สิ่งควรรู้เกี่ยวกับยาเคตามีน (What is Ketamine)

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับยาเคตามีน

ยาเคตามีนคืออะไร

สารเคตามีน (ชื่อยี่ห้อ Ketalar ) เป็นยาชาชนิดฉีดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทสัมผัส โดยเริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงปี 1970 ทั้งในคนและสัตว์  Esketamine (Spravato) เป็น S-enantiomer ของ Ketamine (Racemic form) ผ่านการรับรองในปี 2019 อนุญาติให้ใช้เพื่อต้านอาการซึมเศร้าและได้รับอนุญาติให้ใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีความคิดหรือพฤติกรรมต้องการฆ่าตัวตาย  Ketaset เป็นชื่อยี่ห้อยาที่ใช้เป็นยาชาสำหรับการผ่าตัดในสัตว์โดยสัตวแพทย์ ยาเคตามีนเป็นยาหลอนประสาทสามารถทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยินเสียงและการอยู่ในสภาพแวดล้อม ยาเคตามีนมีลักษณะเป็นของเหลวใสหรือผงสีขาวขุ่น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ฉีดหรือสูดเข้าทางจมูก  ตัวอย่างของยาหลอนประสาทได้แก่ยาเฟนไซคลิดีน (PCP)  และ ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (DXM) ยาเคตามีนจัดอยู่กลุ่มยาเสพติด ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมยาเสพติด อย่างไรก็ตามยาชนิดนี้ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของสารโอปิออยด์หรือสารพวกบาร์บิทูเรทส์

ทำไมถึงใช้ยาเคตามีนในทางการแพทย์

  • ยาเคตามีนสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและการสูญเสียความทรงจำในระยะสั้น เช่น นำมาใช้รักษาอาการความจำเสื่อมทางการแพทย์
  • ในการผ่าตัดมีการนำยาชนิดนี้มาเป็นตัวชักนำและระงับประสาท เพื่อกดประสาทและให้ยาชาทั่วไป
  • ยาชนิดนี้ยังนำมาใช้เพื่อควบคุมอาการเจ็บปวดจากบาดแผลเผาไหม้และการสู้รบ รวมถึงใช้ในเด็กที่ไม่สามารถใช้ยาชาชนิดอื่นได้เนื่องจากผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ 
  • ยาเคตามีนออกฤทธิ์ปิดกั้น N-methyl-D-aspartate (NMDA)  ด้วยการทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วในการควบคุมอาการซึมเศร้าและความคิดที่แสดงออกถึงพฤติกรรมต้องการฆ่าตัวตาย
  • การใช้ยาเคตามีนในขนาดปกติ โดยส่วนใหญ่หมายถึงการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกิดอาการบีบเกร็งของหลอดลมและหายใจลำบาก

คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาเคตามีน

ยาเคตามีนออกฤทธิ์ต้านตัวรับ N-methyl-D-aspartate (NMDA) และยับยั้งตัวรับ   HCN1 อย่างไรก็ตามหากใช้ในปริมาณที่สูงขึ้นอาจออกฤทธิ์จับกับตัวรับ mu หรือ sigma ซึ่งเป็นการรบกวนสารสื่อประสาทกลูตาเมท (สารเคมีในสมอง)  สารกลูตาเมตเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จดจำ อารมณ์และการจดจำความเจ็บปวด ด้วยการออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของประสาทซิมพาเธติกส่งผมให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและความดันเลือดสูง นอกจากนี้สารสื่อประสาทกลูตาเมตยังมีความเกี่ยวข้องกับยาเฟนไซคลิดีน (PCP)  แต่ต้องใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า 10% ของยาเฟนไซคลิดีน (PCP) บริสุทธิ์ สารชนิดนี้เป็นสารประกอบที่ละลายในไขมันได้ โดยเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและในปริมาณมากมีระยะเวลาครึ่งชีวิตอยู่ที่ 10 ถึง 15 นาที ต่อมายาชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่ออวัยวะส่วนปลายของร่างกายด้วยระยะเวลาครึ่งชีวิตสูงสุด 3 ชั่วโมงผ่านการเผาผลาญที่ตับและการขับถ่ายปัสสาวะWhat is Ketamine

การใช้ยาเคตามีนในทางที่ผิดเป็นอย่างไร

นอกจากการใช้เป็นสารเสพติดผิดกฎหมายและทางการแพทย์แล้ว ยาเคตามีนยังถูกนำมาสังเคราะห์กลายเป็นยาหลอนประสาทและยังนำมาใช้เป็นยา “ปลุกเซ็กซ์” อีกด้วย โดยปกติการนำยาเคตามีนมาใช้เป็สารเสพติด มักใช้ด้วยการพ่นหรือสูดเข้าจมูก นอกจากนี้ยังใช้ฉีด ทานในลักษณะของเหลวหรือสูบเป็นบุหรี่หรือกัญชา โดยส่วนใหญ่การใช้เป็นยาเสพติดมักใช้ร่วมกับสารอื่นๆด้วย เช่นโคเคนหรือแอมเฟตามีน หากนำตัวยาหลายชนิดมาใช้รวมกันส่งผลให้เสียชีวิตได้ การใช้ยาผิดประเภทมักได้รับยามาจากผู้ค้ายาเสพติดหรือยาจำหน่ายตามใบสั่งยา แต่การสังเคราะห์ยาเสพติดเองสามารถพบได้ตามท้องถนนทั่วไป

ยาเคตามีนออกฤทธิ์รวดเร็วขนาดไหน

  • การฉีดเข้าสู่ร่างกายทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุด โดยยาจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 2 นาที
  • “การสูดเข้าจมูก” ออกฤทธิ์ตลอด 5-15 นาที (เป็นวิธีการใช้เป็นสารเสพติดที่พบทั่วไปมากที่สุด)
  • การทานใช้เวลาออกฤทธิ์ระหว่าง 5-30 นาที
โดยปกติการออกฤทธิ์เกิดขึ้นในระยะเวลาสูงสุด 1-2 ชั่วโมง แต่ว่าหากผู้ใช้สามารถจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ได้การออกฤทธิ์ของยาสามารถเกิดขึ้นได้สูงสุด 24 ชั่วโมง โดยความรู็สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ได้แก่อาการล่องลอย ตื่นตระหนกและการมองเห็นผิดปกติ การใช้ยาเคตมีนในปริมาณที่สูงอาจเป็นอันตราย เนื่องจากลดอัตราการหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เสียสมดุล มองเห็นภาพผิดปกติ พูดไม่ชัด คลื่นไส้และอาเจียน รวมถึงมีอาการสับสนอย่างรุนแรง การใช้ยาผิดปกติหมายถึงการที่ผู้ใช้ปล่อยให้ตัวเองใช้ยาเกินขนาดในระยะเวลาสั้นๆ เช่นกัน

 ปริมาณการใช้ยาเคตามีนเพื่อสันทนาการโดยทั่วไป

โดส การใช้งาน
75 to 125 mg การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) หรือ  ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
60 to 250 mg ยาพ่น  (รูจมูก)
50 to 100 mg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV)
200 to 300 mg ใช้สำหรับรับประทาน
ข้อมูลปัจจุบัน ปี 2020 นอกจากนี้การใช้ยาปริมาณมากยังทำให้เกิดการเห็นภาพหลอนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของภาพหลอนด้วยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้า เมื่อใช้ยาเคตามีนเกินขนาดผิดปกติหรือใช้อย่างเร่งด่วยทำให้เกิดกระบวนการของความฝันและ “ถอดจิต” “ระบบหายใจขัดข้อง” หรือ “ใกล้ตาย” เห็นภาพหลอน โดยปกติมักเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา สำหรับการใช้ในปริมาณน้อย เช่น ใช้เพื่อความสนุกสนาน ยาเคตามีนสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆตามมาเช่น
  • รู้สึกใจเย็นและผ่อนคลาย หายเจ็บป่วย
  • มีอาการซึมเศร้า
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ไม่รู้สึกตัว
  • พูดชัด
  • การตอบสนองของร่างกายลดลง
  • เห็นภาพหลอนประมาณ 30-60 นาที
  • อาการตากระตุก (ตากระตุกซ้ำและไม่สามารถควบคุมตาได้)

อันตรายต่อสุขภาพและผลข้างเคียงจากยาเคตามีน

การใช้ยาเคตามีนผิดปกติสามารถเชื่อมโยงกับปัญหาร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
  • ระยะสั้น : มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิจดจ่อ เรียนรู้และจดจำ มีอาการเพ้อ เห็นภาพหลอน เฉื่อยชา สับสนงุนงง สูญเสียความทรงจำ ความดันโลหิตสูง หมดสติ หายใจสั้นอย่างเป็นอันตราย
  • ระยะยาว : มีแผลและปวดกระเพาะปัสสาวะ มีปัญหาเกี่ยวกับไต ปวดท้อง ซึมเศร้า สูญเสียความทรงจำ
ผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับการยาเคตามีนเมื่อใช้ในทางการแพทย์ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เห็นภาพซ้อน ง่วงซึม มีอาการกังวลและงุนงงสับสน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเป็นติดเชื้อ  HIV ไวรัสตับอักเสบและโรคเกี่ยวกับการติดเชื้ออื่นๆ จากการใช้เข็มร่วมกัน ยาเคตามีนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ในผู้ที่ใช้แอลกอฮอลหรือมีอาการมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ มีงานวิจัยในสัตว์พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มมาขึ้น เมื่อใช้ยาเคตามีนร่วมกับคาเฟอีน ในทางทฤษฎีมีความกังวลในผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือมีพฤติกรรมเที่ยวตอนกลางคืน โดยผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจใช้ยาเคตามีนผิดปกติได้ ความรุนแรงของผลข้างเคียงเกี่ยวข้องกับขนาดของยาที่ใช้ ซึ่งผลข้างเคียงได้แก่ ผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ ความผิดปกติและปอดอักเสบติดเชื้อ สำหรับการใช้ยาเคตามีนผิดปกติผ่าการฉีดพ่นจมูก (“สูดเข้าจมูก”) ทำให้อาการไม่พึงประสงค์อาจรุนแรงน้อยกว่า แต่ยังคงมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้แก่อัตราหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง เห็นภาพหลอน หมดสติและต้องนำตัวส่งแผนกฉุกเฉิน โดยส่วนใหญ่พบว่าเกิดผลข้างเคียงมาจากการ “สูดเข้าจมูก” ผลข้างเคียงสามารถหายไปเองได้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับระดับเดิม มีงานวิจัยระบุว่าผลข้างเคียงจะหายไปเมื่อเวลาผ่านไป  โรคประสาทดิสโซซิเอชั่นเป็นโรคที่มีอาการเกี่ยวกับการรับแสงและเสียง รวมถึงทำให้เกิดอาการไม่รู้สึกตัว การหยุดใช้ยาสามารถทำได้หลังจากการเสพติดเรื้อรัง โดยอาการที่เกิดขึ้นหลังหยุดใช้ยาเคตามีนได้แก่ มีเหงื่อออก หนาวสั่น เห็นภาพหล่อน ตื่นตระหนก น้ำตาไหล  ความเสี่ยงติดเชื้อ HIV ไตอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เมื่อใช้ยาเสพติดเพื่อความสนุกสนาน

การใช้เกินขนาด

  • เมื่อใช้ยาเคตามีนเกินขนาด ควรโทรหาสายด่วนหน่วยฉุกเฉินทันที เช่นเบอร์ 1669
  • ปัจจุบันยังที่ไม่มีการถอนพิษ เมื่อใช้งานเกินขนาดจำเป็นต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล โดยปกติอาการที่ไม่พึงประสงค์สามารถรักษาได้ภายใน 1-3 ชั่วโมง
  • ยานอนหลับกลุ่ม Benzodiazepines เช่น ยา Lorazepam อาจนำมาใช้กับผู้ที่มีอาการลมชัก ตื่นตระหนกหรือกล้ามเนื้อตึง
  • ไม่จำเป็นต้องใช้การใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องระบายอากาศและการให้ออกซิเจนเพิ่มเติม อัตราหายใจที่ลดลงอาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาระงับระบบประสาท
  • ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิด ควรเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาโดยผู้เชี่ยวชาญ

การใช้นานเกินปกติ

แหล่งที่มาของยาเคตามีนที่รู้จักเพียงอย่างเดียวคือการใช้ยาในทางที่ผิดจากข้อบ่งใช้ โดยปกติมักเป็นนำมาผลิตเป็นยาเสพติดและใช้วิธีการเสพในรูปแบบไอน้ำหรือฉีดเข้าเส้นเลือด นอกจากนี้ยังนำมาอัดเม็ดเป็นยาที่ใช้ขายหรือเสพด้วยการสูดผงยาเคตามีนเข้าจมูก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเคตามีน

เคตามีนเป็นยาที่ใช้เป็นหลักในการกระตุ้นและรักษาการดมยาสลบในขั้นตอนการผ่าตัดและทางการแพทย์ ได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสำหรับการใช้ที่มีศักยภาพในการรักษาภาวะซึมเศร้าและสภาวะสุขภาพจิตบางอย่าง ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเคตามีน:
  • เคตามีนใช้ทำอะไร?
      • เคตามีนมักใช้เป็นยาชาในระหว่างการผ่าตัดและหัตถการทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อใช้รักษาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ
  • เคตามีนออกฤทธิ์อย่างไร?
      • เชื่อกันว่าเคตามีนออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นตัวรับบางอย่างในสมอง และส่งผลต่อสารสื่อประสาท เช่น กลูตาเมตและเซโรโทนิน กลไกที่แม่นยำในการรักษาภาวะซึมเศร้ายังอยู่ระหว่างการศึกษา
  • การบำบัดด้วยการแช่เคตามีนคืออะไร?
      • การบำบัดด้วยการแช่เคตามีนเกี่ยวข้องกับการให้เคตามีนทางหลอดเลือดดำ (IV) เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าและภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ โดยทั่วไปจะมีการจัดการในสถานพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์
  • เคตามีนมีประสิทธิภาพสำหรับภาวะซึมเศร้าและสภาวะสุขภาพจิตหรือไม่?
      • เคตามีนแสดงให้เห็นสัญญาณในการบรรเทาอาการภาวะซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาและสภาวะสุขภาพจิตบางอย่างได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลและความปลอดภัยในระยะยาวยังอยู่ระหว่างการวิจัย
  • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากเคตามีนคืออะไร?
      • ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคตามีน ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ การแยกตัวออกจากกัน และคลื่นไส้ การใช้ในปริมาณมากหรือใช้ในทางที่ผิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงอาการประสาทหลอน ความสับสน และประสบการณ์ที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน
  • เคตามีนปลอดภัยสำหรับการใช้งานในระยะยาวหรือไม่?
      • ความปลอดภัยในระยะยาวของเคตามีนในการรักษาภาวะสุขภาพจิตยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยทั่วไปจะใช้ในระยะสั้น และควรประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์อย่างรอบคอบ 
  • เคตามีนเสพติดหรือไม่?
      • เคตามีนมีแนวโน้มที่จะใช้ในทางที่ผิดและติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ การใช้ทางการแพทย์และการรักษาได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงของการติดยา
  • เคตามีนใช้รักษาโรคซึมเศร้าอย่างไร?
    • โดยทั่วไปแล้วเคตามีนสำหรับภาวะซึมเศร้าจะได้รับผ่านทางการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV) สเปรย์ในจมูกหรือยาเม็ดในช่องปาก การเลือกวิธีการบริหารขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://clinmedjournals.org/articles/ijda/international-journal-of-depression-and-anxiety-ijda-1-006.php?jid=ijda
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4059572/
  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27261367/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด