แคลเซียม อีดีทีเอ ปลอดภัยหรือไม่ (Is Calcium Disodium EDTA Safe)

แคลเซียม อีดีทีเอ EDTA คือ อาหารเสริมเติมแต่งทั่วไปที่นำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม EDTA ใช้ในการเพิ่มปรุงแต่งรสชาติของอาหาร สี และเนื้อสัมผัส แต่กระนั้นก็ตาม EDTA ก็ไม่ต่างกับสารเติมแต่งอาหารอื่นๆที่ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

แคลเซียม อีดีทีเอ Disodium EDTA คืออะไร 

แคลเซียมอีดีทีเอ คือผงแป้งผลึกสีขาวไม่มีกลิ่นมีรสเค็มเล็กน้อย  มักนิยมนำมาใช้เป็นสารเติมแต่งอาหาร ใช้เพื่อเป็นวัตถุกันเสีย และเป็นวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรส แคลเซียม อีดีทีเอ ทำหน้าที่เป็นสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมและตุ้มกันไม่ให้มีการตกตะกอน ซึ่งนั่นหมายความว่าสารนี้จะจับโลหะหนัก และป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดสีที่เปลี่ยนไป หรือสูญเสียรสชาติ ทาง FDA ได้พิสูจน์แล้วว่าแคลเซียม อีดีทีเอ มีความปลอดภัยในการเติมแต่งในอาหารโดยมีข้ดกำหนดปริมาณที่ถูกต้อง แคลเซียมอีดีทีเอ ดูดซึมโดยทางเดินอาหารได้ไม่ดีและปริมาณที่แนะนำให้บริโภคสูงสุดต่อวันคือ 1.1 มก ต่อหนึ่งปอนด์ (2.5 มก.ต่อหนึ่ง กก.) ของน้ำหนักตัวต่อวัน

แคลเซียมอีดีทีเอ มีประโยชน์อย่างไร 

แคลเซียมอีดีทีเอ สารมารถพบในอาหาร เครื่องสำอางและการผลิตอุตสาหกรรม อีกทั้งยังใช้เพื่อการล้างพิษหลอดเลือด 

ผลิตภัณฑ์อาหาร

แคลเซียมอีดีทีเอ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อถนอมเนื้อสัมผัส รสชาติและสีของผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด ยังใช้เพื่อช่วยการคงตัวและเพิ่มยืดอายุของอาหารบางชนิด อาหารดังที่มีแคลเซียมอีดีทีเอเป็นส่วนประกอบมีต่อไปนี้
  • น้ำสลัด ซอส และสเปรด
  • มายองเนส
  • ผักดอง เช่น กระหล่ำปลี และแตงกวา
  • ถั่วกระป๋อง
  • เครื่องดื่มอัดลมกระป๋อง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่น
  • ปู หอย และกุ้งกระป๋อง
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ อาหารกระป๋อง

Is Calcium Disodium EDTA Safe

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

แคลเซียมอีดีทีเอ มักถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในวผลิตภัณฑ์ความงามและเครื่องสำอางค์ ได้รับอนุญาติสำหรับใช้ทำความสะอาดที่ดีขึ้น สามารถพบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่มีรูปแบบของโฟม ยิ่งกว่านั้นยังช่วยจับเหล็ก ช่วยป้องกันโลหะจากการสะสมบนผิวหนัง หนังศีรษะ หรือผม สบู่ แชมพู โลชั่น และคอนแทคเลนส์คือตัวอย่างผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่อาจมีแคลเซียมอีดีทีเอเป็นส่วนประกอบ

ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม

แคลเซียมอีดีทีเอ สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่นในกระดาษและผ้า เพราะความสามารถในการป้องกันการเปลี่ยนสี และยังพบเจอได้บ่อยในผลิตภัณฑ์เช่น น้ำยาซักผ้า อุตสาหรรมฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ น้ำยาบ้วนปาก

ล้างพิษหลอดเลือด

การล้างพิษหลอดเลือดจะใช้แคลเซียม อีทีเอ เพื่อรักษาโลหะเป็นพิษ เช่นตะกั่วหรือปรอทเป็นพิษ สารจะไปจับตัวกับโลหะที่เป็นโลหะส่วนเกินในเลือด จากนั้นก็จะถูกขับถ่ายออกมาผ่านทางปัสสาวะ ในขณะที่นำเอาแคลเซียมอีดีทีเอ มาใช้เพื่อรักษาโลหะเป็นพิษแล้ว บางสถานรักษาบางแห่งยังแนะนำให้นำการล้างพิษหลอดเลือดไปใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาโรคอื่นๆเช่น ภาวะออทิซึ่ม โรคหัวใจ และอัลไซเมอร์ แต่อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ยังไม่เป็นที่แน่นอน ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนหาข้อสรุปว่าการล้างพิษหลอดเลือดนี้สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ดีจริงเสียก่อน

ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง

แม้การศึกษายังไม่ข้อจำกัด แต่ก็พบว่าการบริโภคแคลเซียม อีดีทีเอ อาจไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าแคลเซียม อีดีทีเอ สามารถดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้ยากทั้งในสัตว์และคน ทาง Environmental Protection Agency (EPA) ได้ออกมาชี้แจงว่าไม่มีสิ่งที่ต้องกังวลในการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งจากการบริโภค อีดีทีเอ

ไม่เกี่ยวข้องสำหรับความผิดปกติแต่กำเนิด

จากการศึกษาได้มีการประเมินเรื่องความเป็นไปได้ของความผิดปกติแต่กำเนิดและภาวะสืบพันธ์ุจากผลกระทบของแคลเซียม อีดีทีเอ จากการศึกษาในหนู 4 รุ่น การได้รับ แคลเซียม อีดีทีเอ ในปริมาณมากถึง 114 มก.ต่อปอนด์ (250 มก.ต่อกิโลกรัม) ของน้ำหนักตัวต่อวันไม่ส่งผลเพิ่มอัตราความเสี่ยงในระบบสืบพันธุ์หรือความพิการแต่กำเนิดในหนู

อาจเป็นสาเหตุของปัญหาการย่อยอาหารในปริมาณสูง

ผลกระทบด้านลบเพียงสิ่งเดียวของแคลเซียม อีดีทีเอในรูปแบบของสารเติมแต่งอาหารคืออาการย่อยอาหาร จากการศึกษาในหนูพบว่าการรับประทานสารนี้มรปริมาณมากเป็นสาเหตุทำให้มีการขับถ่ายเหลวและบ่อยขึ้นร่วมกับความอยากอาหารลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้นของแคลเซียม อีดีทีเอเมื่อมีการบริโภคในจำนวนสูง 

แคลเซียม อีดีทีเอ มีความปลอดภัยหรือไม่ 

คนทั่วๆไปเมื่อมีการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม อีดีทีเอ มักไม่เป็นอันตรายใดๆ ระบบทางเดินอาหารจะดูดซึมไม่เกินกว่า 5% คนปกติมักรับประทานเพียง 0.1 มก.ต่อปอนด์ (2.5 มก.ต่อกก.)ของน้ำหนักตัวต่อวันเท่านั้น – ซึ่งน้อยกว่าที่กำหนดให้บริโภคต่อวันคือ 1.1 มก.ต่อปอนด์ (2.5มก.ต่อก.ก) ของน้ำหนักตัว แม้การบริโภคจำนวนมากจะส่งผลต่อการย่อยก็ตาม แต่จำนวนที่เราได้รับจากอาหารนั้นน้อยมากกว่าที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวได้

ข้อมูลสำคัญที่ควรรู้

ไดโซเดียม EDTA (กรดเอธิลีนไดอามีนเตตระอะซิติก): ข้อมูลสำคัญ
  1. โครงสร้างทางเคมี:
  • Disodium EDTA เป็นสารประกอบสังเคราะห์ที่มีสูตรทางเคมี C10H14N2Na2O8 ได้มาจากเอทิลีนไดเอมีน ฟอร์มาลดีไฮด์ และโซเดียมไซยาไนด์
  1. ตัวแทนคีเลต:
  • หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของไดโซเดียม EDTA คือความสามารถในการคีเลตหรือจับกับไอออนของโลหะ มันก่อตัวเป็นสารเชิงซ้อนที่เสถียรด้วยไอออนของโลหะ ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในการใช้งานต่างๆ รวมถึงการถนอมอาหาร เครื่องสำอาง และยา
  1. ผลการรักษาเสถียรภาพ:
  • ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง ไดโซเดียม EDTA มักใช้เป็นตัวทำให้คงตัว ช่วยรักษาสี กลิ่น และเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์โดยป้องกันการเกิดออกซิเดชันและผลเสียของไอออนของโลหะ
  1. คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ:
  • ไดโซเดียม EDTA มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถมีส่วนช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์จากผลเสื่อมโทรมจากการสัมผัสกับอากาศและแสง
  1. คุณสมบัติเป็นสารกันบูด:
  • ไดโซเดียม EDTA ใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์บางชนิด ช่วยยืดอายุการเก็บโดยป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
  1. พบได้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง:
  • พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชั่น และแชมพู ซึ่งช่วยเพิ่มความเสถียรและรูปลักษณ์ของสูตร
  1. การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร:
  • ในอุตสาหกรรมอาหาร มีการใช้ไดโซเดียม EDTA เพื่อรักษาสี รส และเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์บางชนิด มีประโยชน์อย่างยิ่งในอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูปเพื่อรักษาคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา
  1. การใช้งานทางการแพทย์:
  • ไดโซเดียม EDTA ใช้ในการรักษาทางการแพทย์บางอย่าง เช่น การทำคีเลชั่นบำบัด ในบริบทนี้ มีการฉีดเข้าเส้นเลือดดำเพื่อจับและกำจัดไอออนของโลหะบางชนิดออกจากร่างกาย แม้ว่าการใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ก็ตาม
  1. การบำบัดน้ำ:
  • ไดโซเดียม EDTA ใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเพื่อจับไอออนของโลหะ และป้องกันไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การก่อตัวของตะกรัน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่าไดโซเดียม EDTA จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายและถือว่าปลอดภัยเมื่อใช้อย่างเหมาะสม ผู้บริโภคอาจเลือกที่จะคำนึงถึงรายการส่วนผสมและตัดสินใจโดยมีข้อมูลครบถ้วนตามความต้องการและข้อกังวลของพวกเขา หากคุณมีคำถามด้านสุขภาพหรือความปลอดภัยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับไดโซเดียม EDTA แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือหน่วยงานกำกับดูแล

บทสรุป

แคลเซียม อีดีทีเอ สามารถพบได้ในอาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม และใช้เพื่อรักษาโลหะเป็นพิษ ปริมาณที่กำหนดให้บริโภคต่อวันคือ 1.1 มก.ต่อปอนด์ (2.5 มก. ต่อ กก.) ของน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งมากกว่าที่เราจะบริโภคตามปกติได้ต่อวัน ในระดับดังกล่าวนี้ถือว่ามีความปลอดภัยโดยไม่ส่งผลข้างเคียงใดๆ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด