ไข้หวัดหมู (Swine Flu H1N1) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ไข้หวัดหมู

ไข้หวัดหมูคืออะไร

ไข้หวัดหมู H1N1 (Swine flu) เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา โดยไวรัสชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากหมูหรือสุกร แต่แพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นหลัก

ไข้หวัดหมูเริ่มเป็นข่าวพาดหัวในปี 2552 เมื่อมีการพบครั้งแรกในคน ก่อนที่จะกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ในภายหลัง ซึ่งโรคระบาดเป็นโรคติดต่อที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกหรือในหลายทวีปในเวลาเดียวกัน

องค์การอนามัยโลก (WHO)  ประกาศว่า การระบาดของไวรัส H1N1 สิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2553 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไวรัส H1N1 ได้รับการขนานนามว่าเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคน ทั้งนี้ ไข้หวัดหมูยังคงแพร่ระบาดในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ เช่นเดียวกับไข้หวัดสายพันธุ์อื่น ๆ อนึ่ง มีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นในแต่ละปีโดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)  ซึ่งมักจะรวมถึง วัคซีนป้องกันไวรัส H1N1 ด้วย

เช่นเดียวกับไข้หวัดสายพันธุ์อื่น ๆ ไวรัส H1N1 เป็นไวรัสที่ติดต่อกันง่าย จนทำให้สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว แค่จามก็อาจทำให้เชื้อโรคหลายพันชนิดแพร่กระจายไปในอากาศได้ ทั้งนี้ ไวรัสสามารถเกาะอยู่บนโต๊ะและบริเวณพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เช่น ลูกบิดประตู และเมื่อมีการจับลูกบิดก็สามารถติดเชื้อได้เลย

และการป้องกันตัวเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคไข้หวัดหมูคือ การล้างมือและใช้เจลฆ่าเชื้อ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัส การเว้นระยะห่างจากผู้ติดเชื้อจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ด้วยเช่นกัน

สาเหตุของโรคไข้หวัดหมู

โรคไข้หวัดหมูเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มักติดเชื้อในหมูเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้จาก เหา หรือ เห็บ การแพร่เชื้อมักเกิดจากคนสู่คน ไม่ใช่สัตว์สู่คน

ทั้งนี้ การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดหมูสามารถทำได้โดยการรับประทานผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

โรคไข้หวัดหมูเป็นโรคติดต่อได้ง่าย โดยแพร่กระจายผ่านละอองฝอยของน้ำลายและน้ำมูก ไข้หวัดหมูสามารถแพร่ระบาดได้ทาง:

  • การจาม
  • การไอ
  • การสัมผัส พื้นผิวที่มีเชื้อโรค แล้วเอามือมาสัมผัสตาหรือจมูก
  • อาการของโรคไข้หวัดหมู
Swine Flu” src=”/wp-content/uploads/2021/01/swine-flu.jpg” alt=”Swine Flu” width=”500″ height=”324″ />

อาการของโรคไข้หวัดหมูจะเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ซึ่งได้แก่:

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดหมู

แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดหมู โดยการสุ่มตรวจตัวอย่างของเหลวจากร่างกาย โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างของเหลวจากจมูกหรือลำคอของผู้ที่ติดเชื้อ

ตัวอย่างของเหลวที่เก็บได้จะนำมาวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคตรวจสอบพันธุกรรมของเชื้อ และวิธีทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อระบุชนิดของไวรัสว่าเป็นชนิดใด

การรักษาโรคไข้หวัดหมู

การรักษาโรคไข้หวัดหมูส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ยา ทั้งนี้ หากเป็นในระยะแรก ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เว้นแต่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากไข้หวัดหมู โดยผู้ป่วยควรเน้นดูแลตัวเองแบบประคับประคอง และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส H1N1 ไปยังผู้อื่น

ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสสองชนิดในการรักษาไข้หวัดหมู ได้แก่ ยารับประทานโอเซลทามิเวียร์ และซานามิเวียร์ เนื่องจากไวรัสไข้หวัดอาจดื้อยาเหล่านี้ได้ จึงมักสงวนยาเหล่านี้ไว้ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดได้ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป หากเกิดการติดเชื้อไข้หวัดหมู ร่างกายจะยังสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับเชื้อไข้หวัดได้

ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดหมู

ช่วงที่เกิดการระบาดของไข้หวัดหมูขึ้นครั้งแรก ไข้หวัดหมูมักพบในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปและคนหนุ่มสาว ข้อเท็จจริงนับว่าเป็นเรื่องที่แปลก เพราะโดยปกติแล้ว การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะก่อภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุหรือเด็กที่มีอายุน้อยมาก ๆ ทุกวันนี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดหมูก็เหมือนกับไข้หวัดสายพันธุ์อื่น ๆ และปัจจัยเสี่ยงในการทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดหมูมากที่สุดก็คือ การที่ผู้ติดเชื้อเข้าไปคลุกคลีในฝูงชนจำนวนมาก

หากติดเชื้อไข้หวัดหมู หลายคนอาจมีอาการ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก ได้แก่ :

  • ผู้สูงอายุเกิน 65 ปี

  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

  • คนหนุ่มสาวและเด็กอายุต่ำกว่า 19 ปีที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน ๆ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย (เนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น เอดส์ )

  • หญิงมีครรภ์

  • เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด  โรคหัวใจ  โรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อไข้หวัดหมู

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อไข้หวัดหมูจะคล้าย ๆ กับการดูแลเมื่อติดเชื้อไข้หวัดธรรมดา คือ:

  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สู้เชื้อไวรัสไข้หวัดหมู

  • ดื่มน้ำและของเหลวมาก ๆ เพื่อป้องกัน ภาวะขาดน้ำ  ซุปและน้ำผลสะอาดจะช่วยเสริมสารอาหารที่สูญเสียไปจากร่างกาย

  • หากมีอาการ ปวดหัวและเจ็บคอ ให้ซื้อยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไปมารับประธานได้ตามปกติ

แนวโน้มการระบาดของไข้หวัดหมู

ผู้ป่วยไข้หวัดหมูอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ กรณีที่ผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังรุนแรงอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น เอชไอวี หรือเอดส์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไข้หวัดหมูส่วนใหญ่จะฟื้นตัว และใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การป้องกันไข้หวัดหมู

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้หวัดหมู นอกจากนี้ ยังมีวิธีป้องกันการติดเชื้อโรคไข้หวัดหมูง่าย ๆ ได้แก่ :

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลทำความสะอาดมือ

  • ห้ามสัมผัสจมูก ปากหรือตา (ไวรัสสามารถอยู่ได้บนพื้นผิวสัมผัส เช่น โทรศัพท์ และโต๊ะ)

  • หากป่วย ให้ลาพักอยู่บ้านเท่านั้น

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมนุมชน เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดหมู

ที่สำคัญคือคือ จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุข เช่น การปิดโรงเรียน หรือหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนเยอะ ๆ ในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ .

ทั้งนี้ ฤดูไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนไปในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม คนสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดหมู

ไข้หวัดหมูหรือที่รู้จักกันในชื่อไข้หวัดใหญ่ H1N1 เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส H1N1 ในกรณีส่วนใหญ่ ไข้หวัดหมูทำให้เกิดอาการเล็กน้อยถึงปานกลางคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดหมูได้ เช่นเดียวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกชนิด ภาวะแทรกซ้อนบางประการ ได้แก่:
  • โรคปอดบวม: ไข้หวัดหมูอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อในปอด โรคปอดบวมอาจรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ: ในกรณีที่รุนแรง ไข้หวัดหมูอาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ซึ่งเป็นภาวะที่ปอดอักเสบอย่างรุนแรงและมีของเหลวเต็ม อาจทำให้หายใจลำบากและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • การกำเริบของโรคประจำตัว: ไข้หวัดหมูอาจทำให้อาการทางการแพทย์ที่มีอยู่รุนแรงขึ้น เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เบาหวาน และโรคหัวใจ
  • การติดเชื้อทุติยภูมิ:ไข้หวัดหมูทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิ เช่น โรคปอดบวมจากแบคทีเรียหรือการติดเชื้อที่หู
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท: ในบางกรณี ไข้หวัดหมูมีความเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น อาการชัก โรคไข้สมองอักเสบ  และกลุ่มอาการ Guillain-Barré (โรคที่พบไม่บ่อยที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ: บางครั้งไข้หวัดหมูอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รุนแรง
  • ความล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน:ในกรณีที่รุนแรงที่สุด ไข้หวัดหมูสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของหลายอวัยวะ ซึ่งอวัยวะหลายส่วนในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ แต่กรณีไข้หวัดใหญ่สุกรส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อยและหายได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ กลุ่มบางกลุ่มมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น สตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลที่มีภาวะสุขภาพผิดปกติ วิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดหมูคือการใช้มาตรการป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีน การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี (ล้างมือบ่อยๆ ปิดปากไอและจาม) หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และไปพบแพทย์หากคุณมีอาการรุนแรง อาการหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

ไลฟ์สไตล์กับการดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน

หากป่วยเป็นไข้หวัดชนิดใดชนิดหนึ่ง ข้อแนะนำเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้:

  • ดื่มของเหลวมาก ๆ เลือกน้ำ น้ำผลไม้ และซุปอุ่น ๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ

  • พักผ่อนให้มาก ๆ นอนพักผ่อนให้มาก ๆ เพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสู้กับเชื้อไวรัสได้

  • ใช้ยาแก้ปวด ใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน หรือ ไอบูโพรเฟน หรืออื่น ๆ ทั้งนี้ ให้ใช้ยาตามคำสั่งบนฉลากอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ควรระมัดระวังในการใช้แอสไพรินในเด็กหรือวัยรุ่น

แม้ว่าแอสไพรินสามารถใช้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปีได้ แต่เด็กและวัยรุ่นที่หายจากโรคอีสุกอีใสหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ก็ไม่ควรรับประทานแอสไพริน เนื่องจากแอสไพรินอาจมีปฏิกิริยาต่อกลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ได้พบได้ง่าย แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตในเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้

ข้อควรระวังคือ ยาแก้ปวดอาจทำให้รู้สึกสบายขึ้น แต่จะไม่ทำให้อาการโรคหายเร็วขึ้น และอาจมีผลข้างเคียงได้ ไอบูโพรเฟนอาจทำให้ปวดท้อง เลือดออกและเป็นแผลในกระเพาะได้ หากรับประทานอะเซตามิโนเฟนเป็นเวลานานหรือในปริมาณที่สูงกว่าที่แนะนำ ยาอาจเป็นพิษต่อตับได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/swine-flu/

  • https://www.cdc.gov/flu/pandemic-resources/2009-h1n1-pandemic.html

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swine-flu/symptoms-causes/syc-20378103


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด