ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาคลอเฟนิรามีน

คลอเฟนิรามีน Chlorpheniramine คืออะไร

คลอเฟนิรามีน Chlorpheniramine คือ ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีนที่อยู่ในกลุ่มอัลไคลามีน (Alkylamine) ใช้รักษาอาการแพ้จากสิ่งเร้าต่าง ๆ อาทิแก้อาการลมพิษ ผื่นคัน บรรเทาอาการหวัดจากภูมิแพ้ ใช้บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก (ลดน้ำมูกใส) และบรรเทาอาการคัน แต่ยานี้ผลข้างเคียงของยานี้คือความรู้สึกง่วงนอน หรือหากอาการไม่มากอาจรู้สึกซึม ๆ ไม่สดชื่น และอยากนอนตลอดเวลา แต่อาการลักษณะนี้จะกลับมาเป็นปกติได้เอง แต่บางคนที่มีอาการรุนแรง ก็จะง่วงนอนจนลุกไม่ได้ จนไม่สามารถทำงาน หรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

การใช้ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีน  

คลอเฟนิรามีน หรือ Cpm เป็นยาแก้แพ้ที่นิยมใช้กันมาก โดยมีอัตราการใช้ยานี้มากเป็นอันดับ 2 ของรายการยาสามัญประจำบ้าน รองลงมาจากยาพาราเซตามอล เนื่องจากเป็นยาที่มีราคาไม่แพ้ มีความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงจากยานี้น้อยมาก และหาซื้อได้ง่าย ความปลอดภัยของยาคลอร์เฟนิรามีนค่อนข้าง แม้แต่คนที่กำลังตั้งครรภ์ก็สามารถใช้ได้แต่ควรอยู่ในการแนะนำของแพทย์ ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยานี้ แม้จะมีการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามพบว่าตัวยานี้สามารถถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมได้ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ยานี้ หากกำลังให้นมบุตร ยา Chlorpheniramine มีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน ใช้บรรเทาอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ทั้งต่อระบบทางเดินหายใจ ดวงตา และผิวหนัง ที่มีต่อละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง หรือสารภูมิแพ้อื่น ๆ ได้

การใช้ยาแก้แพ้ Cpm

  • ยานี้สามารถรับประทานพร้อมมื้ออาหาร หรือรับประทานระหว่างท้องว่างก็ได้
  • รับประทานยาตามปริมาณ และระยะเวลาที่แพทย์กำหนด กรณีซื้อยามาใช้เองให้ทำตามที่ระบุไว้บนฉลากยาอย่างเคร่งครัด
  • กรณีอยู่ในรูปแบบยาแก้แพ้เม็ดสีเหลืองไม่ควรบด ขบกัด หรือเคี้ยวก่อนกลืน แต่ควรกลืนลงไปทั้งเม็ด
  • กรณีอยู่ในรูปแบบยาน้ำควรใช้ช้อนหรือถ้วยยาที่ออกแบบเฉพาะสำหรับตวงปริมาณที่ต้องรับประทาน
  • กรณีลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด แต่รู้ตัวเมื่อใกล้ถึงเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้ข้ามมื้อยานั้นไปเลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาทดแทน
  • กรณีรับประทานยานานกว่า 7 วัน อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และดำเนินการรักษา
  • กรณีกำลังใช้ยา Cpm อยู่ ก่อนเข้ารับการรักษาอาการใด ๆ หรือทำทันตกรรมใด ๆ  ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา

Chlorpheniramine

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้คลอร์เฟนิรามีน

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ผ่วยที่มีอาการแพ้ยาคลอเฟนิรามีน หรือยากลุ่มอัลไคลามีน
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหอบหืด  ทารกแรกเกิด รวมถึงทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  • กรณีผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคต้อหิน มีภาวะปัสสาวะลำบากเนื่องจากต่อมลูกหมากโต หญิงตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะช่วงแรกของการตั้งครรภ์) และหญิงที่กำลังให้นมบุตร ต้องใช้ยาภายใต้การควบคุมของแพทย์
  • กรณีที่ผู้ป่วยที่มีน้ำมูกลักษณะเหนียวข้น หรือมีสีเหลืองหรือสีเขียว ไม่ควรใช้ยานี้ในการรักษาอาการหวัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะเสริมฤทธิ์ให้รู้สึกง่วงนอนมากขึ้น
  • ผู้ที่ต้องขับรถ ขับยวดยานพาหนะต่าง ๆ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะยานี้มักทำให้รู้สึกง่วงนอน มึนงง  วิงเวียนศีรษะ และตาพร่ามัวได้ หากมีอาการง่วงนอนมาก ควรหยุดทำงานที่ต้องใช้สมาธิจนกว่าจะหมดฤทธิ์ยาเสียก่อน

ผลข้างเคียงของยาคลอเฟนิรามีน

โดยทั่วไปผู้ใช้ยานี้จะสึกง่วงนอน มึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แต่ก็อาจมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นอย่างอาการ

การเก็บรักษายาคลอเฟนิรามีน

  • เก็บรักษายาในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่ถูกแสงแดด ไม่อยู่ใกล้ความร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส หรือในบริเวณที่เปียกชื้น
  • กำจัดยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้ว

ใครที่ไม่ควรใช้คลอเฟนิรามีน

คลอร์เฟนิรามีนเป็นสารต่อต้านฮีสตามีนที่ใช้กันทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้ ไข้ละอองฟาง และโรคไข้หวัด แม้ว่าโดยทั่วไปจะถือว่าปลอดภัยสำหรับบุคคลจำนวนมาก แต่ก็มีสถานการณ์และเงื่อนไขบางประการที่อาจไม่แนะนำให้ใช้คลอเฟนิรามีน และบุคคลควรใช้ความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้งาน ข้อควรพิจารณาบางประการมีดังนี้:
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
      • บุคคลที่ทราบว่าแพ้คลอเฟนิรามีนหรือยาแก้แพ้อื่น ๆ ไม่ควรใช้ยานี้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่นที่ผิวหนัง ไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงที่อาจรวมถึงการหายใจลำบาก
  • ตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • คลอร์เฟนิรามีนสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ และความปลอดภัยระหว่างให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด มารดาที่ให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้คลอเฟนิรามีน และอาจพิจารณาการรักษาทางเลือกอื่น
  • โรคตับอย่างรุนแรง:
      • บุคคลที่เป็นโรคตับอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้คลอเฟนิรามีนด้วยความระมัดระวัง ยาจะถูกเผาผลาญในตับ และการทำงานของตับบกพร่องอาจส่งผลต่อการขับยาออกจากร่างกาย
  • ต่อมลูกหมากโต 
      • คลอเฟนิรามีนอาจทำให้อาการของต่อมลูกหมากโตมากเกินไปและการเก็บปัสสาวะแย่ลง บุคคลที่มีอาการเหล่านี้ควรใช้คลอเฟนิรามีนด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • โรคต้อหินมุมปิด:
      • คลอร์เฟนิรามีนอาจเพิ่มความดันในลูกตาและทำให้อาการของโรคต้อหินแบบมุมปิดรุนแรงขึ้น บุคคลที่มีปัญหาทางดวงตาควรหลีกเลี่ยงคลอเฟนิรามีน หรือใช้ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านตา
  • การอุดตันของกระเพาะอาหารหรือลำไส้:
      • บุคคลที่มีประวัติกระเพาะอาหารหรือลำไส้อุดตันไม่ควรใช้คลอเฟนิรามีน เนื่องจากอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้
  • การอุดตันของกระเพาะปัสสาวะ:
      • คลอเฟนิรามีนอาจทำให้เกิดปัสสาวะไม่ออก และบุคคลที่มีประวัติกระเพาะปัสสาวะอุดตันควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • บุคคลที่ใช้สารยับยั้ง Monoamine Oxidase (MAOIs):
      • โดยทั่วไปการใช้คลอเฟนิรามีนมีข้อห้ามในบุคคลที่รับประทานยา monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) หรือภายใน 14 วันหลังจากหยุดการรักษาด้วย MAOI การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี:
    • ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของคลอเฟนิรามีนในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปียังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ยานี้ในเด็กเล็ก
จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ทั้งหมด รวมถึงสภาวะสุขภาพที่มีอยู่ อาการแพ้ หรือยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ข้อมูลนี้จะช่วยพิจารณาว่าคลอเฟนิรามีนเป็นตัวเลือกการรักษาที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์เฉพาะของคุณหรือไม่ ใช้คลอเฟนิรามีนเสมอภายใต้การดูแลและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-53948/Chlorpheniramine-allergy-oral/details
  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682543.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด