาจส่งผลต่ออวัยวะเหล่านี้ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากคุณมีข้อกังวล

4. ตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างยา:

  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ให้ตรวจสอบปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น ยาแก้ปวดบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาสำหรับภาวะสุขภาพอื่นๆ แจ้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณทานอยู่เสมอ

5. อาการแพ้และความไว:

  • ระวังอาการแพ้หรืออาการไวต่อยาบางชนิด หากคุณแพ้แอสไพริน ยากลุ่ม NSAIDs อาจไม่เหมาะกับคุณ

6. พิจารณาอายุและน้ำหนักของคุณ:

  • ปริมาณยาบรรเทาอาการปวดอาจแตกต่างกันไปตามอายุและน้ำหนัก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปฏิบัติตามแนวทางการให้ยาที่เหมาะสมกับอายุและน้ำหนักที่เหมาะสม

7. การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนรับประทานยาแก้ปวด ยาบางชนิดอาจไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร

8. ทำความเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์:

  • ยาแก้ปวดแต่ละชนิดออกฤทธิ์ผ่านกลไกที่ต่างกัน Acetaminophen ช่วยลดอาการปวดและไข้ แต่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบน้อยที่สุด NSAIDs ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ สารฝิ่นออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางเพื่อปรับความเจ็บปวด

9. ระยะเวลาในการบรรเทาอาการปวด:

  • พิจารณาระยะเวลาในการบรรเทาอาการปวดที่จำเป็น ยาบางชนิดช่วยบรรเทาอาการได้ในระยะสั้น ในขณะที่ยาบางชนิดก็เหมาะกับการใช้ในระยะยาว

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.verywellmind.com/ten-most-addictive-pain-killers-22506
  • https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/which-painkiller-to-use/
  • https://medlineplus.gov/painrelievers.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด