ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คือ การที่ลำไส้เกิดอาการบวมและเป็นแผลที่เยื่อบุของลำไส้ใหญ่หรือทวาหนัก
ลำไส้อักเสบ จัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
การอักเสบจะทำให้เกิดแผลเล็กๆบริเวณเยื่อบุ ส่วนมกจะเริ่มที่ทวารหนักลามขึ้นไปด้านบน ซึ่งอาจส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
การอักเสบทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบ่อยๆ เมื่อเซลล์บริเวณนั้นตายลำไส้จะเกิดแผล ซึ่งอสจทำให้เลือดออกหรือมีมูกและหนองไหลออกมา
โรคนี้สามารถพบได้ในทุกวัน แต่ส่วนมากจะพบในคนวัย 15-35 ปี และจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้น้อยลงเมื่อมีอายุ 50 ปี
อาการของลำไส้อักเสบ
ความรุนแรงของอาการลำไส้อักเสบจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งอาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผู้ที่รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ บางครั้งอาจมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการให้เห็นเลย เรียกว่า อาการบรรเทา ซึ่งสามารถกลับมามีอาการรุนแรงได้ อาการทั่วไปที่สามารถพบได้ในโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ :- ปวดท้อง
- ท้องมีเสียงดัง
- ถ่ายเป็นเลือด
- ท้องเสีย
- มีไข้
- ปวดทวารหนัก
- น้ำหนักลด
- ขาดสารอาหาร
สาเหตุของลำไส้อักเสบ
นักวิจัยเชื่อว่า อาการลำไส้อักเสบเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนว่าทำไมระบบภูมิคุ้มกันถึงโจมตีลำไส้ใหญ่ไม่ใช้ส่วนอื่น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ :- ยีน : คุณอาจจะได้รัยความเสี่ยงมาจากพ่อและแม่ของคุณ
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ : ภูมิคุ้มกันที่บกพร่องทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ : แบคทีเรีย ไวรัสและแอนติเจนต่างๆ อาจจะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของบคุณทำงานมากกว่าปกติ
วิธีการรักษาลำไส้อักเสบ
เป้าหมายของการรักษาคือลดอาการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลัก เพื่อที่จะบรรเทาให้อาการไม่รุนแรงมากขึ้นการใช้ยา
แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยลดอาการอักเสบและบวม เพื่อลดอาการข้างเคียงอื่นๆ โดยแพทย์จะสั่งยาต่างๆดังนี้ :- mesalamine (Asacol and Lialda)
- sulfasalazine (Azulfidine)
- balsalazide (Colazal)
- olsalazine (Dipentum).
การรักษาในโรงพยาบาล
ถ้าหากคุณมีอาการรุนแรง จำเป็นที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบางเพื่อป้องกันการขาดน้ำและสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ที่ทำให้มีอาการท้องเสีย รวมไปถึงอาจจะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือดเพื่อป้องการภาวะแทรกซ้อน นักวิจัยยังคงหาวิธีการรักษาใหม่ๆทุกปีการผ่าตัด
การผ่าตัดจะจำเป็นก็ต่อเมื่อ คุณมีอาการเสียเลือดมากหรือมีอาการเรื้อรังที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ลำไส้ทะลุหรือมีอาการอุดตัน การทำ CT scan หรือ Colonoscopy จะสามารถตรวจหาอาการที่ร้ายแรงได้ การผ่าตัดรวมไปถึง การเอาลำไส้ออกเพื่อสร้างทางเดินของเสียใหม่ ทางเดินนี้จะเป็นช่องเล็กๆบริเวณหน้าท้องหรือบริเวณทวารหนัก การนำของเสียออกทางหน้าท้อง แพทย์จะเปิดช่องเล็กๆบริเวณหน้าท้อง จากนั้นปลายลำไส้ต่างๆจะถูกนำออกมาภายนอกเพื่อระบายของเสียใส่ถุง ถ้าของเสียสามารถเปลี่ยนทางไปยังทวารหนักได้ แพทย์จะเอาส่วนที่เป็นลำไส้ใหญ่และทวารหนักออก แต่ยังคงเก็บกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไว้ และติดลำไส้เล็กเข้ากับทวารหนัก หลักจากการผ่าตัด คุณสามารถขับถ่ายผ่านทางทวารหนักได้ โดยที่ลำไส้จะมีการเคลื่นไหวบ่อยและมีน้ำมากกว่าปกติ หนึ่งในห้าของผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดตลอดชีวิตวิธีการรักษาโดยธรรมชาติ
ยาบางตัวที่ใช้ในการรักษาอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เมื่อการรักษาไม่ได้ผล บางคนจึบงใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติแทน วิธีทางธรรมชาติที่สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบได้มีดังนี้ :- ต้นกำยาน : เป็นสมุนไพรที่พบได้ในเปลือกไม้ โดยมีการวิจัยกล่าวว่ากำยานสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้
- Bromelain: เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในสับปะรด เป็นอาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการบวม ลดการเกิดแผลและยังยั้งการลุกลามได้
- Probiotics: ลำไส้และกระเพาะอาหารเป็นที่อยู่ของแบคทีเรีน เมื่อแบคทีเรียในร่างกายแข็งแรงจะทำให้ช่วยลดอาการอักเสบและบวมเป็นแผลได้ดี การรับประทานโปรไบโอติกจะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้แข็งแรงมากขึ้น
- เทียนเกล็ดหอยหรือแกลบ : เป็นไฟเบอร์ที่ช่วยให้ลำไส้สามารถเคลื่อนไหวได้ดี ป้องกันการท้องผูกและช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
- ขมิ้น : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ของลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลคืออะไร
อาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลเป็นอาการระยะยาว อาจนำไปสู่ปัญหาเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึง:- เบื่ออาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลด
- อ่อนเพลีย
- เลือดออกรุนแรง (ตกเลือด)
- ลำไส้ทะลุ
- การติดเชื้อในลำไส้ใหญ่
- ขาดน้ำ
- ปวดข้อ
- ปัญหาสายตา
- นิ่วในไต
- กระดูกเปราะ โรคกระดูกพรุน
- มะเร็งลำไส้ หากลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลส่งผลกระทบต่อลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นเวลานาน
วิธีป้องกันไม่ให้ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล
ผู้เชี่ยวชาญไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล พวกเขายังไม่รู้วิธีป้องกันโรค แต่โภชนาการที่ดีสามารถมีบทบาทสำคัญในการจัดการโรค การเปลี่ยนแปลงอาหารสามารถช่วยลดอาการได้ การเปลี่ยนแปลงอาหารบางอย่างที่อาจได้รับคำแนะนำ ได้แก่ :- ไม่ดื่มเครื่องดื่มอัดลม
- ไม่รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวโพดคั่ว หนังผัก และถั่วในขณะที่มีอาการ
- ดื่มของเหลวมากขึ้น
- กินบ่อยขึ้น มื้อเล็กลง
- จดบันทึกอาหารที่ระบุอาหารที่ทำให้เกิดอาการ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ulcerative-colitis/symptoms-causes/syc-20353326
- https://www.nhs.uk/conditions/ulcerative-colitis/
- https://www.webmd.com/ibd-crohns-disease/ulcerative-colitis/what-is-ulcerative-colitis
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10351-ulcerative-colitis
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น