ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ชุดยาที่ใช้สำหรับรักษา บรรเทาอาการ หรือป้องกันอาการบาดเจ็บและเจ็บป่วยเบื้องต้น และไม่รุนแรงมากนัก  เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ไอ จาม น้ำมูกไหล เมารถ เมาเรือ  ท้องเฟ้อ เป็นต้น จำเป็นต้องมีติดบ้านเอาไว้ เพื่อนำมาใช้รักษาตัวเองหรือคนใกล้ชิดได้ แต่ละบ้านควรมีชุดยาสามัญประจำบ้านไว้อย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง และสะดวกต่อการหยิบใช้ โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดรายชื่อยาสามัญประจำบ้านเอาไว้ 15 รายการ การหาซื้อกล่องยาสามัญประจำบ้านสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์  ที่ฉลากยาสามัญประจำบ้านจะมีข้อความระบุว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” เอาไว้ในกรอบสีเขียว โดยขนาดตัวอักษรของข้อความนี้จะต้องสามารถอ่านได้ชัดเจน และที่ฉลากต้องระบุข้อความว่า “ยาสิ้นอายุ” เมื่อใด โดยระบุเป็นวัน เดือน ปี พ.ศ. ที่ยานั้นจะหมดอายุ ดังนั้นผู้ใช้ยาต้องหมั่นตรวจสอบยาประจำบ้านอย่างสม่ำเสมอ หากพบยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ให้รีบเปลี่ยนยาใหม่เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ยาสามัญประจําบ้าน มีอะไรบ้าง

ยาสามัญประจําบ้านพร้อมสรรพคุณ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนั้นมีดังนี้ :
  1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ เป็นชุดยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และลดไข้ ซึ่งโดยมากจะประกอบด้วย
  • ยาสำหรับบรรเทาอาการปวดและลดไข้ อย่างยาแอสไพริน หรือยาพาราเซตามอล
  • พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างพลาสเตอร์แก้ปวดฟัน
  1. กลุ่มยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก เป็นชุดยาสามัญที่ช่วยบรรเทาอาการจากหวัด จาม น้ำมูกไหล อาการคัน ลมพิษ หรือภูมิแพ้ ประกอบไปด้วย
  • ยาเม็ดแก้แพ้ และลดน้ำมูก อย่างยาคลอร์เฟนิรามีน
  1. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดเสมหะในระบบทางเดินหายใจ ประกอบไปด้วย
  • ยาน้ำแก้ไอ ยาขับเสมหะสำหรับเด็ก
  • ยาแก้ไอน้ำดำ
  1. กลุ่มยาดม แก้วิงเวียน เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด รู้สึกจะเป็นลม แก้อาการหายใจไม่ออก คัดจมูก หรือทาบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการรับพิษของพืช หรือแมลงสัตว์กัดต่อย โดยใช้สำลีชุบและดมหรือทาหน้ามืด คัดจมูก ประกอบไปด้วย
  • ยาดมแก้อาการหน้ามืด เป็นลม อย่างแอมโมเนียหอม
  • ยาดมสำหรับแก้อาการวิงเวียนศรีษะ หรือคัดจมูก
  • ยาทาที่มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง หรือน้ำมัน
  1. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อยากอาเจียน หรืออาการป่วยต่าง ๆ ที่เกิดในระหว่างเดินทางประกอบไปด้วย
  • ยาแก้เมารถ ยาแก้เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท
  1. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และเจ็บปวดในลำคอและช่องปาก ประกอบไปด้วย
  • ยากวาดคอ
  • ยาแก้อาการลิ้นเป็นฝ้า อย่างยาเยนเชี่ยนไวโอเลต
  • ยาแก้ปวดฟัน
  • ยาดมที่ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ
  1. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย รวมทั้งภาวะกรดไหลย้อนประกอบไปด้วย
  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อย่างยาธาตุน้ำแดง หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อย่างโซดามิ้นท์
  • ยาขับลม
  • ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อย่างทิงเจอร์มหาหิงค์
  • ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา – แมกนิเซียม
  1. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย ไม่ใช่ชุดยาเพื่อหยุดการระบาย แต่เป็นชุดยาที่ใช้ทดแทนการสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสียหรืออาเจียน และป้องกันภาวะขาดน้ำ ประกอบไปด้วย

Home Medicine

  1. กลุ่มยาระบาย เป็นชุดยาสามัญที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย ประกอบไปด้วย
  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่
  • ยาระบายแมกนีเซียม
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร
  1. กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้ เป็นชุดยาที่ช่วยกำจัดพยาธิชนิดต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เช่น พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า ประกอบไปด้วย
  • ยาถ่ายพยาธิตัวกลม อย่างยาเบนดาโซล
  1. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ หรืออาการบวม อักเสบ ที่เกิดจากแมลงกัดต่อย ประกอบไปด้วย
  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง
  1. กลุ่มยาสำหรับโรคตา เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคืองตา จากฝุ่น ผง ควัน หรือสิ่งสกปรกเข้าตา รวมถึงอาการตาแดง ตาอักเสบ ประกอบไปด้วย
  • ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
  • ยาล้างตา
  1. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง เป็นชุดยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง หรือโรคหิด ประกอบไปด้วย
  • ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
  • ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน
  • ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
  • ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
  • ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต
  1. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นชุดยาที่ใช้บรรเทาแผลที่เกิดจากการสัมผัสความร้อน ประกอบไปด้วย
  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
  • ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม
  1. กลุ่มยาใส่แผล และล้างแผล เป็นชุดยาที่ช่วยรักษาแผลสดชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถูกของมีคมบาด แผลถลอก ประกอบไปด้วย
  • ยาไส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล โพวิโดน ไอโอดีน
  • ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์
  • ยาเอทธิล แอลกอฮอล์
  • น้ำเกลือล้างแผล
นอกจากนี้ยังควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับรักษาบาดแผลเบื้องต้นอย่างผ้าก๊อช พลาสเตอร์ยา หรือสำลีทำแผลเอาไว้ด้วย

วิธีเก็บยาสามัญประจำบ้านที่ถูกต้อง

เมื่อมีการเก็บชุดยาสามัญประจำบ้านเอาไว้ ก็ต้องมีตู้หรือกล่องสำหรับใส่ยาเหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและสะดวกในการใช้งาน ทั้งยังช่วยรักษาให้ยามีประสิทธิภาพตามอายุการใช้งานที่กำหนด โดยแนะนำให้ทำดังนี้
  • แยกยาออกเป็นประเภทต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยเฉพาะยาสำหรับรับประทาน และยาสำหรับใช้ภายนอก
  • ยาที่ดีต้องมีฉลากที่ระบุข้อมูลชัดเจน ถูกต้อง 
  • ต้องเก็บยาไว้ในที่ที่ไม่โดนแสงแดด ไม่โดนความร้อน ไม่สัมผัสความชื้น หรือใกล้กับเปลวไฟ
  • ไม่ควรเก็บยาชนิดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน
  • เก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก

ยาสามัญประจำบ้านกับสิ่งที่ควรใส่ใจ

การตรวจสอบยาสามัญประจำบ้านของคุณเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการใช้อย่างเหมาะสม ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อทำการตรวจสอบยาที่บ้านเป็นประจำ:
  • วันหมดอายุ:
      • ทำไมต้องตรวจสอบ:ยามีวันหมดอายุซึ่งระบุระยะเวลาที่คาดว่ายาจะยังคงมีผลอยู่ ยาที่หมดอายุอาจไม่ช่วยบรรเทาอาการตามที่ตั้งใจไว้และอาจเป็นอันตรายได้
  • สภาพการเก็บรักษา:
      • ทำไมต้องตรวจสอบ:ควรจัดเก็บยาตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อประสิทธิภาพ การจัดเก็บที่ไม่เหมาะสมสามารถนำไปสู่การเสื่อมของยาได้
    • รายการยาที่สมบูรณ์:
      • ทำไมต้องตรวจสอบ:รักษารายการยาทั้งหมดในบ้านของคุณให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ และอาหารเสริม นี่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินและการให้คำปรึกษาของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
  • ตรวจสอบอาการแพ้และอาการไม่พึงประสงค์:
      • เหตุใดจึงควรตรวจสอบ:บุคคลสามารถเกิดอาการแพ้หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้เมื่อเวลาผ่านไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในการตอบสนองต่อยาบางชนิดของคุณ
  • ความพร้อมของอุปกรณ์ปฐมพยาบาล:
      • ทำไมต้องตรวจสอบ:ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดปฐมพยาบาลของคุณมีอยู่ในสต็อกอย่างดีและมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยเล็กน้อย ตรวจสอบและเติมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเป็นประจำ รวมถึงผ้าพันแผล ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด และสิ่งของเฉพาะใดๆ ที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของครัวเรือนของคุณ
  • การกำจัดยาที่หมดอายุหรือไม่ได้ใช้อย่างเหมาะสม:
    • ทำไมต้องตรวจสอบ:กำจัดยาที่หมดอายุหรือไม่ได้ใช้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการกินเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจและการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบและบำรุงรักษายาสามัญประจำบ้านของคุณเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพของยา หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับยาเฉพาะ โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด