ประโยชน์ของใบกระเพราะ (Health Benefits of Basil)

ใบกระเพราเป็นสมุนไพรในกลุ่มมินต์ ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร และใบกระเพราะ สรรพคุณมีหลากหลายมาก ประโยชน์ของกระเพรานั้นมีหลายอย่างที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้ ใบกระเพราะ (Ocimum basilicum) ถูกใช้ในแถบเมอดิเตอเรเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารอิตาเลียน มันเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเพสโตและเพิ่มรสชาติพิเศษให้สลัด พาสต้า พิซซ่า และจานอื่น ๆ อาหารอินโดนีเชีย เวียดนาม และไทยก็ใช้ใบโหระพาเป็นส่วนประกอบเช่นกัน  ในอาหาร ใบโหระพาให้วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย น้ำมันสกัดจากโหระพาอาจมีประโยชน์ทางการแพทย์อีกด้วย  เราสามารถหาซื้อใบโหระพาได้ทั่วไป ใบดหระพาแต่ละชนิดให้รสและกลิ่นที่แตกต่าง  ใบโหระพาอีกชนิดคือ ตุลซี หรือ กะเพรา (Ocimum santum) มีบทบาทในยาของทมิฬและอายุรเวท ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ปฏิบัติกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมันแตกต่างจากใบกระเพราะ ในบทความนี้  เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของใบโหระพาต่อสุขภาพและปริมาณสารอาหารที่ใบโหระพามี และเคล็ดลับการนำใบโหระพาไปประกอบอาหาร 

ประโยน์ต่อสุขภาพ 

สรรพคุณของกระเพราอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อนำไปใส่ในอาหาร นำไปใช้เป็นยาสมุนไพร และใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย  ในสมัยโบราณ มันถูกใช้เป็นยารักษาเมื่อถูกงูกัด เป็นหวัด และการติดเชื้อในทางเดินหายใจ  กะเพราให้สารอาหารหลักบางอย่าง เช่น แคลเซียม วิตามินเค และสารต้านอนุมูลอิสระ   ใบกระเพราะมียูเจนอลอยู่สูง จึงทำให้มีกลิ่นคล้านกานพลู ใบแมงลักมีลีโมนีนสูงทำให้มีกลิ่นส้ม ทั้งยูเจนอลและลีโมนีนมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ 

ลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น

สารต้านอนุมูลอิสระสำคัญสำหรับการขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย  สารต้านอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากผลของการเผาผลาญและกระบวนการทางธรรมชาติอื่น ๆ มันสามารถก่อตัวขึ้นจากผลของการสูบบุหรี่และการรับประทานอาหารบางอย่างด้วย  สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารประกอบที่ช่วยกำจัดโมเลกุลเหล่านี้จากร่างกาย แต่หากมันมีมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเครียดออกวิเดชั่น เป็นผลให้เซลล์ถูกทำลาย และเกิดโรคได้  นักวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงมะเร็ง โรคหัวใจ  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เบาหวาน และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เข้ากับภาวะเครียดออกซิเดชั่น  ร่างกายสร้างสารต้านอนุมูลอิสระบางส่วน แต่ก็ต้องดูดซึมบางส่วนจากอาหารด้วย สารต้านอนุมูลอิสระที่มีในใบโหระพาคือแอนโทไซยานินและเบต้า แคโรทีน 

ช่วยให้สุขภาพตับดีขึ้น

การศึกษาในปี 2015 ในหนูทดลองสรุปได้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระในรูปแบบแป้ง รวมไปถึงใบกะเพรามีประโยชน์ต่อสุขภาพตับ  นักวิทยาศาสตร์ใช้แป้งหลังจากการใช้ท็อกซินเร่งการบาดเจ็บของตับ  ตุลซี — เป็นพืชที่แตกต่างจากใบโหระพาที่วางขายอยู่ในประเทศแถบตะวันตก — มีบทบาทในยาของอินเดีย 

การต่อสู้กับโรคมะเร็ง 

ในการตีพิมพ์ปี 2013 เกี่ยวกับสรรพคุณกะเพราพบว่ามันสามารถป้องกันมะเร็งได้  ผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า สารพฤกษเคมีในใบกะเพราช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนัง ตับ ปาก และปอด  พวกมันไปช่วยเพิ่มกิจกรรมการต่อต้านอนุมูลอิสระ เปลี่ยนการแสดงออกของยีน กระตุ้นการตายของเซลล์ และทำให้เซลล์แบ่งตัวช้าลง  อย่างไรก็ตาม การศึกาานี้ได้ทำขึ้นในสัตว์ ซึ่งผลที่ได้ยังต้องได้รับการค้นคว้าวิจัยต่อไป 

ปกป้องผิวจากความแก่ 

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2011 โหระพามีคุณสมบัติที่อาจจะช่วยปกป้องผิวจากความแก่  นักวิจัยใช้สารสกัดจากใบโหระพากับแบบจำลองผิวในห้องปฏิบัติการ ผลลัพท์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าการใส่สารสกัดจากใบโหระพาไปให้ครีมทาผิวเฉพาะที่อาจช่วยเรื่องความชุ่มชื่นของผิว และลดความหยาบกระด้างและริ้วรอย  ในขณะที่การใส่สารสกัดจากใบโหระพาลงไปอาจมีประสิทธิภาพ แต่การกินใบโหระพาไม่ได้ช่วยเรื่องผิว  อย่างไรก็ตาม การต้านอนุมูลอิสระในใบโหระพาและพืชชนิดอื่น ๆ อาจมีผลลัพท์ในการปกป้องหากเรารับประทานพวกมันกับอาหารที่หลากหลาย 

ลดน้ำตาลในเลือด 

ผู้ที่ใช้ยาแผนโบราณมักแนะนำให้ใช้ใบกระเพราเพื่อช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือด  การศึกษาในหนูในปี 2019 พบว่าสารสกัดจากใบแมงลักช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  หากการทดลองในขั้นต่อไปรับรองการค้นพบนี้ สารสกัดจากใบโหระพาจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวาน 

ช่วยในสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด 

รายงานในปี 2011 พบว่าสารสกัดจากใบโหระพาช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสารยูจีนอล ยูจีนอลสามารถผิดกั้นช่องแคลเซียมในร่างกายได้ ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง  อย่างไรก็ตาม หลังจากใช้สารสกัดได้ 2 นาที ความดันก็กลับไปสูงเช่นเดิม  ในการศึกษาอีกชิ้นนึง อาสาสมัครสุขภาพดีรับประทานยาหลอกหรือแคปซูลที่มีใบกะเพราแห้ง 300 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน  หลังจาก 4 สัปดาห์ ผู้ที่รับประทานสารสกัดจากกะเพรามีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงกว่าผู้ที่ไม่ได้ทาน ผู้เขียนสรุปว่า สารสกัดสามารถช่วยลดความเสี่ยงบางประการของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้  Health Benefits of Basil

ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิต 

ความเครียดสามารถถูกกระตุ้นได้จากการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย  จากบทวิจารณ์ในปี 2014 เก่ยวกับบทบาทของกะเพราในยาอายุรเวช มันอาจมีคุณสมบัติ: 
  • บรรเทาความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้า 
  • เพิ่มความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล 
  • ป้องกันการสูญเสียความจำจากอายุที่เพิ่มขึ้น 
  • ช่วยเรื่องการนอนหลับและปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ 
ในการศึกษาบางชิ้นพบว่า ผลลัพท์ที่ได้นั้นเทียบได้กับการใช้ยาไดอะซีแพมและยาต้านการซึมเศร้า  อย่างไรก็ตาม การรับรองการค้นพบเหล่านี้ยังต้องทำการค้นคว้ามากขึ้น การรับประทานกะเพรา เช่น ในชา นั้นไม่มีผลลัพท์เหมือนกับกรใช้สารสกัด 

ลดการอักเสบและการบวม 

ภาวะเครียดออกซิเดชั่นสามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมากมาย รวมไปถึงมะเร็ง เบาหวานชนิดที่  2 และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  ในปี 2017 นักวิจัยได้วิเคราะห์คุณสมบัติต้านการอักเสบของน้ำมันหอมระเหยที่ทำมาจากใบกระเพราะ จากผลลัพท์ที่ได้ น้ำมันหอมระเหยที่ได้สามารถรักษาโรคได้หลากหลาย รวมไปถึงการอักเสบที่มาจากภาวะเคียดออกซิเดชั่นด้วย  แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการรับระทานใบโหระพาจะมีผลลัพท์ที่เหมือนกัน 

การต่อสู้กับการติดเชื้อ 

ผู้ที่ใช้การรักษาแบบโบราณมากมายใช้ใบโหระพาเป็นสารต้านจุลินทรีย์ และมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้นี้ด้วย  ในปี 2013 นักวิจัยใช้น้ำมันโหระพากับ Escherichia coli หรือ  E. coli แบคทีเรียจากมนุษย์ที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ช่องท้อง ระบบปัสสาวะ และผิวหนัง และจากอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลด้วย ผลลัพท์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าน้ำมันต่อสู้กับแบคทีเรียชนิดนี้   นักวิจัยสรุปว่า น้ำมันโหระพาสามารถช่วยรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อบางชนิดได้ 

โภชนาการ 

ในตารางนี้ สารอาหารบางอย่างถูกบอกในหน่วยไมโครกรัม  (mcg)
สารอาหาร  ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะของใบกระเพราะประมาณ 2.6 กรัม  ความต้องการของผู้ใหญ่ต่อวัน 
แคลเซียม (mg) 4.6 1,000–1,300
วิตามิน A (mcg, RAE) 6.9 700–900
เบต้าแคโรทีน  (mcg) 81.7 No data
เบต้า คริปโทแซนทิน (mcg) 1.2 No data
ลูทีนและซีแซนทีน(mcg) 147.0 No data
วิตามิน K (mcg) 10.8 75–120
นอกเหนือจากสารอาหารเหล่านี้แล้ว โหระพายังมีวิตามินบีอยู่มาก มีไอรอนและแร่ธาตุอื่น ๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ 

การใช้ 

กระเพราและโหระพาเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมและมีรสชาติที่หลากหลายที่หลาย ๆ คนชอบ ชนิดที่ต่างกันให้รสชาติที่ต่างกัน  ในการปรุงอาหาร ใบกระเพราและใบโหระพาได้รับความนิยมมากในไทย แต่บางคนก็ใช้ใบแมงลัก ใบยี่หร่า ใบโหระพาอบเชย และอื่น ๆ  เราสามารถใช้ได้โดย: 
  • โรยใบกระเพราสับสด ๆ บนพิซซ่าหรือใช้ห่อรับประทาน
  • ใส่ใบกระเพราลงไปในมะเขือเทศที่หั่นและตามด้วยซีสมอสซาเรลล่า และน้ำมันมะกอกเล็กน้อย 
  • ใส่ใบกระเพราในซุปต่าง ๆ ซอสมะเขือเทศ และผัดต่าง ๆ 
  • สามารถใช้หมักได้ด้วยใบกระเพราะน้ำมันมะกอก และกระเทียมสับ 
  • ใส่ใบกระเพรา หรือใส่ทั้งใบลงไปในสลัด 
หรือลองเมนูเหล่านี้ 
  • ไก่เผ็ดกับกระเพราทอด 
  • ซอสเพสโต้กระเพราพาสด 
  • พาสต้ากับซอสมะเขือเทศและซอสกระเพรา

ความเสี่ยงในารทานกระเพรา

บางคนต้องระวังหากจะรับประทานใบกระเพราะ

ลิ่มเลือด 

ใบกระเพราเพียง 1 ช้อนโต๊ะให้วิตามินเค 10.8 mcg วิตามินเคทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ ในปริมาณ 9-12% ของความต้องการของผู้ใหญ่ในแต่ละวัน  ระดับวิตามินเคที่สูงสามารถส่งผลต่อการทำงานของยาบางชนิด รวมไปถึง วาฟาริน ผู้ที่ใช้ยาเจือจางเลือดควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานใบกระเพราะ

การแพ้ 

บางคนมีปฏิกริยาแพ้หากพวกเขารับประทานหรือสัมผัสสมุนไพรตระกูลมินต์  ผู้ที่มีอาการแพ้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเพราและตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารก่อนรับประทาน  หากมีอาการลมพิษ บวม หรือหายใจลำบากหลังรับประทานใบกระเพราะควรพบแพทย์ทันที  อาการแพ้อย่างรุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด