ประโยชน์และการนำน้ำมันละหุ่งมาใช้ (Castor Oil)

น้ำมันละหุ่ง คือ

น้ำมันละหุ่งเป็นน้ำมันพืชที่ใช้งานได้หลากหลาย มีการใช้งานกันมาอย่างยาวนานหลายพันปี ผลิตโดยการสกัดน้ำมันจากเมล็ดพืช Ricinus communis หรือที่เรียกว่าเมล็ดละหุ่งซึ่งมีเอนไซม์ที่เป็นพิษเรียกว่าริซิน แต่กระบวนการให้ความร้อนน้ำมันละหุ่ง จะทำลายสารพิษนี้ และทำให้สามารถใช้น้ำมันได้อย่างปลอดภัย น้ำมันละหุ่งมีประโยชน์ทางยา ทางอุตสาหกรรม และทางเภสัชกรรมได้หลายประเภท โดยทั่วไปจะใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และยังใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม และส่วนประกอบเชื้อเพลิงไบโอดีเซ ยุคอียิปต์โบราณ น้ำมันละหุ่งจะถูกเผาเป็นเชื้อเพลิงในตะเกียง ใช้เป็นยาตามธรรมชาติในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น อาการระคายเคืองตา และแม้กระทั่งให้สตรีมีครรภ์เพื่อกระตุ้นการคลอดบุตร ทุกวันนี้ น้ำมันละหุ่งยังเป็นวิธีการรักษาธรรมชาติที่ได้รับความนิยมสำหรับอาการทั่วไป เช่น อาการท้องผูก และโรคผิวหนัง และมักใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจากธรรมชาติ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยได้ที่นี่ 

คุณประโยชน์ของน้ำมันละหุ่ง

  1. ยาระบาย
น้ำมันละหุ่งสรรพคุณ เป็นยาระบายตามธรรมชาติที่ดี การทำงานของยาระบาย คือการกระตุ้นเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อดันในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สะอาดมากขึ้น ยาระบายสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว และอาจใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกชั่วคราว เมื่อบริโภคน้ำมันระหุ่งจะถูกย่อยในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดกรดริซิโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันหลักในน้ำมันละหุ่ง จากนั้นกรดริซิโนเลอิกจะถูกดูดซึมโดยลำไส้ กระตุ้นให้ทำหน้าที่เป็นยาระบาย สามารถใช้น้ำมันละหุ่งเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกได้ เมื่อผู้สูงอายุรับประทานน้ำมันละหุ่ง ก็จะมีอาการท้องผูกลดลง รวมถึงออกแรงในการขับถ่ายอุจจาระน้อยลง และขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การรับประทานน้ำมันเมล็ดละหุ่งมีความปลอดภัย เมื่อใช้ในปริมาณน้อย ๆ หากรับประทานในปริมาณมากอาจทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงได้ แม้ว่าจะใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราวได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันละหุ่งในระยะยาว castor oil
  1. มอยส์เจอไรเซอร์จากธรรมชาติ
น้ำมันระหุ่งอุดมไปด้วยกรดริซิโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันประเภทนี้ทำหน้าที่เป็น humectants และสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิวได้ Humectants จะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นโดยป้องกันการสูญเสียน้ำผ่านชั้นนอกของผิวหนัง น้ำมันระหุ่งมักใช้ในเครื่องสำอางเพื่อส่งเสริมความชุ่มชื้น และเติมลงในผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม เช่น โลชั่น เครื่องสำอาง และน้ำยาทำความสะอาด สามารถใช้น้ำมันเป็นทางเลือกตามธรรมชาติสำหรับมอยส์เจอไรเซอร์ และโลชั่นที่เลือกใช้ แต่ควรพิจารณาว่ามีการใช้ส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย เช่น สารกันบูด น้ำหอม และสี ที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ แต่หากมีน้ำมันละหุ่งจะช่วยลดการใช้สารเติมแต่งเหล่านี้ได้ นอกจากนี้น้ำมันละหุ่งยังมีราคาไม่แพง และสามารถใช้ได้ทั้งใบหน้าและร่างกาย น้ำมันละหุ่งค่อนข้างเหนะหนะ จึงควรผสมกับน้ำมันที่ดีต่อผิวชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก และน้ำมันมะพร้าว เพื่อเพิ่มมอยส์เจอไรเซอร์ที่ให้ความชุ่มชื่นเป็นพิเศษ น้ำมันหอมระเหยกับสมรรถภาพทางเพศ อ่านต่อที่นี่ แม้ว่าการใช้น้ำมันละหุ่งกับผิวหนังจะสำหรับคนส่วนมาก แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน
  1. สนับสนุนการรักษาบาดแผล
การใช้น้ำมันระหุ่งกับบาดแผลจะสร้างสภาวะที่ดี เพื่อช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้แผลแห้ง Venelex เป็นครีมยอดนิยมที่ใช้ในการรักษาบาดแผลในคลินิก มีส่วนผสมของน้ำมันละหุ่งและยาหม่องจากเปรู ยาหม่องที่ได้จากต้น Myroxylon น้ำมันละหุ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดสิ่งปดปิดบาดแผลกับสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ สามารถลดความแห้งกร้าน และการเกิดสะเก็ดแผล ซึ่งสร้างจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ที่ขัดขวางให้แผลหายช้า จากการศึกษาพบว่าขี้ผึ้งที่มีน้ำมันละหุ่งอาจมีประโยชน์ในการรักษาแผลกดทับ ซึ่งเป็นแผลที่เกิดจากแรงกดบนผิวหนังเป็นระยะเวลานาน

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันละหุ่ง

น้ำมันละหุ่งสามารถใช้รักษาอาการต่าง ๆ ด้วยวิธีการกินหรือทาน้ำมันลงบนผิวหนัง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วน้ำมันละหุ่งจะปลอดภัย แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ และผลข้างเคียงในบางคนได้ การใช้น้ำมันละหุ่งควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  • การใช้น้ำมันละหุ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ หากรับประทานมากเกินไป อาการท้องร่วงที่รุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ผู้ใช้บางคนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางส่วนของร่างกาย กรณีทาลงบนผิวเป็นครั้งแรก แนะนำให้ลองทาในปริมาณน้อย ๆ บนจุดเล็ก ๆ ของผิวหนังก่อน เพื่อดูว่าร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด