ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วคืออะไร
Atrial Fibrillation (AF) คือ ภาวะความผิดปกติชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจ โดยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อย ซึ่งเป็นความผิดปกติที่รบกวนการหมุนเวียนของเลือดตามปกติ ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดในสมอง การเกิดภาวะหัวใจห้องบนทั้งสองห้องเต้นพลิ้ว (AF) ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดีทำให้เลือดไปที่หัวใจห้องล่างสองห้องได้น้อยและออกไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยด้วยเช่นกัน หากปล่อยให้เกิดภาวะนี้และไม่ทำการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามอาการห้แงหัวใจสั่น อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือครั้งคราวและเกิดขึ้นถาวรได้ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 65 ปี แต่หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ที่มีอาการดังกล่าวก็สามารถดำรงชีวิตต่อไปตามปกติได้อาการโรค AF
คุณอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ แต่หากมีก็อาจมีอาการดังนี้
- ใจสั่น (รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นข้ามจังหวะ เต้นเร็วไปหรือแรงไป หรือเต้นระรัว)
- เจ็บหน้าอก
- อ่อนเพลีย
- หายใจตื้น
- วิงเวียนศีรษะ
- มึนงง
- เป็นลม
- สับสน
- เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายไม่ได้นาน
แนวทางการรักษา AF
หากคุณไม่มีอาการหัวใจสั่นที่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาโรคหัวใจ รวมถึงอาการที่เกิดขึ้นหายไปเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากต้องรักษา แพทย์อาจให้ยาต่อไปนี้:- ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
- ยาปิดกั้นแคลเซียมเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนและลดการเต้นของหัวใจ
- ยาขัดขวางการเคลื่อนตัวของโซเดียมและโพแทสเซียม เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
- ยา Digitalis Glycosides เพื่อให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น
- ยาทำให้เลือดจาง เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
สาเหตุของโรค AF
หัวใจมีสี่ห้อง ห้องบนสองห้อง ห้องล่างสองห้อง หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วเกิดเมื่อห้องหัวใจไม่ทำงานตามจังหวะ เพราะการส่งกระแสไฟฟ้าไปที่กล้ามเนื้อหัวใจผิดพลาดไป ปกติแล้ว หัวใจสองห้องบนและสองห้องล่างบีบตัวด้วยความเร็วเท่ากัน แต่เมื่อเกิดหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว จังหวะของหัวใจห้องบนและล่างจะต่างกัน เพราะหัวใจห้องบนเต้นเร็วมากและไม่เป็นจังหวะ ยังไม่ทราบสาเหตุของหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว แต่ภาวะที่ทำให้หัวใจเสียหายและก่อให้เกิดหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว เช่น:- ความดันโลหิตสูง
- หัวใจล้มเหลว
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคลิ้นหัวใจ
- กล้ามเนื้อหัวใจโต
- การผ่าตัดหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- ไทรอยด์ทำงานมากไป
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ยาบางชนิด
- ดื่มเหล้าอย่างหนัก
- โรคของต่อมไทรอยด์
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/atrial-fibrillation/symptoms-causes/syc-20350624
- https://www.nhs.uk/conditions/atrial-fibrillation/
- https://www.heart.org/en/health-topics/atrial-fibrillation/what-is-atrial-fibrillation-afib-or-af
- https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น