ยาลอราทาดีน (Loratadine) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาลอราทาดีน

Loratadine คือยาอะไร

ชื่อสามัญ ลอราทาดีน (Loratadine) ชื่อทางการค้า Allerdine  Clarityne  Lindine  Lorsedin เป็นต้น ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (Non-sedating antihistamines) กลุ่มนี้ออกฤทธิ์ผ่านสมองน้อยมาก ทำให้ไม่รู้สึกง่วงนอน ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เซทิริซีน (Cetirizine)  เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine)  เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine) และ ลอราทาดีน (Loratadine) โดยในบทความนี้เราจะกล่าวถึงลอราทาดีนว่ามีข้อบ่งใช้ ขนาดและวิธีการใช้ยา ผลข้างเคียง และข้อควรระวังในการใช้ยาอย่างไรบ้าง

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับยาลอราทาดีน

  • ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ที่มีทั้งในรูปของยาเม็ด  แคปซูล และยาน้ำ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรสอบถามข้อบ่งใช้จากเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • ลอราทาดีนมีฤทธิ์ต้านสารที่มีชื่อว่า ฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น จาม  น้ำมูกไหล  ผื่นคัน หรือผื่นลมพิษ การที่จะบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้นั้นต้องได้รับยาต้านฮีนตามีน อาการจึงจะทุเลาลง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ที่รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
  • หากกำลังมีอาการของลมพิษโดยเฉพาะที่มีอาการฟกช้ำ  พุพอง  ผิวหนังมีสีผิดปกติ หรือมีผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน ไม่ควรใช้ยาดังกล่าว อีกทั้งห้ามใช้ลอราทาดีนร่วมกับแอลกอฮอร์หรือน้ำเกรปฟรุ๊ต (Grapefruit) เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาที่รุนแรงขึ้น
  • หากมีประวัติทาการแพทย์เป็นโรคตับอักเสบ หรือมีประวัติแพ้รุนแรง เช่น มีอาการแน่นหน้าอก  หายใจลำบาก  ความดันโลหิตต่ำ  มีอาการบวมตามใบหน้า ลำคอ ปาก และลิ้น  ชัก หมดสติ หรือเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำภายหลังการใช้ยา ควรหยุดยาแล้วรีบนำส่งแพทย์ฉุกเฉิน
  • ปัจจุบันโรคภูมิแพ้ ยังไม่มียารักษาอาการให้หายขาด ฉะนั้นทำได้เพียงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากไม่ทราบว่าสิ่งใด่กอให้เกิดอาการแพ้ สามารถเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ได้ที่โรงพยาบาล

ข้อบ่งใช้ของลอราทาดีน Loratadine

เพื่อบรรเทาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาการหวัดแบบเฉียบพลัน และอาการคันที่เกิดจากการแพ้

ยาแก้แพ้ Loratadine กลไกการออกฤทธิ์

ยาแก้แพ้ Loratadine (Antihistamines) ที่ออกฤทธิ์แรง เร็ว และยาวนาน เป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่งที่ไม่ทำให้ง่วงนอน มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ โดยตัวยาจะมีความจำเพาะต่อ H1 receptor ที่อวัยวะนอกระบบประสาทส่วนกลางมากกว่า H1 receptor ในระบบประสาท 

ขนาดและการใช้ยา

  • สำหรับเด็ก (อายุ 2-12 ปี)
น้ำหนักตัวต่ำกว่า 30 กก. : 5 มก. วันละครั้ง น้ำหนักตัวมากกว่า 30 กก. : 10 มก. วันละครั้ง เด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไปให้ใช้ขนาดยาเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่
  • สำหรับผู้ใหญ่ 
10 มก. วันละครั้ง หรือ 5 มก. วันละ 2 เวลา
  • ในผู้ที่ไตเสื่อม
CrCl < 30 มล./นาที : 10 มก.วันเว้นวัน
  • ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
ขั้นรุนแรง : ให้เริ่มยาที่ 10 มก.วันเว้นวัน สามารถรับประทานยาพร้อมหรือไม่พร้อมอาหารก็ได้  เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิระหว่าง 20-25°C เก็บให้พ้นจากความร้อน  แสงแดด และความชื่น เก็บยาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม ปิดฝาให้สนิท และเก็บให้พ้นจากเด็กและสัตว์เลี้ยง และอย่าลืมทิ้งยาเมื่อหมดอายุLoratadine

การใช้ยาเกินขนาด

หากคุณใช้ยาเกินขนาดจะมีอาการดังต่อไปนี้ แก้ไขจะเป็นการรักษาตามอาการ บางทีอาจให้ยา Activeted charcoal หรือทำการล้างท้อง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ภาวะ Paradoxical : ความรู้สึกตื่นเต้น  กระวนกระวายใจ อันเนื่องมาจากการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
ผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่
  • ความผิดปกติด้านหัวใจ : หัวใจเต้นเร็ว  ความดันโลหิตต่ำ
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร : ปากแห้ง  ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย  กระเพาะอักเสบ
  • ความผิดปกติของตับ : ตัวตาเหลือง  ตับอักเสบ  ภาวะตับขาดเลือด (Hepatic neccrosis)  ค่าเอนไซม์ของตับสูงขึ้น
  • ความผิดปกติของการเผาผลาญและภาวะโภชนาการ : ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น  น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ความผิดปกติของระบบประสาท : วิงเวียนศีรษะ
  • ความผิดปกติของผิวหนังและเนื้อเยื่อไขมัน : เกิดผื่น  ผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia)

ปฏิกิริยาต่อกันของยา

  • ก่อนใช้ยาควรแจ้งรายการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร หรือวิตามินที่กำลังรับประทานอยู่ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
  • ไม่ควรใช้ยาลอราทาดีนร่วมกับยาราโนลาซีน (Ranolazine) โดยเป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลอราทาดีนร่วมกับ
    • Amiodarone
    • Darunavir
    • Dasatinib

ข้อควรระวัง

ห้ามใช้ยาลอราทาดีน ในกรณี
  • เคยมีประวัติแพ้ลอราทาดีน หรือยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine)
  • ผู้ที่มีพันธุกรรมเกี่ยวกับความบกพร่องของเมตาบอลิซึมของร่างกายชนิด Phenylketonuria (PKU) โดยจะทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยกรดฟีนิลอะลานีน ซึ่งยาลอราทาดีนแบบชนิดเคี้ยวได้จะมีกรดฟีนิลอะลานีนเป็นส่วนประกอบ
  • ผู้ที่มีไตวายหรือตับวาย
  • หากมีผื่น หรือลมพิษที่มีการฟกช้ำ พุพอง สีผิดปกติ หรือผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • หากภายใน 3 วันอาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ยา หรือหากเป็รผื่นลมพิษมานานกว่า 6 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่น
ในสตรีมีครรภ์ : ลอราทาดีนถูกจัดเป็นยาในกลุ่ม B นั้นหมายถึง ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ตัวยาสามารถส่งผ่านน้ำนมได้น้อยมาก จึงสามารถให้นมบุตรขณะรับประทานยาดังกล่าวได้ แต่ก็ควรเผ้าระวังหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ลูกง่วงซึม  ดูดนมยาก  น้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น จึงไม่เหมาะที่จะใช้ยาในระยะยาวระหว่างที่ให้นมบุตร การใช้ยาลอราทาดีนร่วมกับแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอร์ร่วมกับการใช้ยาจะทำให้เกิดอาการมึนงง  ปากแห้ง  ตาแห้ง ซึ่งอาจมีผลต่อการมองเห็น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับเกรปฟรุ๊ต

ยาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ Loratadine

ลอราทาดีนเป็นยาแก้แพ้ ที่ใช้กันทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น ไข้ละอองฟาง ลมพิษ และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หากคุณกำลังมองหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากลอราทาดีน มียาแก้แพ้อื่นๆ อีกหลายตัวที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หรือตามใบสั่งแพทย์ โปรดจำไว้ว่าการตอบสนองของแต่ละคนต่อยาแก้แพ้แต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นคุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการเฉพาะของคุณ ต่อไปนี้เป็นทางเลือกแทนลอราทาดีน:
  • เซทิริซีน (Zyrtec):
      • Cetirizine เป็นอีกหนึ่งสารต่อต้านฮีสตามีนรุ่นที่สองที่ใช้รักษาอาการภูมิแพ้ มีจำหน่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการต่างๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล และคัน
  • เฟกโซเฟนาดีน (อัลเลกรา):
      • Fexofenadine เป็นยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ระงับประสาท ซึ่งมักใช้รักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และลมพิษเรื้อรัง มีจำหน่ายโดยไม่ต้องสั่งโดยแพทย์และขึ้นชื่อในด้านประสิทธิภาพในการลดอาการภูมิแพ้
  • เดสลอราตาดีน (คลาริเน็กซ์):
      • Desloratadine เป็นสารเมตาบอไลต์ของ loratadine และมีจำหน่ายตามใบสั่งแพทย์ ใช้ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และลมพิษไม่ทราบสาเหตุเรื้อรัง
  • เลโวเซทิริซีน (ไซซัล):
      • Levocetirizine เป็นสารต่อต้านฮีสตามีนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเซทิริซีน มีจำหน่ายโดยไม่ต้องสั่งโดยแพทย์และใช้เพื่อรักษาอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และลมพิษเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ไดเฟนไฮดรามีน (เบนาดริล):
      • ไดเฟนไฮดรามีนเป็นยาแก้แพ้รุ่นแรกที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป อาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการภูมิแพ้ แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากกว่าเมื่อเทียบกับยาแก้แพ้รุ่นที่สอง
  • คลอร์เฟนิรามีน:
    • คลอเฟนิรามีนเป็นยาแก้แพ้รุ่นแรกอีกชนิดหนึ่งที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่นเดียวกับไดเฟนไฮดรามีน อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน และมักใช้เพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้
สิ่งสำคัญคือต้องเลือกยาแก้แพ้โดยพิจารณาจากอาการเฉพาะของคุณ ประวัติทางการแพทย์ และปฏิกิริยาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับยาอื่นๆ ที่คุณอาจรับประทานอยู่ นอกจากนี้ ให้พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อาการระงับประสาท (อาการง่วงนอน) หากคุณจำเป็นต้องตื่นตัวในระหว่างวัน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/medicines/loratadine/
  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-73-204/loratadine-oral/loratadine-oral/details
  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697038.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด