ปากมดลูกอักเสบ (Cervicitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปากมดลูกอักเสบ (Cervicitis) คือภาวะการอักเสบบริเวณปากมดลูกซึ่งอาจจะสังเกตุได้หากผู้ป่วยมีตกขาวที่มีกลิ่นหรือสีผิดปกติ รวมไปถึงการมีเลือดออกจากบริเวณปากมดลูก

ปากมดลูกคืออวัยวะส่วนที่ล่างสุดของมดลูก มีลักษณะยื่นเข้าไปในช่องคลอดเล็กน้อย เป็นตำแหน่งขับเลือดประจำเดือนออกจากมดลูก ในภาวะที่มีการคลอดลูกบริเวณปากมดลูกจะมีการขยายตัวออกไปเพื่อเปิดทางให้ทารกสามารถผ่านช่องคลอดออกไปได้ (ภาวะที่ปากมดลูกขยายตัว)

ปากมดลูกอักเสบ

สาเหตุของภาวะปากมดลูกอักเสบ

ปากมดลูกอักเสบเกิดจากภาวะที่เนื้อเยื่อปากมดลูกเกิดการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อนั้นส่วนมากมาจากการเพศสัมพันธ์ แต่ก็ยังขึ้นกับสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย นอกจากนี้โรคปากมดลูกอักเสบอาจมีลักษณะเจ็บปวดอย่างเฉียบพลัน หรือภาวะเรื้อรังเมื่อผู้ป่วยมีอาการของปากมดลูกอักเสบเรื้อรังนานหลายเดือนได้

อาการปากมดลูกอักเสบเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ (STI) ซึ่งรวมถึง:

การติดเชื้อ HPV ในระยะลุกลามอาจยิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของปากมดลูกได้มาก และมักเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก หรืออาจเป็นอาการเบื้องต้นของมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจัยที่ส่งผลภาวะปากมดลูกอักเสบ

  • อาการแพ้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในน้ำยาฆ่าเชื้ออสุจิที่ใช้ล้างช่องคลอดเพื่อคุมกำเนิด รวมถึงอาการallergy-0094/”>แพ้ยางของถุงยางอนามัย

  • อาการแพ้ผ้าอนามัยอย่างหมวกครอบปากมดลูก หรือ Diaphragm ของอุปกรณ์นี้

  • อาการแพ้ที่ต่อสารเคมีในผ้าอนามัยแบบสอดที่ต้องใส่เข้าไปในช่องคลอด

  • ความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียอยู่ในบริเวณช่องคลอดตามธรรมชาติ

อาการของภาวะปากมดลูกอักเสบ

ผู้หญิงบางคนที่ป่วยด้วยโรคปากมดลูกอักเสบอาจไม่มีอาการใด ๆ ของโรคนี้เลยก็ได้ แต่อาจพบอาการเมื่อตรวจภายในได้ อาการของโรคนี้จะมีมากมายประกอบด้วย:

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ

  • มีตกขาวสีเทา หรือสีขาว ในบางกรณีอาจมีกลิ่น

  • อาการปวดบริเวณช่องคลอด

  • อาการปวดที่รู้สึกได้ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์

  • อาการบีดอัดบริเวณอุ้งเชิงกราน

  • อาการปวดหลัง

  • ปัสสาวะลำบาก หรือปวดในขณะที่กำลังปัสสาวะ

  • ปวดปากมดลูก

หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาการปากมดลูกอักเสบอาจลุกลามรุนแรงมากขึ้น ในบางกรณีความเจ็บปวดอาจรุนแรงมากขึ้น ตกขาวเปลี่ยนสีมีลักษณะคล้ายหนองอันเป็นสัญญาณที่แสดงถึงอาการของปากมดลูกที่อักเสบในระดับที่รุนแรง

การวินิจฉัยโรคปากมดลูกอักเสบ

หากรู้สึกถึงความผิดปกติ หรือมีอาการของโรคปากมดลูกอักเสบควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพราะอาการปากมดลูกอักเสบนั้นจะแสดงถึงภาวะที่ผิดปกติของช่องคลอด หรือมดลูกได้

การตรวจกระดูกอุ้งเชิงกราน

วิธีการทดสอบนี้แพทย์จะสวมถุงมือแล้วใช้นิ้วสอดเข้าไปตรวจดูภายในช่องคลอดของผู้ป่วย แล้วใช้มืออีกข้างกดที่ท้องและกระดูกเชิงกรานไปพร้อม ๆ กัน วิธีนี้ช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปากมดลูกและมดลูกได้

การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและแปปสเมียร์

การทดสอบที่เรียกว่าแปปสเมียร์นั้น แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์ หรือตัดเอาชิ้นเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก หรือช่องคลอด ไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ

การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก

แพทย์จะทำการทดสอบด้วยวิธีนี้ซ้ำ เมื่อการตรวจแปปสเมียร์พบความผิดปกติ การทดสอบนี้มีชื่อว่า Colposcopy โดยแพทย์ของจะสอดเครื่องถ่างเข้าไปในช่องคลอดของผู้ป่วย แล้วใช้ก้านสำลีเช็ดของเหลวหรือเมือกบริเวณปากมดลูกหรือช่องคลอด จากนั้นแพทย์จะนำตัวอย่างของผู้ป่วยไปตรวจด้วย Colposcopy ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าตัวอย่างดังกล่าวมีลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่

การเพาะเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก

แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างของเหลวต่าง ๆ ที่ขับออกมาทางปากมดลูกของผู้ป่วย จากนั้นก็นำตัวอย่างที่ได้ไปตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อซึ่งอาจรวมถึงเชื้อรากลุ่ม Candidiasis และแบคทีเรียกลุ่ม Vaginosis รวมภาวะการติดเชื้ออื่น ๆ

หากผู้ป่วยมีอาการของโรคทางเพศสัมพันธ์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อติดตามและดูอาการปากมดลูกอักเสบไปพร้อมกันด้วย

ปัจจัยในการรักษาปากมดลูกอักเสบ

การรักษาโรคนี้ไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐานตายตัว โดยแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาให้กับผู้ป่วยตามปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ :
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

  • ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย

  • ระดับความร้ายแรงของอาการของผู้ป่วย

  • ขนาดของการอักเสบที่เกิดขึ้น

การรักษาด้วยยา

  • การรักษาโดยทั่วไปจะใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อจากนั้นจะพักเพื่อดูอาการสักระยะหนึ่ง โดยเป็นการอักเสบหลังการคลอดบุตร

การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • หากผู้ป่วยมีอาการปากมดลูกอักเสบเนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรก แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดด้วยความเย็นจัด เพื่อทำลายเซลล์ผิดปกติที่พบในปากมดลูก หรืออาจใช้สาร Silver nitrate เพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ

การหยุดสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการอักเสบ

  • ในกรณีที่ปากมดลูกอักเสบเนื่องจากเกิดการระคายเคืองจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ (ผ้าอนามัยแบบสอด) หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ปากมดลูก (ฝาครอบปากมดลูก หรือฟองน้ำคุมกำเนิด) ให้หยุดใช้สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เหล่านี้ทันที จะช่วยอาการของโรคดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

หากปล่อยให้ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังหลายปีโดยไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

การรักษาปากมดลูกอักเสบ

ก่อนอื่นแพทย์จะทำการวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดปากมดลูกอักเสบว่าเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดจากการติดเชื้อแพทย์จะทำการจ่ายยาปฎิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ แต่หากเกิดจากสาเหตุของการระคายเคืองเนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวันเช่น ผ้าอนามัย หรืออื่น ๆ แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนยี่ห้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

ภาวะแทรกซ้อนของปากมดลูกอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคปากมดลูก ได้แก่:
  • โรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID):มดลูกอักเสบหากเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น หนองในเทียม หรือหนองใน สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน รวมถึงมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ ​​PID ซึ่งเป็นการติดเชื้อร้ายแรงที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง มีไข้ และในกรณีที่รุนแรง ภาวะมีบุตรยาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง
  • ภาวะมีบุตรยาก:ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังหรือไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำไปสู่ ​​PID อาจส่งผลให้เกิดแผลเป็นและความเสียหายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ รอยแผลเป็นนี้อาจไปขัดขวางท่อนำไข่หรือส่งผลต่อการทำงานปกติของระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ยาก
  • ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์:การติดเชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกอาจส่งผลต่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์ การติดเชื้อบางชนิด เช่น Human Papillomavirus (HPV) บางชนิด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการคลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด
  • อาการปวดเรื้อรัง:มดลูกอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นซ้ำหรือไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากการอักเสบ แผลเป็น หรือการติดเชื้อที่กำลังดำเนินอยู่
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแพร่เชื้อเอชไอวี:มดลูกอักเสบอาจทำให้เกิดการอักเสบและการระคายเคืองของเนื้อเยื่อปากมดลูก ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีหากสัมผัสกับไวรัสระหว่างกิจกรรมทางเพศ
  • ปากมดลูกอักเสบ:การติดเชื้อบางชนิดที่ทำให้เกิดปากมดลูกอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ HPV บางสายพันธุ์ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปากมดลูกอักเสบ และบางครั้งสามารถลุกลามไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้หากตรวจไม่พบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
  • ความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บปวด:โรคปากมดลูกอักเสบอาจทำให้เกิดอาการไม่สบาย ปวด และตกขาวผิดปกติได้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา

สรุปภาพรวมภาวะปากมดลูกอักเสบ

การลดความเสี่ยงโรคปากมดลูกอักเสบนั้น เริ่มจากการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ งดการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ก็จะช่วยป้องกันโรคปากมดลูกอักเสบที่มีสาเหตุจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน

การหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีปนเปื้อน เช่นน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด และผ้าอนามัยแบบมีกลิ่น เพราะสารเคมีเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ หากจะใช้งานผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ต้องสอดเข้าไปในช่องคลอด อย่างผ้าอนามัยแบบสอดหรือฝาครอบปากมดลูกควรปฏิบัติตามคำแนะนำว่าใช้ได้นานเท่าใด และควรทำความสะอาดอย่างไร


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervicitis/symptoms-causes/syc-20370814
  • https://www.webmd.com/women/guide/cervicitis
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15360-cervicitis

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด