โรคมะเร็งผิวหนังชนิด (Basal cell carcinoma) คือ มะเร็งผิวหนังเกิดจากฐานเซลล์ที่เรียงตามผิวหนัง เป็นเซลล์ผิวเก่าที่แทนที่ด้วยเซลล์ผิวใหม่ เมื่อมี BCC เกิดขึ้นบนผิวหนังแล้วจะทำให้เกิดเป็นรอยแผลพุพอง เป็นรอยแดง มะเร็งผิวหนังชนิด Basal Cell เป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด และอาจจะไม่แพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการของโรคมะเร็งผิวหนัง BCC
อาการของโรคมะเร็งผิวหนังชนิด BCC เกิดจากผู้ที่ร่างกายได้รับแสงแดดโดยตรง เช่นบริเวณใบหน้า ใบหน้า หู ไหล่ คอ หนังศีรษะ ไปจนถึงแขน เซลล์ชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ยากในผิวที่ไม่โดนแสงแดดโดยตรง มะเร็งผิวหนัง BCC จะไม่แสดงอาการเจ็บปวด แต่จะมีเซลล์ที่ทำให้ลักษณะของอาการปรากฏแตกต่างกันออกไปดังนี้Pigmented BCC:
มะเร็งผิวหนังชนิดนี้ทำให้มีลักษณะผิวเป็นแผลสีน้ำตาลสี น้ำเงินหรือดำ และมีลักษณะขอบโปร่งแสงและนูนขึ้นมาSuperficial BCC:
มะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะมีรอยแดงเกิดขึ้นบนผิวหนังซึ่งมีลักษณะเรียบแบนแต่ผิวมีขุยสะเก็ด จะเกิดขึ้นบริเวณแผ่นหลัง หรือหน้าอกNonulcerative BCC:
มะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะปรากฏเป็นตุ่มสีขาว แดง หรือชมพู มีลักษณะโปร่งแสงจนมองเห็นเส้นเลือด มักพบได้บริเวณใบหน้า คอ และหู ผิวสามารถแตกมี เลือดออกและเป็นแผลตกสะเก็ดได้Morpheaform BCC:
มะเร็งผิวหนังชนิดนี้ พบได้น้อยสุด ผิวมีลักษณะเป็นแผลสีขาว คล้ายขี้ผึ้ง ไม่มีขอบเซลล์มะเร็งชนิดนี้ลุกลามได้ง่าย และทำลายผิวอย่างรุนแรงBasosquamous BCC:
มะเร็งผิวหนังชนิดนี้มีลักษณะคล้ายเซลล์มะเร็งชนิด squamous cell carcinoma มักพบได้ยาก แต่หากเป็นแล้ว จะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง BCC
โรคมะเร็งผิวหนัง BCC เกิดจากการสัมผัสแสงแดดหรือรังสี UV โดยตรงเป็นเวลาประจำและระยะเวลานาน ทำให้เกิดผิวไหม้และก่อเชื้อเป็นโรคมะเร็งผิวหนังปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง BCC มีดังนี้
- การสัมผัสกับรังสี
- การสัมผัสกับสารหนู
- ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นแผลติดเชื้อ การฉีดวัคซีน รอยสักและการที่ผิวถูกเผาไหม้
- ผิวอักเสบเรื้อรัง
ส่งที่มีผลต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง BCC
มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่สามารถเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมะเร็งผิวหนัง BCC เช่น- มีบุคคลครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมาก่อน
- ผู้ที่มีผิวขาว หรือคนเผือก
- ผู้ที่เป็นกระหรือผิวไหม้แดดได้ง่าย
- มีอาการทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังเช่นความผิดปกติของระบบประสาทคผิวหนังหรือมีต่อมไร้ท่อ
- ผู้ที่มีผิวขาวผม ผมสีแดงหรือสีบลอนด์ หรือมีตาสีอ่อน
- พบได้ง่ายสำหรับผู้ชาย
- อายุ ยิ่งมีอายุเพิ่มขึ้นความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
- แพ้แสงแดดเรื้อรัง
- การถูกแดดเผารุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สูงหรือสถานที่ที่มีแสงแดดจ้า
- การสัมผัสกับรังสี
- การสัมผัสสารหนู
- การใช้ยารักษาภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
การวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง
ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังระยะแรกคือการตรวจสอบสาเหตุจากภายนอกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรงว่ามีการผิดปกติของผิวหนังตั้งแต่หัวจรดเท้า และตรวจสอบดูว่ามีการเจริญเติบโตของผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงเช่นไร แพทย์จะสอบถามประวัติการรักษาของผู้ป่วยโดยตรงและสอบถามถึงบุคคลในครอบครัวว่าเคยมีประวัติการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังมาก่อนหรือไม่ หากแพทย์ตรวจสอบพบเซลล์มะเร็งกำลังเจริญเติบโต และพบการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อของผิวหนัง ซึ่งในการตรวจอาจจะใช้ยาสลบกับผู้ป่วย และทำการผ่าตัดชื้อเนื้อ และนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยกล้องจุลทรรศน์ แพทย์พบชิ้นเนื้อที่เกิดเซลล์มะเร็งแพทย์จะวิเคราะห์ขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง และตรวจวินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งได้มีการแพร่กระจ่ายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะส่วนอื่นๆ ร่วมด้วยการรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง BCC
หากพบว่าเซลล์มะเร็งกำลังเจริญเติบโต แพทย์จะใช้วิธีกำจัดเซลล์มะเร็งตรงตามตำแหน่ง ขนาดแผลและอาการ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้- การขูดออกและจี้ด้วยไฟฟ้า
-
- การผ่าตัดผิวหนัง แพทย์จะผ่าตัดผิวหนังที่ถูกเซลล์มะเร็งทำลาย และบริเวณโดยรอบด้วยมีดผ่าตัด หลังจากทำการผ่าตัดแล้ว จะใช้วิธีการเย็บแผลเพื่อปิดแผลที่ผ่าตัด วิธีจะใช้กับมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณรอบๆถูกทำลาย วิธีนี้มีอัตราความสำเร็จถึง 95%
- การรักษาด้วยวิธี MMS (Mohs Micrographic Surgery)
- การจี้เย็น
การฟื้นตัวจากการรักษา
การรักษาโรคมะเร็งผิวหนังสามารถรักษาได้ตั้งแต่วัยเด็กและยิ่งหากรักษาเร็วจะทำให้ง่ายต่อการฟื้นตัว การรักษาโรคมะเร็งผิวหนังทุกวิธีจะมีรอยแผลเป็นควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเพื่อลดรอยแผลอย่าเคร่งครัดดังนี้- รักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด
- ใช้ขี้ผึ้งทาวันละหลายๆครั้งเพื่อช่วยรักษารอยแผลและปิดแผลด้วยผ้าพันแผล
- เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
โรคมะเร็งผิวหนัง BCC สามารถป้องกันได้หรือไม่
การหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับแสงแดด หรือรังสี UV เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคมะเร็งผิวหนัง BCC ไม่ควรให้ผิวได้รับแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลาที่มีแดดแรงที่สุดในระหว่างวัน ไม่ควรอาบแดด และควรใช้ครีมกันแดดเป็นประจำก่อนออกข้างนอก ควรใช้ครีมที่มีค่า SPF 15 หรือมากกว่า ควรสวมใส่เสื้อผ้าและหมวกให้มิดชิด หากจำเป็นต้องอยู่ภายใต้แสงแดด การตรวจเพื่อรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง BCC ในระยะแรก ส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นน้อยกว่าการปล่อยทิ้งไว้นานแล้วถึงได้รับการรักษา ควรได้รับการตรวจโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นประจำทุกปีหากพบว่าผิวหนังมีอาการผิดปกติโรคมะเร็งผิวหนัง BCC ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของเซลล์มะเร็ง BCC คือการเกิดเซลล์มะเร็งผิวหนังซ้ำ ถึงแม้ว่าจะรักษาหายไปแล้วก็ตาม ผู้ป่วยบางรายสามารถเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นในบริเวณเดียวกัน หากเกิดขึ้นอีก ควรรีบพบแพทย์และควรรับการรักษาโดยทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวถูกทำลาย โรคมะเร็งผิวหนัง BCC หากเป็นแล้ว เซลล์มะเร็งสามารถลุกลามและทำลายผิวหนัง และกระดูก รวมทั้งกล้ามเนื้อเส้นประสาน และยังลุกลามไปยังอวัยวะส่วนสำคัญของร่ายกายและทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.skincancer.org/skin-cancer-information/basal-cell-carcinoma/bcc-treatment-options/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/basal-cell-carcinoma/diagnosis-treatment/drc-20354193
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4078227/
- https://dermnetnz.org/topics/basal-cell-carcinoma/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น