การกินข้าวฟ่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่ (Benefits to Eating Sorghum)

ข้าวฟ่าง (Sorghum bicolor) เป็นธัญพืชที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักในตลาดอาหารโลก และเป็นธัญพืชที่ผลิตได้มากที่สุดเป็นอันดับ 5 รองลงมาจากข้าวบาร์เลย์ ข้าวข้าวสาลี และข้าวโพด แม้ว่าข้าวฟ่าง (หรือธัญพืช) ที่รู้จักกันดีจะมีต้นเตี้ย แคระแกร็น แต่ข้าวฟ่างเป็นพืชสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในอาหารบางชนิด ชื่ออื่น ๆ ที่ใช้เรียกข้าวฟ่าง ได้แก่ ข้าวฟ่างชั้นดี ข้าวฟ่างอินเดีย และโจวาร์ เป็นพืชหญ้าที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาซึ่งยังคงเป็นพืชหลักของท้องถิ่น มีการปลูกและขายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการบริโภคของมนุษย์อีกหลายประการ ข้าวฟ่างเป็นอาหารสัตว์ยอดนิยมเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่เกิดขึ้นใหม่ ในปัจจุบัน มีผู้คนมากกว่า 500 ล้านคนในกว่า 30 ประเทศที่ข้าวฟ่างมีส่วนสำคัญเกี่ยวข้องกับการถูกใช้เป็นส่วนสำคัญทางอาหารของพวกเขา และยังผู้คนอีกมากมายที่พิจารณาไปที่ลักษณะเฉพาะตัวของข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ป่วยเป็นโรค celiac ที่จะใช้ข้าวฟ่างเป็นแหล่งของแป้งที่ปราศจากกลูเตน

ข้อมูลโภชนาการ

แม้จะพบว่ามีการนำข้าวฟ่างมาแปรรูปเป็นส่วนผสมสำหรับอาหารอื่น ๆ อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็สามารถนำข้าวฟ่างมาหุงและรับประทานได้  โดย ธัญพืชข้าวฟ่างเต็มเมล็ดประมาณ ¼ ของถ้วย มีคุณค่าทางโภชนาการโดยประมาณ ดังนี้ 
  • แคลอรี่ : 163
  • โปรตีน: 5 กรัม
  • ไขมัน: 2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต: 36 กรัม
  • ไฟเบอร์: 3  กรัม 
ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารรองที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งที่พบในข้าวฟ่างโดย ข้าวฟ่าง 1/4 ถ้วย มีธาตุเหล็ดอยู่ประมาณ 12% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สารอาหารรองอื่น ๆ ที่พบในข้าวฟ่าง ได้แก่ :
  •  โพแทสเซียม
  •  ไนอาซิน
  •  ไทอามีน
  •  วิตามิน B6
  •  ฟอสฟอรัส
  •  แมงกานี
  •  แมกนีเซียม
Are There Health Benefits to Eating Sorghum

ข้าวฟ่าง สรรพคุณที่มีต่อสุขภาพ 

ข้าวฟ่างมีโครงสร้างทางเคมีที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนจากเมล็ดธัญพืชได้ยากขึ้น แม้จะมีข้อเสียเปรียบนี้ แต่จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงถึงประโยชน์ของการบริโภคข้าวฟ่างที่มีต่อสุขภาพหลายประการ

ผลในการต้านอาการอักเสบ

เป็นที่ทราบกันดีว่าข้าวฟ่างอุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอลิกซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสรหลายชนิด  นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการอักเสบบางรูปแบบได้เนื่องจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ  

ผลในการต้าน มะเร็ง 

สารประกอบฟีนอลิกหลายชนิดในข้าวฟ่างมีความเชื่อมโยงกับฤทธิ์ต้านมะเร็ง แทนนินซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดสีของเมล็ดข้าวฟ่างอาจยับยั้งเอนไซม์ที่เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งเต้านม สารประกอบฟีนอลิกอีกชุดหนึ่งที่พบในข้าวฟ่างที่มีชื่อเรียกว่า 3-deoxyanthocyanidins ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็งของมนุษย์ 

ลดน้ำหนัก 

เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่น ๆ พบว่าเป็นเรื่องยากสำหรับการย่อยแป้งข้าวฟ่างในร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ข้าวฟ่างจึงเป็นอาหารเสริมชั้นเยี่ยมที่ช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มโดยไม่ให้แคลอรี่ในอาหารที่คุณกินมากเกินไป 

ปลอดภัยจาก โรคเซลิแอค

ข้าวฟ่างและข้าวฟ่างที่ผ่านการแปรรูป รวมทั้งแป้งข้าวฟ่างได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นธัญพืชทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเซลิแอค  เกิดจากการอักเสบที่ลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ) 

ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากข้าวฟ่าง

ความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมากที่สุดของข้าวฟ่างมีความเชื่อมโยงกับศักยภาพในการเป็นสารก่อภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ข้าวฟ่าง

โรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับหญ้าและเกสรดอกไม้(ละอองเรณู)เป็นเรื่องที่พบได้ปกติมาก น่าเสียดายที่ข้าวฟ่างเป็นหญ้าและเป็นที่รู้กันว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางคน อาการแพ้อาหาร ได้แก่ รู้สึกเสียวซ่าหรือคันปาก บวมในปากและรอบ ๆ ปาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นลม ภาวะภูมิแพ้หรืออาการแพ้อย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการแพ้อาหารและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด