ยาสลบ (General Anesthesia) – ความเสี่ยง การเตรียมตัว

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาสลบ

ภาพรวม

ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป หรือยาสลบ คือการนำมาใช้ร่วมในทางการแพทย์ เพื่อช่วยทำให้อยู่สภาวะเหมือนหลับก่อนการผ่าตัดหรือการปฏิบัติทางการแพทย์อื่นๆ ภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วไป คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดพราะจะไม่รู้ตัวอย่างสิ้นเชิง ยาระงับความรู้สึกมักถูกนำมาใช้น่วมกับการให้ยาทางหลอดเลือดดำและเครื่องดมยาสลบ (ยาชา) ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปมีหน้าที่มากกว่าแค่ทำให้หลับ แต้ยังดูเรื่องของความรู้สึกด้วย แต่เป็นการะงับความรู้สึกของสมองเพื่อไม่ให้ตอบสนองต่อสัญญานหรือเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเจ็บปวด วิสัญญีแพทย์คือแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนเฉพาะด้านในการวางยาสลบ ในขณะที่ได้รับยาระงับความรู้สึก วิสัญญีแพทย์จะเฝ้าติดตามการทำงานที่จำเป็นของร่างกายและจัดการดูแลเรื่องการหายใจของคนไข้ ในทุกๆโรงพยาบาล วิสัญญีแพทย์และพยาบาลวิสัญญีจะทำงานร่วมกันในระหว่างการปฏิบัติงาน วิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลวิสัญญีแพทย์ร่วมกับแพทย์ จะแนะนำทางเลือกในการใช้ยาระงับความรู้สึกที่ดีที่สุดสำหรับคุณซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดที่คนไข้มี และดูจากสุขภาพโดยรวมและความชอบของคนไข้ สำหนับการผ่าตัดบางชนิด ทีมแพทย์จะแนะนำยาระงับความรู้สึกทั่วไปเมื่อ
  • ต้องใช้เวลานาน
  • ส่งผลให้มีการเสียเลือด
  • สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่หนาวเย็น
  • ส่งผลต่อการหายใจ (เป็นการผ่าตัดช่องท้องส่วนบนหรือทรวงอก)
ยาระงับความรู้สึกรูปแบบอื่น เช่นให้ยาสงบประสาทอ่อนๆร่วมกับยาชาเฉพาะที่ (สำหรับพื้นที่เล็กๆ) หรือยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน (สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของร่างกาย)  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ศัลยกรรมจมูก

ความเสี่ยง

ยาระงับความรู้สึกทั่วไปมีความปลอดภัยมากสำหรับคนส่วนใหญ่ แม้แต่กับคนที่มีโรคประจำตัวก็สามารถใชเยาระงับความรู้สึกทั่วไปได้โดยไม่เกิดปัญหารุนแรง ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนมักเกิดขึ้นเกี่ยวข้องจากชนิดของการผ่าตัด และสุขภาพร่างกายทั่วไป มากกว่าเกิดจากชนิดของยาระงับความรู้สึก ในผู้สูงอายุหรือคนที่มีปัญหาสุขภาพรุนแรง คนที่อยู่ภายใต้กระบวนการที่กว้างมากกว่า อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเพ้อหรือสับสนหลังผ่าตัด ปอดอักเสบหรือแม้แต่โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย ภาวะเฉพาะบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อยในระหว่างผ่าตัดคือ: ความเสี่ยงนี้เกิดจากการผ่าตัดเองมากกว่าเกิดจากการใช้ยาระงับความรู้สึก

ภาวะรู้สึกตัวระหว่างผ่าตัด

เฉลี่ยราว 1 หรือ 2 คนในทุกๆ 1,000 คนอาจตื่นขึ้นในระหว่างการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไป และภาวะนี้เรียกว่า unintended intraoperative awareness ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้  เพราะกล้ามเนื้อจะถูกผ่อนคลายก่อนการผ่าตัด คนไข้จะไม่สามารถขยับหรือพูดเพื่อบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าตนยังคงตื่นอยู่หรือรู้สึกเจ็บ  ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้ยาก ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดคือ:
  • การผ่าตัดฉุกเฉิน
  • การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
  • โรคซึมเศร้า
  • ใช้ยาบางชนิด
  • มีปัญหาปอดหรือหัวใจ
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ปริมาณโดสยาระงับความรู้สึกต่ำเกินไปกว่าที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการผ่าตัด
  • เกิดจากความผิดพลาดของวิสัญญีแพทย์ เช่นไม่เฝ้าติดตามคนไข้หรือไม่คำนวนปริมาณยาระงับความรู้สึกให้ตลอดการผ่าตัด

General Anesthesia

ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ที่ทำหน้าที่ดูเรื่องอาหารและกรดที่ลำเลียงจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอด แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัด การงดอาหารมักจำเป็นต้องงดก่อนการผ่าตัดหกชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้ก่อนการผ่าตัดสองสามชั่วโมง แพทย์แนะนำให้ทานยาตามปกติที่เคยทานพร้อมจิบน้ำเล็กน้อยในระหว่างช่วงงดอาหาร ปรึกษาเรื่องการใช้ยาร่วมกับแพทย์ คุณอาจต้องหลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น แอสไพริน และยาเจือจางเลือดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด ยาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด วิตามินและสมุนไพรบางชนิด เช่นโสม กระเทียม ใบแปะก๊วย เซนต์จอห์นเวิร์ต คาวาและอื่นๆ อาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนในระหว่างผ่าตัด  หากเป็นโรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนยาในระหว่างช่วงงดอาหาร

สิ่งที่ต้องเจอ

ก่อนการผ่าตัด

ก่อนการวางยาระงับความรู้สึก วิสัญญีแพทย์จะพูดคุยกับคุณ และถามคำถามดังนี้
  • ประวัติสุขภาพ
  • การใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อเองตามร้านขายยา และอาหารเสริมสมุนไพร
  • ภูมิแพ้
  • เคยใช้ยาระงับความรู้สึกมาก่อนหรือไม่
คำถามเหล่านี้เพื่อช่วยให้วิสัญญีแพทย์เลือกยาที่มีความปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณ

ในระหว่างการผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์จะจ่ายยาระงับความรู้สึกผ่านทางหลอดเลือดดำที่แขน บางครั้งอาจใช้แบบดมแก๊สที่หายใจผ่านทางหน้ากาก เด็กมักต้องนอนหลับด้วยการใส่หน้ากากนี้ ทันทีที่คุณหลับ วิสัญญีแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องปากและส่งต่อไปยังหลอดลม ท่อนี้จะช่วยทำให้มั่นใจว่าคนไข้จะได้รับออกซิเจนที่เพียงพอและเพื่อป้องกันปอดของคนไข้จากเลือดหรือของเหลวอื่นๆ เช่นของเหลวจากกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อจะเกิดการผ่อนคลายก่อนที่แพทย์จะสอดท่อเข้าไปหลอดอาหาร แพทย์อาจใช้ตัวเลือกอื่น เช่นอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง เพื่อช่วยในการจัดการการหายใจในระหว่างการผ่าตัด จะมีเจ้าหน้าที่จากทีมวิสัญญีแพทย์หนึ่งคนคอยเฝ้าติดตามดูในขณะคนไข้หลับ จัมีหน้าที่คอยปรับยา การหายใจ อุณหภูมิและความดันโลหิตให้เป็นไปตามที่ต้องการ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัดจะได้รับการแก้ไขด้วยการเพิ่มยา ของเหลวและบางครั้งรวมถึงการถ่ายเลือด

หลังการผ่าตัด 

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว วิสัญญีแพทย์จะให้ยาที่ทำให้คุณตื่น คนไข้จะค่อยๆตื่นอย่างช้าๆที่ห้องผ่าตัดหรือห้องรอดูอาการ คนไข้อาจรู้สึกเวียนศีรษะและสับสนเล็กน้อยเมื่อตื่นขึ้นมาในทีแรก อาจเกิดอาการที่เป็นผลข้างเคียงทั่วไปดังต่อไปนี้: อาจมีอาการอื่นของผลข้างเคียงหลังตื่นจากการใช้ยาระงับความรู้สึก เช่นเจ็บปวด ทีมวิสัญญีแพทย์จะสอบถามอาการเจ็บและผลข้างเคียงอื่นๆของคนไข้ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่กับภาวะแต่ละบุคคลและชนิดของการผ่าตัด แพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้คนไข้หลังการผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดและคลื่นไส้ แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ยาก เช่น อาการแพ้ หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงโดยรวมยังต่ำ และเหตุการณ์เหล่านี้ได้รับการตรวจสอบและจัดการอย่างใกล้ชิดโดยทีมวิสัญญี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องสื่อสารอย่างเปิดเผยกับทีมดูแลสุขภาพเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ความกังวลใดๆ ที่อาจมี และปฏิบัติตามคำแนะนำก่อนการผ่าตัดอย่างระมัดระวัง ทีมดมยาสลบจะประเมินสถานะสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างรอบคอบ และปรับแผนการดมยาสลบให้เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างหัตถการอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่าตัดเพิ่มขนาดหน้าอก
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด