มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) : สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งกล่องเสียงคืออะไร

โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) เป็นมะเร็งในลำคอชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกล่องเสียงของคุณ larynx คือกล่องเสียง ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อที่ทำให้คุณสามารถพูดได้ โรคมะเร็งชนิดนี้สามารถทำอันตรายกับเสียงได้ หากปล่อยให้เกิดมะเร็งแล้วไม่รีบรักษา เชื้อมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย ข้อมูลจากสถาบันโรคมะเร็งนานาชาติระบุว่าพบโรคมะเร็งคอคิดเป็น 4% ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราของผู้ป่วยที่รอดชีวิตขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดมะเร็งโดยเฉพาะและระยะของโรคที่วินิจฉัยพบ จากข้อมูลของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา พบว่า 90% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งอยู่ในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับช่องเปิดเส้นเสียง โดยมีอัตรารอดชีวิตอยู่ประมาณ 5 ปีหรือมากกว่า ช่องเส้นเสียงเป็นส่วนหนึ่งของกล่องเสียงที่ประกอบไปด้วยสายเสียง  ในทางกลับกัน 59% ของผู้ที่เป็นมะเร็งระยะที่ 1 ที่มีเชื้อมะเร็งบริเวณโรคงสร้างเหนือช่องเปิดเส้นเสียงที่เรียกว่า supraglottis มีอัตรารอดชีวิตอยู่ที่ 5 ปีหรือมากกว่า โครงสร้างที่อยู่เหนือช่องเปิดสายเส้น (supraglottis) ประกอบไปด้วยลิ้นปิดกล่องเสียงที่ทำหน้าที่เป็นฝาปิดกล่องเสียงเมื่อคุณกลืนอาหารเพื่อทำให้อาหารไม่เข้าไปในปอด Laryngeal Cancer

อาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีอะไรบ้าง

 โรคมะเร็งชนิดนี้แตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยอาการของโรคมะเร็งชนิดนี้สามารถตรวจพบได้ค่อนง่ายกว่า ซึ่งอาการดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณของโรคมะเร็งกล่องเสียงที่พบได้มากที่สุดได้แก่ อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับโรคมะเร็งเสมอไป อย่างไรก็ตามคุณควรไปพบแพทย์ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมากกว่า 1 สัปดาห์ ปัจจัยหลักที่ทำให้สามารถรักษาโรคมะเร็งได้สำเร็จคือการวินิฉัยพบโรคระยะแรก

สาเหตุของโรคมะเร็งกล่องเสียงคืออะไร

โดยปกติโรคมะเร็งในลำคอเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ที่มีสุขภาพดีถูกทำลายและเซลล์เกิดการแบ่งตัวมากเกินไป ซึ่งเซลล์เหล่านี้กลายไปเป็นเนื้องอกมะเร็งในที่สุด โดยโรคมะเร็งกล่องเสียงเริ่มต้นเกิดจากเนื้องอกภายในกล่องเสียง  การกลายพันธุ์ของเซลล์ในกล่องเสียงมักมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
  • ดื่มแอลกอฮอลอย่างหนัก
  • ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
  • สัมผัสกับเชื้อไวรัส HPV
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • ทำงานในสถานที่ที่เกิดการสัมผัสกับสารพิษ เช่น แร่ใยหิน
  • โรคทางพันธุกรรมบางชนิดเช่น ภาวะโลหิตจากแฟนโคนิ

ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงคืออะไร

การรักษาขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง แพทย์จะทำการรักษาด้วยการฉายเเสงหรือผ่าตัดในกรณีที่วินิจฉัยพบโรคมะเร็งในระยะเเรก ซึ่งการผ่าตัดเป็นวิธีทั่วไปเพื่อกำจัดเนื้องอก ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่อันตราย ซึ่งมีอาการหลายอย่างที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อเชื้อมะเร็งเกิดการแพร่กระจาย โดยคุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก
  • ลำคอมีรูปร่างเปลี่ยนแปลง
  • สูญเสียเสียงหรือเสียงเปลี่ยน
  • เกิดแผลเป็นที่คอ
เมื่อการฉายเเสงบำบัดเป็นวิธีรักษาที่เป็นการพยายามฆ่าเซลล์มะเร็งแต่ยังคงมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ แพทย์อาจสั่งให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายเเสงอีกครั้งเพื่อรักษาเซลล์มะเร็งขนาดเล็กที่ยังเหลืออยู่เพียงอย่างเดียว การทำเคมีบำบัดเป็นการรักษาโรคมะเร็งอีกประเภทหนึ่งที่สามารถ
  • ทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากการผ่าตัดหรือการฉายเเสง
  • เป็นการรักษาขึ้นสูงร่วมกับการฉายเเสง เมื่อการผ่าตัดไม่เหมาะสมกับการรักษาโรคมะเร็ง
  • เป็นการรักษามะเร็งขั้นสูงเมื่อไม่สามารถกำจัดเชื้อมะเร็งออกไปได้ทั้งหมด
แพทย์อาจเเนะนำวิธีการรักษาอื่นๆนอกเหนือจากการผ่าตัด โดยปกติมักนำมาใช้เมื่อก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้หรือนำมาใช้เมื่อสายเกินไปที่จะนำการผ่าตัดมาใช้รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เป้าหมายคือการรักษาคุณภาพการใช้ชีวิตของคุณไว้ให้ได้มากที่สุด ในกรณีที่เกิดโรคมะเร็งในระยะรุนเเรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสงบำบัดและการทำเคมีบำบัดร่วมกัน

การระบุความเสียหายของกล่องเสียง

คุณอาจสูญเสียกล่องเสียงบางส่วนไปในระหว่างการผ่าตัด อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถพูดได้อีกต่อไป การรักษาด้วยวิธีคำพูดบำบัดสามารถช่วยทำให้คุณเรียนรู้วิธีสื่อสารวิธีใหม่ในการสื่อสารได้  ถ้าหากแพทย์ทำการนำกล่องเสียงของคุณออกทั้งหมด การผ่าตัดด้วยวิธีอื่นสามารถช่วยฟื้นฟูเสียงของคุณได้ แต่เสียงของคุณจะไม่ได้กลับมาเป็นเหมือนเดิม อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่สามารถกลับมาพูดได้เหมือนปกติอีกครั้งด้วยการใช้วิธีรักษาหลายประเภท การพูดโดยใช้ลมจากกระเพาะอาหารช่วยเป็นวิธีการบำบัดจากครูผู้สอน โดยผู้ฝึกสอนจะให้คุณฝึกกลืนลมและส่งลมออกมาจากด้านหลังปากของคุณ การพูดโดยอาศัยลมจากหลอดคอและหลอดอาหารเชื่อมต่อถึงกันเป็นการใช้ลมจากปอดเพื่อเปล่งเสียงออกทางปาก โดยแพทย์จะทำการเชื่อมหลอดลมและหลอดอาหารเข้าด้วยกัน โดยบางครั้งอาจเรียกว่าช่องเปิดขนาดเล็ก จากนั้นแพทย์จะทำการปิดช่องดังกล่าวด้วยลิ้นกั้นที่อยู่ด้านหน้าคอ ซึ่งการใช้ลิ้นปิดหลอดลมและหลอดอาหารที่เชื่อมกันนี้สามารถช่วยทำให้คุณพูดได้  การใช้อุปกรณช่วยพูดเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสียงแทนกล่องเสียง

การรักษาทางเลือก

ในช่วงระหว่างที่ทำการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง มีวิธีการบำบัดเสียงด้วยวิธีอื่นๆที่สามารถช่วยได้เช่น
  • การใช้ยา
  • การทำโยคะ
  • การฝั่งเข็ม
  • การนวดบำบัด

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อเป็นมะเร็งกล่องเสียง

หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นมะเร็งกล่องเสียงหรือได้รับการวินิจฉัยแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาเฉพาะบุคคล ที่กล่าวว่านี่คือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำโดยทั่วไป:

สิ่งที่ต้องทำ:

  • ไปพบแพทย์ : หากคุณมีอาการต่อเนื่อง เช่น เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือเจ็บคอต่อเนื่อง ให้ไปพบแพทย์ทันที การตรวจพบและการรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถปรับปรุงผลลัพธ์ได้อย่างมาก
  • ทำตามแผนการรักษา : หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ให้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมแพทย์ของคุณเพื่อพัฒนาและปฏิบัติตามแผนการรักษา ซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด หรือการรักษาเหล่านี้ร่วมกัน
  • เลิกสูบบุหรี่และจำกัดแอลกอฮอล์ : การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งกล่องเสียง หากคุณสูบบุหรี่ ให้ขอความช่วยเหลือเพื่อเลิกบุหรี่ และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ : อาหารที่สมดุลซึ่งอุดมด้วยผลไม้ ผัก และเมล็ดธัญพืชสามารถช่วยสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของคุณในระหว่างการรักษาและพักฟื้น
  • ดื่มน้ำมาก ๆ : ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัญหาในการกลืน
  • เข้าร่วมการนัดหมายติดตามผล : เข้าร่วมการนัดหมายติดตามผลกับทีมแพทย์ของคุณเป็นประจำเพื่อติดตามความคืบหน้าและจัดการผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • สื่อสารกับทีมดูแลสุขภาพของคุณ : แจ้งข้อกังวลหรือผลข้างเคียงใด ๆ ที่คุณอาจพบในระหว่างการรักษาอย่างเปิดเผย ทีมแพทย์ของคุณสามารถให้การสนับสนุนและปรับเปลี่ยนแผนการรักษาที่จำเป็นได้

ไม่ควรทำ:

  • เพิกเฉยต่ออาการ : อย่าเพิกเฉยต่ออาการต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับลำคอหรือเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการนานกว่าสองสัปดาห์
  • ความล่าช้าในการขอคำแนะนำจากแพทย์ : การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่าเลื่อนการไปพบแพทย์หากคุณสงสัยว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง
  • สูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ : หากคุณเป็นผู้สูบบุหรี่ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงและทำให้การรักษาซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป : การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักสามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกล่องเสียงได้ ดังนั้นควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ของคุณ
  • ไม่สนใจคำแนะนำทางการแพทย์ : ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำแนะนำของทีมแพทย์ของคุณเสมอ การหยุดหรือเปลี่ยนแปลงการรักษาโดยไม่ปรึกษาอาจเป็นอันตรายได้
  • ละเลยการสนับสนุนทางอารมณ์ : การรับมือกับมะเร็งอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัว กลุ่มสนับสนุน หรือที่ปรึกษามืออาชีพ
โปรดจำไว้ว่า สถานการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และข้อมูลที่ให้ไว้ในที่นี้ไม่ควรแทนที่คำแนะนำทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณสมบัติเสมอเพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะกับความต้องการและเงื่อนไขเฉพาะของคุณ

บทสรุป

ปัจจัยหลักของการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงให้สำเร็จคือการเริ่มต้นรักษาโรคในระยะเเรกให้เร็งที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ซึ่งผู้ป่วยอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเชื้อมะเร็งยังไม่เกิดการแบ่งตัวหรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/laryngeal-cancer/
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16611-laryngeal-cancer
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526076/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด