มดลูกอักเสบคืออะไร  มดลูกอักเสบเกิดจากภาวะการอักเสบของเนื้อเยื่อมดลูกและมักเกิดขึ้นเพราะการติดเชื้อ ปกติแล้วมดลูกอักเสบจะไม่ทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็เป็นภาวะที่สำคัญที่ควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ โรคดังกล่าวสามารถหายไปได้เมื่อได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะเจริญพันธุ์มีปัญหา และมีปัญหาต่อสุขภาพทั่วไป

สาเหตุของมดลูกอักเสบ

มดลูกอักเสบคือโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้มดลูกอักเสบ ซึ่งรวมไปถึง:
  • โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ เช่น โรคคลามิเดียและโรคหนองใน 
  • วัณโรค
  • การติดเชื้อที่เป็นผลมาจากโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ปากมดลูกอับเสบได้ที่นี่

ปัจจัยความเสี่ยงของมดลูกอักเสบ

อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของมดลูกอักเสบหลังการแท้งบุตรหรือหลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะหลังการคลอดบุตรที่ยาวนานหรือมีการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง อาจมีภาวะมดลูกอักเสบหลังการผ่าตัด เป็นการเปิดโอกาสให้เชื้อแบคมีเรียเข้าไปได้ การผ่าตัดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมดลูกอักเสบคือ:
  • การผ่าตัดผ่านกล้องโพรงมดลูก
  • การใส่ห่วงกำเนิด (IUD)
  • การขูดมดลูก
มดลูกอักเสบสามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับโรคอื่นๆในบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่นการอักเสบของปากมดลูกที่เรียกว่า ปากมดลูกอักเสบ โรคนี้อาจมีหรือไม่มีอาการได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ปีกมดลูกอักเสบได้ที่นี่

อาการของมดลูกอักเสบคืออะไร 

มดลูกอักเสบเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:
  • หน้าท้องบวม
  • มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
  • มีตกขาวผิดปกติ
  • ท้องผูก
  • มีอาการไม่สบายตัวเมื่อขับถ่าย
  • มีไข้สูง
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดที่อุ้งเชิงกราน บริเวณหน้าท้องส่วนล่างหรือบริเวณทวารหนัก

มดลูกอักเสบวินิจฉัยได้อย่างไร 

แพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจอุ้งเชิงกราน และตรวจดูหน้าท้อง มดลูกและปากมดลูกเพื่อดูสัญญาณกดเจ็บและตกขาว การตรวจดังต่อไปนี้จะช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้:
  • การนำตัวอย่างหรือเนื้อเยื่อจากปากมดลูกมาเพื่อตรวจดูเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ เช่นโรคคลามิเดียและโรคหนองใน(เชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคหนองใน) 
  • การนำเอาเนื้อเยื่อเล็กน้อยจากเนื้อเยื่อมดลูกมาตรวจที่เรียกว่า การเก็บชิ้นเนื้อโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจ
  • การผ่าตัดผ่านกล้องจะช่วยทำให้แพทย์สามารถดูด้านในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
  • ตรวจดูตกขาวด้วยกล้องจุลทรรศ์
การตรวจเลือดสามารถตรวจดูจำนวนเม็ดเลือดขาวและการวัดการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง โรคมดลูกอักเสบเป็นสาเหตุทำให้จำนวน WBC และ ESR สูงขึ้น  endometritis  

ภาวะแทรกซ้อนของมดลูกอักเสบ

อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้หากการติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการติดเชื้อรุนแรงที่อาจทำให้อาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่ภาวะช็อก ซึ่งเป็นเรื่องฉุกเฉินที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงต้องรีบเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด่วน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์นอกมดลูกอ่านต่อที่นี่ มดลูกอักเสบเรื้อรังคือการอักเสบเรื้อรังที่เยื่อบุมดลูก เชื้อก่อโรคปรากฏขึ้นแต่ เป็นการติดเชื้อขั้นต่ำและผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือมีอาการแต่อาจไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามมดลูกอักเสบเรื้อรังอาจพบว่ามีส่วนเกี่ยวกับเรื่องของภาวะมีบุตรยาก

มดลูกอักเสบรักษาอย่างไร?

มดลูกอักเสบต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ คนที่คุณมีเพศสัมพันธ์ด้วยอาจต้องได้รับการรักษาด้วยหากแพทย์พบว่าคุณเป็นโรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ สิ่งที่สำคัญคือต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างครบถ้วน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดดำและพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นหลังการคลอดบุตร

สิ่งที่คาดหวังในระยะยาวคืออะไร 

สิ่งที่คาดหวังสำหรับคนที่มีภาวะมดลูกอักเสบคือการได้รับการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด มดลูกอักเสบมักหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะโดยปราศจากปัญหาอื่นๆ  แต่อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาขึ้นกับระบบสืบพันธ์และติดเชื้อรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากหรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อ

มดลูกอักเสบสามารถป้องกันได้อย่างไร 

สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมดลูกอักเสบจากการคลอดบุตรหรือการผ่าตัดทางนรีเวชได้ด้วยการทำให้แน่ใจว่าแพทย์ได้ใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อในระหว่างการคลอดบุตรหรือผ่าตัด แพทย์ิาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการระวังในระหว่างการผ่าตัดคลอดหรือทันทีก่อนการผ่าตัดเริ่ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมดลูกอักเสบที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้โดย:
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเช่นการใช้ถุงยางอนามัย
  • รับการตรวจและวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรกหากสงสัยว่ามีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งตัวคุณและคู่ของคุณ
ปรึกษาแพทย์หากมีอาการของมดลูกอักเสบ สิ่งที่สำคัญคือการได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด