อาการปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ไข้หวัดเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดเมื่อยได้มากที่สุด การปวดเมื่อยังสามารถเกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยืน เดิน หรือการออกกำลังกายเป็นเวลานาน
คุณอาจต้องการการพักผ่อน หรือการดูแลตัวเองที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการ แต่การปวดบางชนิด การปวดที่เป็นมานาน อาจมีสาเหตุที่ซ่อนอยู่ ในกรณีนี้ คุณอาจต้องไปพบเเพทย์เพื่อรับการตรวจ พวกเขาสามารถรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นได้
1. ความเครียด
เมื่อคุณเครียด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถที่จะควบคุมการตอบสนองต่อการอักเสบได้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยได้ดีเท่าที่มันสามารถทำได้ ทำให้ร่างกายปวดเมื่อย และไม่สามารถที่จะต่อสู้กับการอักเสบ และการติดเชื้อในร่างกายได้ อาการที่บ่งบอกถึงความเครียด และความวิตกกังวล มีดังนี้:- อัตราการเต้นของหัวใจสูงผิดปกติ
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- ร้อน หรือเหงื่อออกตัวเย็น
- ภาวะหายใจเร็วกว่าปกติ
- ตัวสั่นผิดปกติ
- ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
2. การขาดน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่จะทำให้ร่างกายทำงานได้ยอ่างปกติ และมีสุขภาพดี เมื่อไม่มีน้ำ ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมไปถึงการหายใจ และการย่อยอาหาร เมื่อร่างกายขาดน้ำ และการทำงานเหล่านี้ไม่สามารถเป็นไปอย่างปกติ คุณจะรู้สึกปวดเมื่อยตัว อาการอื่น ๆ ของการขาดน้ำ ได้แก่:- ปัสสาวะสีเข้ม
- เวียนหัว หรืองุนงง
- เหนื่อย
- กระหายน้ำอย่างมาก
3. นอนไม่พอ
การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมทั้งหมด คุณต้องการการนอนหลับ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เนื้อเยื่อ และเซลล์ภายในร่างกายต้องการการนอนหลับที่เหมาะสมเพื่อที่จะมีสุขภาพดี และสมองต้องการการนอนหลับเพื่อที่จะสดชื่น และตื่นตัวในวันถัดไป เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่ได้รับการักผ่อนอย่างเพียงพอ และทำให้เกิดความเจ็บปวดตามร่างกายได้ อาการอื่นของการนอนหลับไม่เพียงพอ:- สับสน หรืองุนงง
- เผลอหลับในตอนกลางวันโดยที่ไม่รู้ตัว
- มีปัญหาการเข้าใจในการอ่าน หรือการฟังผู้อื่น
- มีปัญหาการพูด
- มีปัญหาเรื่องความจำ
4. เป็นหวัด หรือเป็นไข้หวัด
หวัด หรือไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบ การติดเชื้อนี้โจมตีร่างกายของเรา ระบบภูมิคุ้มกันจึงพยายามที่จะต่อสู้ การอักเสบ โดยเฉพาะที่คอ หน้าอก หรือปอด เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการปวด อาจทำให้ปวดไปทั่วทั้งร่างกาย เนื่องจากร่าวกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามา อาการอื่น ๆ ของหวัด หรือไข้หวัด: พักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และกลั้วน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดที่คอจะทำให้ร่างกายหายจากหวัด หรือไข้หวัดได้เร็วขึ้น- โลหิตจาง
- เหนื่อย
- อัตราการเต้นของหัวใจไม่ปกติ
- เวียนศีรษะ หรืองุนงง
- ปวดหัว หรือปวดหน้าอก
- มือ เท้าเย็น
- ผิวซีด
5. การขาดวิตามินดี
ภาวะเเคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ อวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายอย่าง เช่น ไต และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ต้องการแคลเซียมเพื่อที่จะทำงานเป็นปกติ กระดูกต้องการแคลเซียมเพื่อที่จะแข็งแรง หากปราศจากวิตามินดี ร่างกายจะไม่สามรถดูดซึมเเคลเซียมได้อย่างเพียงพอ ซึ่งทำให้ปวดกล้ามเนื้อ และกระดูก อาการอื่น ๆ มีดังนี้:
- ปวดเมื่อร่างกาย
- กล้ามเนื้อกระตุก
- เวียนหัว หรือสับสน
- ชา
- ชัก
6. โรคโมโนคลีโอซิส
โรคโมโนคลีโอซิส หรือดรคที่ติดต่อผ่านการจูบ เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส Epstein-Barr ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกาย อาการปวด และการเมื่อยล้าเกิดขึ้นจากการอักเสบ และการบวมที่ไปขัดขวางทางเดินหายใจ อาการอื่น ๆ มีดังนี้:- เหนื่อยมาก
- ต่อมทอนซิล หรือต่อมน้ำเหลืองบวม
- ผื่น
- เจ็บคอ
- มีไข้
7. ปอดบวม หรือปอดอักเสบ
ปอดบวมเป็นการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทาวเดินหายใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การหายใจ เหงื่อออก หรือการทำงานที่สำคัญอื่น ๆ หากคุณไม่สามารถหายใจอย่างสะดวกได้ ร่างกายจะไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอที่จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเนื้อเยื่ออื่น ๆ มีสุขภาพดีได้ ซึ่งจะทำให้ปวดเมื่อยทั่วทั้งร่างกาย อาการอื่น ๆ มีดังนี้:- ไอ
- เจ็บหน้าอก
- เหนื่อย
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- หายใจหอบถี่
- เหงื่ออกตัวเย็น
- มีไข้
8. กลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรัง
กลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรัง (CFS) เป็นอาการที่ทำให้คุณรู้สึกหนื่อ และอ่อนแรง ไม่ว่าจะพัก หรือนอนหลับมากแค่ไหนก็จะไม่ดีขึ้น โรคนี้มักจะทำให้เกิดการนอนไม่หลับ เพราะร่างกายไม่รู้สึกว่าต้องพัก CFS ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ และข้อต่อทั่วร่างกาย อาการอื่น ๆ มีดังนี้:- มีปัญหาการนอนหลับ
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- มีปัญหาเกี่ยวกับความคิด และความจำ
- เวียนศีรษะ และสับสน
9. ข้ออักเสบ
ข้ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อเกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดจาก:- กระดูกอ่อนรอบ ๆ ข้อแตกเนื่องจากข้อเข่าเสื่อม
- การติดเชื้อที่ข้อ
- โรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้อติด
- ข้อบวม อุ่น หรือแดง
- ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวข้อต่อได้อย่างที่เคย
-
ารจัดการและการรักษา:
- พักผ่อน:ให้เวลาร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นตัวโดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมากและนอนหลับให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำ:ดื่มของเหลวมากๆ เช่น น้ำหรือชาสมุนไพร เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและสนับสนุนการทำงานของกล้ามเนื้อ
- การประคบอุ่น:ใช้การประคบอุ่นหรือแผ่นความร้อนบนกล้ามเนื้อที่เจ็บ เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและเพิ่มการไหลเวียน
- การยืดกล้ามเนื้ออย่างอ่อนโยน:ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้ออย่างอ่อนโยนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการตึง
- ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์:ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟน สามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้
- การรักษาเฉพาะที่:ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งทาแก้ปวดเฉพาะที่ที่มีส่วนผสม เช่น เมนทอล การบูร หรือแคปไซซิน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- การนวดบำบัด:พิจารณาการนวดบำบัดหรือเทคนิคการนวดตัวเองเพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียน และส่งเสริมการผ่อนคลาย
- การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ:หากอาการปวดเมื่อยตามร่างกายยังคงมีอยู่หรือแย่ลง หรือหากมีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น มีไข้ ผื่น หรือหายใจลำบาก ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเงื่อนไขทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องและรับการรักษาที่เหมาะสม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น