ค่าออกซิเจนในเลือดคือ อะไร
ระดับออกซิเจนในเลือด หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในเลือดของร่างกาย เมื่อปริมาณนั้นลดลงกว่าระดับปกติแสดงว่าเกิดภาวะที่เรียกว่า Hypoxemia พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรืออยู่ในบริเวณที่มีระดับออกซิเจนในอากาศต่ำนานเกินไป ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เครื่องมือวัดออกซิเจนบางชนิด ที่ยึดติดกับนิ้วของผู้ที่ต้องการวัด จะช่วยให้ทราบระดับออกซิเจนในเลือดได้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทราบระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้อย่างทันท่วงที หากพบปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมระดับออกซิเจนปกติ
คนส่วนมากที่มีปอดมีปัญหามักมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ํากว่าปกติ การวัดระดับออกซิเจนที่ดีที่สุดคือ การวัดระดับก๊าซในเลือดแดง (ABGs) วัดในหน่วยมิลลิเมตรของปรอท หรือมิลลิเมตรปรอท โดยออกซิเจนในเลือดระดับปกติจะอยู่ในช่วง 75 ถึง 100 มม. ปรอท เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่า 60 มม. ปรอท แสดงว่าเกิดภาวะออกซิเจนต่ำได้ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะปอดมีปัญหา แพทย์จึงพิจารณาแนวทางการเสริมออกซิเจน เพื่อช่วยรักษาค่าออกซิเจนในเลือดให้เป็นปกติ แพทย์อาจพิจารณาวิธีในการเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย และผู้ป่วยควรติดตามวัดผลด้วยตนเองเป็นระยะ ๆ หากพบว่าระดับออกซิเจนต่ำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพื่อให้แพทย์ปรับแนวทางการรักษาและมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งเป็นสถานการณ์เฉพาะของผู้ป่วยแต่ละคนภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia)
ภาวะพร่องออกซิเจนมีอยู่หลายสาเหตุ โดยภาวะ Hypoxia จะทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายต่ํา ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ร่วมถึงการทำงานของร่างกาย และสมองจะด้อยประสิทธิภาพลง สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ เมื่อขึ้นไปอยู่บนที่สูง เช่น ยอดเขา การขึ้นบินด้วยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเกิดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ทำให้มีออกซิเจนในอากาศเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปก็จะได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ภาวะพร่องออกซิเจนยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น- ร่างกายได้รับยาที่มีฤทธิ์ทาให้หายใจได้ช้าลง หรือได้รับสารพิษที่ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนมาใช้ได้ตามปกติ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ยาเสพติด และสารไซยาไนด์
- ร่างกายได้รับสารพิษจากสภาพแวดล้อม เช่น ควันพิษ แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารไซยาไนด์ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะที่หยุดหายใจขณะนอนหลับ รวมถึงภาวะซีด และโรคโลหิตจาง ทำให้มีจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้แรงดันเลือดจากหัวใจลดลง หัวใจไม่สามารถสูบฉีดออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ
ความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน
สามารถแบ่งความรุนแรงของภาวะนี้ได้ 3 ระดับคือ- 1 ออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) จะอยู่ที่ 60-80 มิลลิเมตรปรอท
- 2 ออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) จะอยู่ที่ 40-60 มิลลิเมตรปรอท
- 3 ออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) จะต่ำกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท
ประเภทของการให้ออกซิเจน
การเพิ่มออกซิเจนในเลือดมีหลายวิธี ได้แก่ การให้แก๊สออกซิเจน แก๊สออกซิเจนจะถูกบรรจุเอาไว้ในถังขนาดพกพา หรือภาชนะบรรจุที่มีแรงดัน สามารถใช้เครื่องผลิตออกซิเจนขนาดใหญ่ที่ใช้ตามบ้าน หรือเป็นถังขนาดเล็กที่สามารถพกพาออกไปนอกบ้านได้ ถังออกซิเจนสําหรับผู้ป่วยมักใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริม เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยาวนานขึ้น การให้ออกซิเจนเหลว มีความเข้มข้นของออกซิเจนสูง โดยบรรจุอยู่ในถังความดัน แต่โดยทั่วไปจะมีปริมาณมากกว่าแบบแก๊ส หากทิ้งเอาไว้นาน และเก็บไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้ระเหยสูญเสียไปได้ แต่สามารถเติมเพิ่มได้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณมาก ๆ หรือต้องใช้ร่างกายมาก อุปกรณ์ให้ออกซิเจน ได้แก่ เครื่องผลิตออกซิเจน ( Oxygen Concentrator ) เป็นอุปกรณ์การให้ออกซิเจนในผู้ป่วยจากถังผลิตผ่านทางท่อ และเข้าสู่ปอดผ่านท่อสายยางที่ส่งออกซิเจนเข้าทางจมูก ด้วยหน้ากาก หรือท่อที่ต่อเข้าโดยตรงกับหลอดลม การให้ออกซิเจนผ่านสายยางเข้าสู่จมูกจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว หรือพูดได้สะดวก แต่มักให้ปริมาณออกซิเจนที่น้อยกว่าวิธีอื่น ๆ การสวมหน้ากากจะทำให้ไม่สะดวกในการพูด และการรับประทานอาหารได้ นอกจากนั้น อุปกรณ์ชนิดนี้พกพาได้ไม่สะดวกเท่าวิธีอื่น ๆ การให้ออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เป็นวิธีการให้ออกซิเจนคนป่วยในห้องที่มีแรงดัน เมื่อหายใจผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไป ซึ่งในห้องที่ใช้รักษาจะมีแรงดันบรรยากาศสูงกว่าปกติ 3 หรือ 4 เท่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดี วิธีการนี้มักใช้เพื่อรักษาบาดแผล ลดปัญหาที่เกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง หรือเมื่อพบฟองอากาศในเลือด แต่วิธีการบำบัดนี้ต้องใช้ความระมัดระวังสูง ควรดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ มิฉะนั้นอาจเกิดอันตราย เช่น การบาดเจ็บที่หูชั้นกลาง มีของเหลวไหลซึม หรือเยื่อแก้วหูฉีก เนื่องจากผลกระทบของแรงดันอากาศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอาการปอดยุบตัว (Lung Collapse) เนื่องจากความดันที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย การให้ออกซิเจนจากถัง (Oxygen Cylinders) เป็นวิธีการให้ออกซิเจนภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่ออกของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือท่อสายยาง โดยจะหยุดการให้ออกซิเจน เมื่อออกซิเจนในเลือดกลับสู่ภาวะปกติ เครื่องให้ออกซิเจนแบบพกพา (Portable Oxygen) เป็นวิธีการให้ออกซิเจนที่ผู้ป่วยสามารถเดินไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่ต้องอยู่ในความพิจารณาของแพทย์ด้วย ในกรณีของผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีการนี้ เครื่องให้ออกซิเจนชนิดนี้จะให้ออกซิเจนได้อย่างน้อย 2 ลิตรต่อนาที สามารถให้ออกซิเจนติดต่อกันนานประมาณ 2 ชั่วโมง
ข้อเท็จจริงของออกซิเจน
ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก คุณสมบัติและบทบาทในกระบวนการต่างๆ ทำให้ออกซิเจนเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับออกซิเจนมีดังนี้:- สัญลักษณ์ทางเคมี:
-
-
- ออกซิเจนแสดงด้วยสัญลักษณ์ทางเคมี “O” บนตารางธาตุ
-
- ความอุดมสมบูรณ์:
-
-
- ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบที่มีมากเป็นอันดับสามในจักรวาลและคิดเป็นประมาณ 21% ของชั้นบรรยากาศของโลก
-
- บทบาททางชีวภาพ:
-
-
- ในระบบทางชีววิทยา ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลล์เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน สัตว์ต่างๆ รวมถึงมนุษย์ต้องอาศัยออกซิเจนเพื่อความอยู่รอด
-
- การสังเคราะห์ด้วยแสง:
-
-
- ออกซิเจนถูกสร้างขึ้นในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยที่พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดจะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และแสงให้เป็นออกซิเจนและกลูโคส
-
- ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น:
-
-
- ออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ในรูปบริสุทธิ์
-
- ก๊าซออกซิเจน:
-
-
- ภายใต้สภาวะมาตรฐาน ออกซิเจนจะมีอยู่ในโมเลกุลไดอะตอมมิก (O2) ซึ่งหมายความว่าประกอบด้วยอะตอมออกซิเจนสองอะตอมที่ถูกพันธะเข้าด้วยกัน
-
- รองรับการเผาไหม้:
-
-
- ออกซิเจนรองรับการเผาไหม้ และไฟต้องใช้ออกซิเจนในการเผาไหม้ คุณสมบัตินี้เป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องดับเพลิงจึงทำงานโดยการถอดหรือเปลี่ยนออกซิเจน
-
- การบำบัดด้วยออกซิเจน:
-
-
- ออกซิเจนทางการแพทย์ใช้ในการบำบัดด้วยออกซิเจนเพื่อรักษาสภาวะต่างๆ รวมถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด
-
- หัวออกซิเจน:
-
-
- หัวออกซิเจนเป็นอุปกรณ์ที่สกัดและให้ออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงจากอากาศเพื่อใช้ในทางการแพทย์หรืออุตสาหกรรม
-
- ชั้นโอโซน:
-
-
- ชั้นโอโซนในสตราโตสเฟียร์ของโลกประกอบด้วยโอโซน (O3) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมออกซิเจนสามอะตอม ชั้นโอโซนมีบทบาทสำคัญในการดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
-
- ออกซิเจนเหลว:
-
-
- ออกซิเจนสามารถมีอยู่ในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิต่ำมาก ออกซิเจนเหลวถูกนำมาใช้ในการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการขับเคลื่อนจรวด
-
- คุณสมบัติพาราแมกเนติก:
-
-
- ออกซิเจนเป็นแบบพาราแมกเนติก ซึ่งหมายความว่ามันถูกดึงดูดเข้ากับสนามแม่เหล็ก คุณสมบัตินี้มีการใช้งานในเทคโนโลยีการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)
-
- ถังออกซิเจน:
-
-
- ออกซิเจนมักถูกบีบอัดและเก็บไว้ในกระบอกสูบเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการใช้งานทางการแพทย์และการใช้งานทางอุตสาหกรรม
-
- เปลือกโลก:
-
-
- ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญของเปลือกโลก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 46.6% ของเปลือกโลกโดยน้ำหนัก
-
- การค้นพบ:
-
- ออกซิเจนถูกค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 18 โดยนักวิทยาศาสตร์เช่น Carl Wilhelm Scheele, Joseph Priestley และ Antoine Lavoisier ซึ่งรับรู้และจำแนกคุณสมบัติของออกซิเจนได้อย่างอิสระ