ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation : AF)

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วคืออะไร

Atrial Fibrillation (AF) คือ ภาวะความผิดปกติชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจ โดยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อย ซึ่งเป็นความผิดปกติที่รบกวนการหมุนเวียนของเลือดตามปกติ ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดในสมอง การเกิดภาวะหัวใจห้องบนทั้งสองห้องเต้นพลิ้ว (AF) ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดีทำให้เลือดไปที่หัวใจห้องล่างสองห้องได้น้อยและออกไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยด้วยเช่นกัน หากปล่อยให้เกิดภาวะนี้และไม่ทำการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามอาการห้แงหัวใจสั่น อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือครั้งคราวและเกิดขึ้นถาวรได้ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 65 ปี แต่หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ที่มีอาการดังกล่าวก็สามารถดำรงชีวิตต่อไปตามปกติได้

อาการโรค AF 

คุณอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ แต่หากมีก็อาจมีอาการดังนี้

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ภาวะ Paroxysmal AFib หมายถึงอาการหัวใจห้องบนเต้นพลิ้วที่หายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อาจต้องได้รับยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอีก รวมถึงหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้คุณอาจมีอาการหัวใจสั่นนานหลายนาทีไปจนถึงเป็นชั่วโมง หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวัน หมายความว่าเป็นมีอาการหัวใจสั่นเรื้อรัง

Atrial Fibrillation : AFแนวทางการรักษา AF

หากคุณไม่มีอาการหัวใจสั่นที่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาโรคหัวใจ รวมถึงอาการที่เกิดขึ้นหายไปเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากต้องรักษา แพทย์อาจให้ยาต่อไปนี้:
  • ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ยาปิดกั้นแคลเซียมเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนและลดการเต้นของหัวใจ
  • ยาขัดขวางการเคลื่อนตัวของโซเดียมและโพแทสเซียม เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ยา Digitalis Glycosides เพื่อให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น
  • ยาทำให้เลือดจาง เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ไม่ใช่วิตามินเค เป็นยาที่นิยมใช้กับโรคนี้ รวมทั้ง Rivaroxaban (Xarelto) และ Apixaban (Eliquis) การให้ยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้เพื่อให้หัวใจเต้นเป็นปกติและทำให้การทำงานของหัวใจโดยรวมดีขึ้น ยาเหล่านี้ยังช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และผลข้างเคียงอื่นๆเช่นหัวใจวาย และโรคของเส้นเลือดสมอง

สาเหตุของโรค AF

หัวใจมีสี่ห้อง ห้องบนสองห้อง ห้องล่างสองห้อง หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วเกิดเมื่อห้องหัวใจไม่ทำงานตามจังหวะ เพราะการส่งกระแสไฟฟ้าไปที่กล้ามเนื้อหัวใจผิดพลาดไป ปกติแล้ว หัวใจสองห้องบนและสองห้องล่างบีบตัวด้วยความเร็วเท่ากัน แต่เมื่อเกิดหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว จังหวะของหัวใจห้องบนและล่างจะต่างกัน เพราะหัวใจห้องบนเต้นเร็วมากและไม่เป็นจังหวะ ยังไม่ทราบสาเหตุของหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว แต่ภาวะที่ทำให้หัวใจเสียหายและก่อให้เกิดหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว  เช่น: การมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยลดการเกิดหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว  เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ควรแจ้งให้แพทย์ให้ทราบถึงประวัติทางสุขภาพทั้งหมดของคุณ เพื่อที่จะได้หาสาเหตุและบางครั้งอาจสามารถรักษาได้

  นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด