ดอกคำฝอย (Safflower) – คุณสมบัติ การกระทำ ความปลอดภัย

ดอกคำฝอยคืออะไร 

ดอกคำฝอย (Safflower) เป็นพืชที่ใช้ดอกและน้ำมันจากเมล็ดนำมาทำยา นำมันจากเมล็ดดอกคำฝอยช่วยในการป้องกันโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และโรคหลอดเลือดสมอง  อีกทั้งยังใช้รักษาอาการมีไข้  เนื้องอก  ไอ  มีปัญหาในการหายใจ ภาวะการแข็งตัวของเลือด  ความปวด  โรคหัวใจ  เจ็บหน้าอก และอาการบาดเจ็บสาหัส บางรายใช้เพื่อขับเหงื่อ และเป็นยาระบาย   ยาขับเสมหะ  ละลายเสมหะเป็นต้น  ในผู้หญิงบางครั้งจะใช้น้ำมันดอกคำฝอยเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ส่วนของตัวดอกนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ภาวะแท้งบุตร ในอาหาร เมล็ดน้ำมันดอกคำฝอยถูกใช้เป็นน้ำมันในการประกอบอาหาร ในส่วนของการผลิต ตัวดอกของดอกคำฝอยถูกนำมาทำเป็นสีในเครื่องสำอางและสีย้อมผ้า และน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยก็นำมาทำเป็นตัวทำละลายสี

สรรพคุณของดอกคำฝอย

  • ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง บางงานวิจัยแนะนำให้รับประทานน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยเป็นอาหารเสริมทุกวัน หรือใช้แทนน้ำมันอื่นๆในการประกอบอาหาร เพราะช่วยในการลดระดับของไขมันที่ไม่ดี (LDL cholesterol) อย่างไรก็ตามมันดูเหมือนว่าจะไม่ลดไขมันในเลือด ที่เรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หรือไขมันดี (HDL cholesterol)

คาดว่ามีประสิทธิภาพสำหรับสิ่งเหล่านี้ แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน

  • โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยเป็นเวลาหนึ่งปีไม่ช่วยทำให้ตัวโรคหรือความรุนแรงของโรคดีขึ้นในเด็ก
  • โรคเบาหวาน (Diabetes) ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยเป็นเวลา 3 สัปดาห์สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งน้ำมันดอกคำฝอยดูเหมือนจะไม่มีผลต่อระดับอินซูลินหรือความไวต่ออินซูลินเลย
  • คอเลสเตอรอลสูง ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันดอกคำฝอยในการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูงชนิดที่ถ่ายทองทางพันธุกรรมยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ บางงานวิจัยก่อนหน้านี้กล่าวว่าการปรับอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันดอกคำฝอยช่วยลดไขมันเลว (LDL) ได้ในผู้ที่มีภาวะดังกล่าว แต่บางงานวิจัยก็ไม่พบประโยชน์ตามที่กล่าวอ้างมา
  • โรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) งานวิจัยก่อนหน้านี้กล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเพาะประกอบไปด้วยดอกคำฝอย  เมล็ดฝักทอง  เมล็ดผักกาด และต้นสายน้ำผึ้ง (Japanese honeysuckle) มารับประทานเป็นเวลา 3 เดือนช่วยลดความไม่สุขสบายทั่วไป  ท้องอืด  คลื่นไส้และอาเจียนในผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี อย่างไรก็ตามอาการของโรคไวรัสตัวอักเสบซีจะไม่แสดงให้เห็นว่าตอบสนองต่อการรับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหรือไม่
  • ความดันโลหิตสูง มีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันดอกคำฝอยกับความดันโลหิตที่ยังขัดแย้งกันอยู่ บางงานวิจัยก่อนหน้ากล่าวว่าการรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ช่วยลดความดันโลหิ9ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักฐานอื่นๆที่กล่าวว่าการรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยไม่ได้มีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิต
  • ภาวะผิวหนังเป็นขุย (Phrynoderma) มีงานวิจัยก่อนหน้านี้กล่าวว่าการรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยที่ประกอบไปด้วยวิตามินอีและกรดไลโนเลอิค ประมาณ 8 สัปดาห์สามารถช่วยให้ผิวชุ่มชื่นและดูเรียบขึ้นในผู้ที่มีภาวะดังกล่าว
  • การมีไข้
  • เนื้องอก
  • อาการไอ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหาบใจ(สภาวะที่มีผลต่อหลอดลม : Bronchial tubes)
  • ความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือด
  • อาการปวด
  • ความผิดปกติของรอบเดือน
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • การบาดเจ็บสาหัส
  • ท้องผูก
  • การแท้งบุตร
  • ภาวะอื่นๆ
จำเป็นต้องมีหลักฐานมายืนยันเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของดอกคำฝอยต่อการใช้งานดังกล่าว Safflower

การออกฤทธิ์ของดอกคำฝอย 

กรดไลโนเลนิค (Linolenic acids) และกรดไลโนเลอิค (Linoleic acids)ในน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยอาจช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว  ลดระดับคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ดอกคำฝอยประกอบไปด้วยสารเคมีที่ทำให้เลือดไม่จำตัวกันเพื่อป้องกันลิ้มเลือด ขยาหลอดเลือด  ลดความดันโลหิต และกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ

ความปลอดภัย

น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยค่อนข้างปลอดภัยหากเลือกในรูปรับประทาน แน่นอนว่าการรับประทานดอกคำฝอยค่อนข้างที่จะปลอดภัย หรือการฉีดน้ำมันดอกคำฝอยทางหลอดเลือดดำก็ควรต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพเป็นผู้ดูแล

ข้อควรระวังและคำเตือน

ในเด็ก: ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการฉีดน้ำมันดอกคำฝอยเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่ควรให้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ในสตรมีครรภ์และคุณแม่ที่ในให้นมบุตร: น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยปลอดภัยหากเลือกที่จะรับประทานระหว่างตั้งครรภ์ แต่ห้ามรับประทานดอกของดอกคำฝอยขณะตั้งครรภ์เพราะมันไม่ปลอดภัย อาจก่อให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูกและเป็นสาเหตุของการแท้งได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยหรือดอกของดอกคำฝอยหากจะใช้ระหว่างในนมบุตร ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกง่าย (ภาวะเลือดออก : Hemorrhagic diseases แผลในกระเพาะอาหาร หรือ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด): ดอกคำฝอยทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออก ห้ามใช้ดอกคำฝอย การแพ้ต่อหญ้าป่า (Ragweed) และที่เกี่ยวกับพืช: ดอกคำฝอยอาจเป็นสาเหตุของปฏิกิริยาการแพ้ในผู้ที่ที่ไวต่อพืชตระกูล Asteraceae/Compositae โดยพืชในตระกูลดังกล่าวได้แก่ หญ้าป่า ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่ และอื่นๆอีกมากมาย หากคุณมีอาการแพ้ก็สามารถตรวจสอบกับผู้ดูแลทางด้านสุขภาพก่อนที่จะรับประทานดอกคำฝอย โรคเบาหวาน: น้ำมันดอกคำฝอยอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จึงเป็นสิ่งที่ต้องระวังหากใช้น้ำมันดอกคำฝอยไปรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน การผ่าตัด: ตั้งแต่ที่ดอกคำฝอยช่วยไม่ให้เลือดเกาะตัวเป็นลิ่ม จึงต้องระวังเพราะอาจเพิ่มควาเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกระหว่าง และหลังการผ่าตัด ควรหยุดใช้ดอกคำฝอยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ปฏิกิริยาต่อกันของยา

ยาสำหรับโรคเบาหวาน (Antidiabetes drugs) มีระดับการเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาในระดับปานกลาง ควรใช้ด้วยความปลอดภัยหากจะใช้ร่วมกับดอกคำฝอย ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ประจำตัว น้ำมันดอกคำฝอยอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว ฉะนั้นฤทธิ์ในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของน้ำมันดอกคำฝอยจะไปลดประสิทธิภาพของยาดังกล่าวได้ ให้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด เพราะอาจต้องมีการปรับยารักษาโรคเบาหวาน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ยารักษาเบาหวานเมตฟอร์มิน (Metformin)  ยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant/Antiplatelet drugs) มีระดับการเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาอยู่ในระดับปานกลาง หากจะใช้ร่วมกับดอกคำฝอย แต่ก่อนใช้ควรปรึกษาผู้ดูแลสุขภาพของคุณเสมอ เนื่องจากดอกคำฝอยในปริมาณมากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า อีกทั้งการรับประทานคู่กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยิ่งจะเสริมฤทธิ์เข้าไปกันใหญ่ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสของการเกิดรอบพกช้ำและภาวะเลือดออกได้ 

ปริมาณที่แนะนำของดอกคำฝอย

เป็นปริมาณที่ใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์: ขนาดสำหรับรับประทานสำหรับคอเลสเตอรอลสูง: รับประทานน้ำมันดอกคำฝอยในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ทุกวัน

คำถามที่พบบ่อยของดอกคำฝอย

  • ดอกคำฝอยคืออะไร?
      • คำตอบ:ดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius) เป็นพืชที่ขึ้นชื่อในเรื่องของดอกและเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายดอกธิสเซิล น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดคำฝอยมักใช้ในการปรุงอาหารและเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • น้ำมันดอกคำฝอยใช้ทำอะไร?
      • คำตอบ:น้ำมันดอกคำฝอยใช้ในการปรุงอาหารและทอดเนื่องจากมีจุดเกิดควันสูง นอกจากนี้ยังใช้ในน้ำสลัดและเป็นแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย บางคนทานอาหารเสริมน้ำมันดอกคำฝอยเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • น้ำมันดอกคำฝอยดีต่อสุขภาพหรือไม่?
      • คำตอบ:น้ำมันดอกคำฝอยอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิก อาจมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่การกลั่นกรองเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมีแคลอรี่หนาแน่น
  • น้ำมันดอกคำฝอยมีกี่ประเภท?
      • คำตอบ:น้ำมันดอกคำฝอยมีสองประเภทหลัก: กรดโอเลอิกสูง (ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว) และกรดไลโนเลอิกสูง (ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน) พันธุ์โอเลอิกสูงมักได้รับการส่งเสริมให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • น้ำมันดอกคำฝอยดีต่อการลดน้ำหนักหรือไม่?
      • คำตอบ:การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าน้ำมันดอกคำฝอย โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิกสูง อาจช่วยลดน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่มหัศจรรย์ และการรับประทานอาหารที่สมดุลและการออกกำลังกายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมน้ำหนัก
  • น้ำมันดอกคำฝอยสามารถลดคอเลสเตอรอลได้หรือไม่?
      • คำตอบ:กรดไลโนเลอิกในน้ำมันดอกคำฝอยอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) อย่างไรก็ตาม คำตอบของแต่ละคนแตกต่างกันไป และการพิจารณาพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมเป็นสิ่งสำคัญ
  • ฉันสามารถปรุงอาหารด้วยน้ำมันดอกคำฝอยที่อุณหภูมิสูงได้หรือไม่?
      • คำตอบ:ใช่ น้ำมันดอกคำฝอยมีจุดเกิดควันสูง จึงเหมาะสำหรับวิธีการปรุงอาหารที่อุณหภูมิสูง เช่น การทอดและผัด
  • มีอาการแพ้ดอกคำฝอยหรือไม่?
      • คำตอบ:การแพ้ดอกคำฝอยนั้นพบได้น้อยมาก แต่บุคคลที่ทราบกันว่าเป็นโรคภูมิแพ้ต่อพืชตระกูล Asteraceae/Compositae ซึ่งรวมถึงแร็กวีดและดาวเรือง อาจมีความเสี่ยง
  • ดอกคำฝอยมีประโยชน์อื่นใดอีกบ้าง?
      • คำตอบ:กลีบดอกคำฝอยใช้เป็นสีย้อมธรรมชาติ และพืชชนิดนี้มีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน
  • น้ำมันดอกคำฝอยสามารถใช้เฉพาะที่ได้หรือไม่?
    • คำตอบ:น้ำมันดอกคำฝอยบางครั้งใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเนื่องจากมีคุณสมบัติในการให้ความชุ่มชื้น ขึ้นชื่อเรื่องความบางเบาและซึมเข้าสู่ผิวได้ง่าย
เช่นเดียวกับการพิจารณาเรื่องอาหารใดๆ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีภาวะสุขภาพหรือข้อกังวลที่เฉพาะเจาะจง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด