ฟันผุ (Tooth Cavities) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ฟันผุ

ฟันผุคืออะไร

โพรงที่เรียกว่าฟันผุ (Tooth Cavities) เกิดจากรูที่ก่อตัวขึ้นในฟัน ภาวะฟันผุเริ่มจากเล็ก ๆ ก่อนและจะค่อย ๆ โตขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากฟันผุจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในช่วงแรก ๆ จึงอาจทำให้ยากที่จะรู้ว่ามีฟันผุ การนัดแพทย์เพื่อตรวจฟันเป็นประจำช่วยให้ตรวจพบฟันผุได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

จากข้อมูลของเมโยคลีนิก ภาวะฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดในโลก ใครก็ตามที่ยังมีฟันอยู่เกิดฟันผุได้ทั้งนั้น แม้แต่ทารกก็มี

ภาวะฟันผุอาจตรวจเจอได้โดยไมไ่ด้ตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ดูแลสุขภาพปากและฟันถูกสุขลักษณะเป็นกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แม้ทันตแพทย์จะตรวจพบว่ามีฟันผุ แพทย์ก็ยังมีวิธีรักษาฟันผุและวิธีป้องกันได้

อาการของฟันผุ

อาการฟันผุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการสลายตัวของฟัน ซึ่งได้แก่:

  • อาการเสียวฟัน

  • ปวดฟัน

  • รูที่มองเห็นได้ในฟัน

  • ฟันเริ่มมีรอยด่างดำ

สาเหตุของฟันผุ

ฟันผุเกิดจากคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสารเหนียวที่จับตัวกับฟัน ซึ่งคราบจุลินทรีย์นี้รวมถึง:

  • แบคทีเรีย
  • น้ำลาย
  • กรด
  • เศษอาหาร
Tooth Cavities

ทุกคนมีแบคทีเรียในปาก หลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มอาหารที่มีน้ำตาล แบคทีเรียในปากจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรด ไม่นานหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มอะไรที่มีน้ำตาล คราบจุลินทรีย์จะเริ่มก่อตัวบนฟัน นี่คือเหตุผลที่การแปรงฟันเป็นประจำมีความสำคัญ

คราบจุลินทรีย์เกาะติดฟันและกรดในคราบจุลินทรีย์จะกัดกร่อนเคลือบฟันอย่างช้าๆ เคลือบฟันเป็นสารเคลือบป้องกันฟันให้แข็งแรงเพื่อป้องกันฟันผุ เมื่อเคลือบฟันอ่อนตัว ความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุก็เพิ่มขึ้น

ทุกคนเสี่ยงที่จะมีฟันผุ ในขณะเดียวกัน บางคนมีความเสี่ยงสูงกว่า ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือกรดมากเกินไป

  • กิจวัตรด้านสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี เช่น ไม่สามารถแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันทุกวัน

  • ไม่ได้รับฟลูออไรด์เพียงพอ

  • ปากแห้ง

  • ความผิดปกติของการกิน เช่น เบื่ออาหารและมีบูลิเมีย

  • โรคกรดไหลย้อนซึ่งอาจส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารกัดกร่อนเคลือบฟันได้

ฟันผุเกิดขึ้นได้บ่อยกับฟันด้านใน ฟันเหล่านี้มีร่องและช่องที่เศษอาหารไปติดได้ นอกจากนี้ บางครั้ง การแปลงฟันและใช้ไหมขัดฟันก็เข้าถึงทุกซอกทุกมุมได้ยาก

วิธีรักษาฟันผุมีวิธีใดบ้าง

แจ้งให้แพทย์ทราบหาเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เสียวฟันหรือปวด ทันตแพทย์มักตรวจพบฟันผุในระหว่างการตรวจช่องปาก . อย่างไรก็ตาม บางครั้ง แค่การตรวจช่องปากก็ไม่พบว่ามีฟันผุ ดังนั้น ทันตแพทย์อาจใช้วิธีเอกซเรย์ฟันเพื่อหารอยผุ

วิธีรักษาฟันผุจึงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การรักษาภาวะฟันผุมีด้วยกันหลายวิธี

การอุดฟัน

ทันตแพทย์จัใช้สว่านและเอาส่วนที่ผุออกจากฟัน จากนั้น ทันตแพทย์จะเติมสารบางอย่างลงไป เช่น เงิน ทองหรือคอมโพสิตเรซิน

การครอบฟัน

สำหรับการผุที่รุนแรงมาก ทันตแพทย์อาจใส่ฝาครอบฟันแบบออกแบบเองเพื่อแทนที่ครอบฟันตามธรรมชาติ ทันตแพทย์จะเอาบางส่วนของฟันที่ผุออกก่อนเริ่มทำการครอบฟัน

การรักษารากฟัน

เมื่อฟันผุทำให้เส้นประสาทตาย ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟันเพื่อรักษาฟันให้คงอยู่ โดยจะเนื้อเยื่อประสาทฟัน เนื้อเยื่อเส้นเลือดและบริเวณที่ผุของฟันออก จากนั้น ทันตแพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อและใช้ยาที่รากฟันตามความจำเป็น จากนั้น ก็อุดฟันและอาจต้องใส่ครอบฟัน

การรักษาในระยะเริ่มต้น

หากทันตแพทย์ตรวจพบฟันผุในระยะเริ่มแรก การรักษาด้วยฟลูออไรด์อาจทำให้เคลือบฟันกลับคืนมาและป้องกันการผุเพิ่มเติม

รับมือกับอาการปวด

ภาวะฟันผุอาจเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและไม่สบายตัว ทั้งนี้ อาจต้องการหาวิธีบรรเทาอาการระคายเคืองในขณะที่รอการนัดพบทันตแพทย์ด้วย จากข้อมูลของเมโยคลินิกพบว่า มีวิธีรับมือกับความเจ็บปวด:

  • รักษาความสะอาดในช่องปากเป็นประจำแปรงและทำความสะอาดทุกส่วนของปากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริเวณที่อ่อนไหวด้วย

  • ลองใช้ยาแก้ปวดที่หาซือ้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) ปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าสามารถใช้ยาระงับปวดที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป

  • ระวังเรื่องอาหารการกิน งดอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัดเมื่อต้องรับประทานอาหารหรือดื่ม

  • ภาวะแทรกซ้อนจากฟันผุ

โพรงประสาทฟันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งรวมถึง:

  • ปวดฟันอย่างต่อเนื่อง

  • ฝีในฟัน ซึ่งอาจติดเชื้อและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดหรือภาวะติดเชื้อ

  • การเกิดขึ้นของหนองรอบ ๆ ฟันที่ติดเชื้อ

  • เสี่ยงที่จะเกิดฟันหักหรือฟันบิ่นเพิ่มขึ้น

  • เคี้ยวอาหารลำบาก

ความเสียหายกับฟันจะรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้หากเลิกพบทันตแพทย์ ทั้งนี้ วิธีเดียวที่ช่วยแก้ไขฟันผุได้คือให้ทันตแพทย์ถอนฟันออกและใส่รากเทียมหรือสะพานฟัน

การป้องกันฟันผุ

ฟันผุเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบบ่อย แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติดังนี้:

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง

  • กินอาหารที่มีน้ำตาลและกรดน้อยลง เช่น ขนมหวาน น้ำผลไม้ โซดาและคาร์โบไฮเดรตกลั่น

  • จำกัดการกินอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร

  • ให้ใช้วิธีเคลือบหลุมร่องบนฟัน

อาหารต่อไปนี้ช่วยต่อสู้กับฟันผุได้:

  • ผักและผลไม้ที่อุดมด้วยไฟเบอร์

  • อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม

  • ไซลิทอลหมากฝรั่งไร้น้ำตาล

  • ชาดำหรือชาเขียวไม่หวาน

  • น้ำที่มีฟลูออไรด์

นอกจากนี้ อย่าลืมพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละสองครั้งเพื่อทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยให้ได้รับการรักษาหากเกิดภาวะหรือโรคที่ทันตแพทย์ตรวจพบ และจะช่วยป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคตได้

อาหารและฟันผุ

อาหารที่คุณบริโภคอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพช่องปากและพัฒนาการของฟันผุ ฟันผุมีสาเหตุหลักมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในปาก คาร์โบไฮเดรตที่หมักได้ (น้ำตาลและแป้ง) และเวลา อาหารต่างๆ ส่งผลต่อฟันของคุณอย่างไร:
  • อาหารที่มีน้ำตาลและเหนียว : อาหารที่มีน้ำตาล เช่น ลูกอม คุกกี้ เค้ก และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล มีส่วนสำคัญในการเกิดฟันผุ แบคทีเรียในปากกินน้ำตาลและผลิตกรดที่สามารถกัดกร่อนเคลือบฟันได้ ลูกอมและของขบเคี้ยวที่เหนียว เช่น ลูกอมคาราเมลและเยลลี่สามารถเกาะติดกับฟัน เพิ่มการสัมผัสน้ำตาลและเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
  • อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด : อาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผลไม้ และโซดา อาจทำให้เคลือบฟันสึกกร่อนได้ กรดจะทำให้ชั้นปกป้องฟันด้านนอกอ่อนลง ส่งผลให้ฟันผุได้ง่ายขึ้น
  • อาหารประเภทแป้ง : อาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปัง แครกเกอร์ และมันฝรั่งทอดสามารถย่อยสลายเป็นน้ำตาลได้ด้วยเอนไซม์ในปาก แบคทีเรียสามารถนำไปใช้ในการผลิตกรดที่เป็นอันตรายต่อเคลือบฟันได้
  • ผลไม้ : แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผลไม้จะดีต่อสุขภาพ แต่ก็มีน้ำตาลจากธรรมชาติ การรับประทานผลไม้ทั้งผลมีโอกาสทำให้เกิดฟันผุน้อยกว่าน้ำผลไม้หรือผลไม้แห้งซึ่งมีน้ำตาลเข้มข้นกว่า
  • ผลิตภัณฑ์นม : ผลิตภัณฑ์นม เช่น นม โยเกิร์ต และชีส มีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน มีแคลเซียมซึ่งช่วยเสริมสร้างเคลือบฟัน โดยเฉพาะชีสสามารถช่วยแก้กรดในปากได้
  • อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ : อาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ สามารถช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยชะล้างเศษอาหารและทำให้กรดในปากเป็นกลาง
  • สารทดแทนน้ำตาล : สารทดแทนน้ำตาลเช่นไซลิทอลแสดงให้เห็นว่าช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุได้ ไซลิทอลไม่สามารถหมักได้โดยแบคทีเรียในช่องปากและอาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตได้
  • น้ำ : การดื่มน้ำช่วยชะล้างเศษอาหารและกรดออกไป ลดความเสี่ยงของฟันผุ น้ำที่มีฟลูออไรด์ยังช่วยให้เคลือบฟันแข็งแรงอีกด้วย
เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีและลดความเสี่ยงของฟันผุ ให้พิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้:
  • จำกัดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเป็นกรด
  • หากคุณรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือเป็นกรด ให้รับประทานระหว่างมื้ออาหารแทนที่จะเป็นของว่าง ซึ่งจะช่วยลดความถี่ในการสัมผัสกับกรดที่เป็นอันตราย
  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์
  • ใช้ไหมขัดฟันทุกวันเพื่อขจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ออกจากซอกฟัน
  • เคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาลหลังมื้ออาหารเพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งสามารถช่วยทำให้กรดเป็นกลางได้
  • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • ลองใช้วัสดุอุดหลุมร่องฟันซึ่งสามารถเป็นเกราะป้องกันเพิ่มเติมบนพื้นผิวเคี้ยวของฟันกรามได้
โปรดจำไว้ว่าการรับประทานอาหารที่สมดุล สุขอนามัยช่องปากที่ดี และการพบทันตแพทย์เป็นประจำเป็นองค์ประกอบสำคัญในการป้องกันฟันผุและส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยรวม

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cavities/symptoms-causes/syc-20352892

  • https://www.nhs.uk/conditions/tooth-decay/

  • https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-health-cavities

  • https://www.nidcr.nih.gov/health-info/tooth-decay/more-info/tooth-decay-process


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด