โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น คืออะไร
โรคหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA) คือ การหยุดหายใจโดยที่ไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะหลับ โดยปกติแล้ว อากาศจะไหลเวียนอย่างสม่ำเสมอจากปากและจมูกเข้าสู่ปอด ช่วงเวลาที่การหายใจนั้นหยุดไป เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว หรือ อาการหยุดหายใจชั่วคราว อาการนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในช่วงเวลากลางคืน การที่การไหลเวียนของอากาศนั้นหยุดเป็นผลมาจากทางเดินหายใจนั้นแคบเกินไป การนอนกรนคือลักษณะเด่นของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะอุดกั้น การกรนนั้นมีสาเหตุมาจากการที่อากาศถูกบีบให้ผ่านทางเดินหายใจที่แคบ ๆ ทำให้หายใจติดขัดเวลานอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อันตรายได้ ดังนี้:
-
โรคหลอดเลือดในสมอง
การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน
อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง เมื่อประสิทธิภาพในการนอนไม่ดี จึงส่งผลให้ง่วงนอนตอนกลางวันและรู้สึกไม่ปลอดโปร่งในตอนเช้า ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจมีอาการเหล่านี้:
-
อาการปวดหัวที่รักษาหายยาก
-
อารมณ์เสีย
-
ขี้หลงขี้ลืม
-
ง่วงเหงาหาวนอน
อาการอื่น ๆ ได้แก่
-
โรคสมาธิสั้นในเด็ก
-
ภาวะซึมเศร้าแย่ลง
-
ประสิทธิภาพในการเรียน และ การทำงานลดลง
-
ความสนใจในเรื่องเซ็กส์หายไป
-
ขาบวม ( เรียกว่า อาการบวมน้ำ ซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อภาวะหยุดหายใจนั้นรุนแรง )
ภาวะง่วงนอนในตอนกลางวันทำให้คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีความเสี่ยงที่จะได้รับอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ และการทำงานในอุตสาหกรรมได้ การรักษาสามารถบรรเทาอาการง่วงนอนในตอนกลางวันของผู้ที่เป็นโรคนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีหลายประเภท แต่โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้นพบได้บ่อยที่สุด โรคนี้พบได้มากในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การลดน้ำหนักทำให้อาการจากโรคนี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การนอนหงายนั้นทำให้อาการของโรคนี้แย่ลง
ประเภทของโรคหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมี 3 ชนิด ดังนี้:
-
โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น: โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเกิดจากการที่ทางเดินหายใจแคบลง ถูกกั้น หรือหย่อน
-
โรคหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง: โรคชนิดนี้ไม่ได้มีสิ่งอุดกั้นในทางเดินหายใจ แต่สมองไม่ได้สั่งการณ์ให้กล้ามเนื้อที่ใช้หายใจทำงาน
-
โรคหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดขึ้นแบบผสม: โรคชนิดนี้เป็นการผสมกันระหว่างโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและโรคหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ
ความเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้นเพิ่มขึ้นหากคุณมีโรคประจำตัว หรือ ลักษณะเฉพาะที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบลง ปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้แก่:
-
เด็กที่มีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต
-
ผู้ชายที่มีรอบคอ 17 นิ้ว หรือใหญ่กว่า
-
ผู้หญิงที่มีรอบคอ 16 นิ้ว หรอ ใหญ่กว่า
-
ลิ้นใหญ่ ซึ่งจะไปขัดขางทางเดินหายใจ
-
คางหด คือเมื่อขากรรไกรล่างสั้นกว่าขากรรไกรบน
-
เพดานปากแคบ หรือ ทางเดินหายใจ
โรคหัวใจพบได้มากในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก และคนที่มีน้ำหนักตัวมากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การรักษาโรคหายใจขณะหลับ
เป้าหมายของการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นคือการทำให้อากาศไหลผ่านโดยที่ไม่มีสิ่งกีดกัน วิธีรักษามีดังนี้:
การลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักช่วยบรรเทาอาการจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากสิ่งอุดกั้น
ยาลดอาการคัดจมูก Nasal Decongestants
ยาลดอาการคัดจมูกนั้นมีออกฤทธิ์ดีกับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง มันช่วยบรรเทาอาการนอนกรน
เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)
Continuous positive airway pressure (CPAP) therapy การรักษาแบบ Continuous positive airway pressure (CPAP) เป็นการรักษาวิธีแรก ๆ สำหรับโรคหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น CPAP ทำงานผ่านหน้ากากที่ถูกสวมใส่ขณะหลับในตอนกลางคืน เครื่องจะส่งอากาศดีเข้าไปอย่างแผ่วเบาเพื่อที่จะเปิดทางเดินหายใจในช่วงกลางคืน เครื่อง CPAP นั้นมีประสิทธิภาพมากสำหรับการรักษา OSA เครื่องมือทางทันตแพทย์ก็มีความสำคัญเช่นกันในการทำให้ขากรรไกรเลื่อนไปข้างหน้า
เครื่องช่วยหายใจ Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP หรือ BPAP)
ในบางครั้ง BiPAP จะถูกใช้เมื่อเครื่อง CPAP รักษาไม่ได้ผล เครื่อง BiPAP นั้นมีระบบตั้งค่าสูงและต่ำเพื่อที่จะตอบสนองต่อการหายใจของเราได้ นั่นหมายถึงความดันเปลี่ยนไปมาระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก
การรักษาโดยการจัดท่านอน
การนอนหงายสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ในผู้ป่วยบางคน วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ที่จะนอนท่านอนแบบใหม่ ๆ การรักษาโดยการจัดท่านอน และการใช้เครื่อง CPAP นั้นสามารถไปปรึกษากับผู็เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์การนอน
การผ่าตัด
การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่และเพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplasty (UPPP) คือ ชนิดของการผ่าตัดที่มักใช้รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นโดยการนำเนื้อเยื้อส่วนเกินออก การรักษาโดยวิธีนี้ช่วยให้กรนน้อยลง อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการผ่าตัดชนิดนี้ยังไม่ไดเรับการพิสูจน์ว่าสามารถทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหายไปอย่างสิ้นเชิง และสามารถมีอาการแทรกซ้อนจากการรักษาได้
การเจาะคออาจถูกใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาคนไข้ วิธีการผ่าตัดวิธีนี้ทำได้โดยการผ่าตัดเปิดหลอดลมในคอ เพื่อที่อากาศจะสามารถเดินทางอ้อมสิ่งที่อุดกั้นอยู่ในคอได้
การผ่าตัดวิธีอื่นจะถูกใช้ในกรณีที่ต้องการแก้ไขโครงสร้างบนใบหน้าหรือส่วนอื่นที่การรักษาแบบ CPAP ใช้ไม่ได้ผล 75 เปอร์เซนต์ของเด็กที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากสิ่งอุดกั้นเนื่องมาจากต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตสามารถรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด สมาคมโรคแห่งการหลับจากสหรัฐอเมริกา (ASAA) กล่าวว่า สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาได้รับรองให้การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออกเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้รักษาเด็กที่มีปัญหาการนอนหลับจากการโตของต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยบางประการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้แก่:- ความง่วงและความเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน: รูปแบบการนอนที่ถูกรบกวนที่เกิดจาก โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้ง่วงนอนและเหนื่อยล้าในตอนกลางวันมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของการรับรู้ สมาธิ และคุณภาพชีวิตโดยรวม มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในขณะขับรถหรือใช้เครื่องจักรกลหนัก
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด: โรคหยุดหายใจขณะหลับมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของปัญหาหัวใจและหลอดเลือด ระดับออกซิเจนในเลือดที่ลดลงซ้ำๆ และความเครียดในระบบหัวใจและหลอดเลือดอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
- ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม: โรคหยุดหายใจขณะหลับเชื่อมโยงกับความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม รวมถึงการดื้อต่ออินซูลิน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 2 อาจเนื่องมาจากผลกระทบของการหยุดชะงักในการนอนหลับต่อการควบคุมฮอร์โมนและการเผาผลาญกลูโคส
- โรคอ้วน:โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาโรคหยุดหายใจขณะหลับและทั้งสองเงื่อนไขมักอยู่ร่วมกัน อย่างไรก็ตามโรคหยุดหายใจขณะหลับยังสามารถส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และทำให้การลดน้ำหนักมีความท้าทายมากขึ้นเนื่องจากการหยุดชะงักในการเผาผลาญและการควบคุมฮอร์โมน
- ความผิดปกติทางอารมณ์: โรคหยุดหายใจขณะหลับมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล การหยุดชะงักของการนอนหลับอาจส่งผลเสียต่อการควบคุมอารมณ์ และทำให้สภาวะสุขภาพจิตที่มีอยู่รุนแรงขึ้น
- ความบกพร่องด้านความจำและการรับรู้:คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีที่เกิดจากโรคหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลต่อความจำ สมาธิ และการทำงานของการรับรู้ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถทางปัญญาโดยรวม
- ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด:บุคคลที่มี โรคหยุดหายใจขณะหลับมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดและการดมยาสลบ การอุดตันของทางเดินหายใจและปัญหาระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับโรคหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้กระบวนการฟื้นฟูมีความท้าทายมากขึ้น
- โรคกรดไหลย้อน (GERD):โรคหยุดหายใจขณะหลับและกรดไหลย้อนมักอยู่ร่วมกัน และอาจทำให้อีกโรคหนึ่งรุนแรงขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงความดันในหน้าอกและช่องท้องระหว่างภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกรดไหลย้อน และทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง
- การทำงานของตับบกพร่อง: โรคหยุดหายใจขณะหลับมีความเชื่อมโยงกับโรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และความผิดปกติของการทำงานของตับ ซึ่งอาจเกิดจากการรบกวนการเผาผลาญที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ: โรคหยุดหายใจขณะหลับมีส่วนทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศในทั้งชายและหญิง มันสามารถนำไปสู่ความใคร่ลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย และความพึงพอใจทางเพศโดยรวมลดลง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obstructive-sleep-apnea/symptoms-causes/syc-20352090
-
https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/understanding-obstructive-sleep-apnea-syndrome
-
Obstructive Sleep Apnea
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team