เหนียงเกิดจากอะไร
คางสองชั้นหรือเหนียง ที่เรียกว่าไขมันบริเวณใต้คาง เกิดขึ้นเมื่อมีชั้นไขมันที่บริเวฯด้านล่างของคาง เหนียงมักเกิดขึ้นพร้อมกับน้ำหนัก แต่คนน้ำหนักไม่เกินก็สามารถมีเหนียงได้เช่นกัน ผิวไม่กระชับที่เป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุของเหนียงได้ หากคุณมีเหนียงและต้องการกำจัดทิ่ง มีหลายวิธีที่ทำได้การออกกำลังกายเพื่อลดเหนียง
ในขณะที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าการออกกำลังกายคางจะสามารถลดเหนียงได้ผลก็ตาม แต่ก็มีหลักฐานมาจากคำบอกเล่า ต่อไปนี้คือหกท่าออกกำลังกายที่อาจช่วยให้กล้ามเนื้อและผิวในบริเวณเหนียงแข็งแรงขึ้น ควรทำซ้ำวันละ 10 ถึง 15 ครั้ง1. ท่ายืดกราม
- ยกศีรษะไปด้านหลังและมองขึ้นไปบนเพดานT
- พยายามยื่นกรามด้านล่างไปข้างหน้าจนรู้สึกตึงที่ใต้คาง
- ค้างไว้ นับ1-10 วินาที
- ผ่อนคลายกรามและกลับสู่ท่าเริ่มต้น
2. ออกกำลังกายด้วยลูกบอล
- วางลูกบอลขนาด 9-10 นิ้วไว้ที่ใต้คาง
- กดคางลงบนลูกบอล
- ทำซ้ำวันละ 25 ครั้ง
3. ท่ายื่นปาก
- ยกศีรษะไปทางด้านหลัง ตามองเพดาน
- ทำปากเหมือนท่าจูบเพดาน ยื่นปากออกไปให้ตึงที่บริเวณใต้คาง
- หยุดยื่นปาก และกลับสู่ท่าปกติ
4. ท่าแลบลิ้น
- มองตรงไปด้านหน้า แลบลิ้นออกไปให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
- ยกลิ้นขึ้นไปพยายามแตะจมูก
- ค้างไป 10 วินาทีแล้วปล่อย
5. ท่ายืดคอ
- ยกศีรษะไปทางด้านหลัง ตามองเพดาน
- ดันลิ้นชนเพดานปาก
- ค้างไว้ 5 ถึง 10 วินาทีแล้วปล่อย
6. ท่ายืดกรามล่าง
- ยกศีรษะไปด้านหลัง ตามองเพดาน
- หมุนศีรษะไปทางด้านขวา
- ยื่นกรามด้านล่างไปข้างหน้า
- ค้างไว้ 5 ถึง 10 วินาทีแล้วปล่อย
- ทำซ้ำเหมือนเดิมแต่สลับข้างไปทางซ้าย
การลดเหนียงด้วยการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
หากเหนียงเกิดจากการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น การลดน้ำหนักอาจช่วยทำให้เหนียงเล็กลงไกหรือกำจัดได้ วิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักคืออการรับปนะทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คำแนะนำสำหรับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพคือ:- รับประทานผักวันละสี่หน่วย
- รับประทานผลไม้วันละสามหน่วย
- รับประทานแป้งไม่ขัดสีแทนแบบขัดสี
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
- รับประทานโปรตีนไม่ติดมัน เช่น เนื้อไก่และปลา
- รับประทานไขมันดีเช่นน้ำมันมะกอก อะโวคาโดและถั่ว
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด
- รับประทานผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
- ลดการบริโภคน้ำตาล
- ควบคุมสัดส่วนของอาหาร
การรักษาเหนียง
หากเหนียงมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การออกกำลังบริเวณเหนียงอาจช่วยได้ เพราะการลดน้ำหนักอาจไม่ช่วยอะไร ในกรณีดังกล่าวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดศัลยกรรมลดเหนียงเช่น:การทำลิพอไลซิส
หรือที่เรียกว่าการดูดไขมัน ลิพอไลซิสใช้การดูดไขมันหรือใช้ความร้อนจากเลเซอร์มาเพื่อละลายไขมันออกและปรับทรงผิว ส่วนใหญ่จะใช้ยาชาเฉพาะที่ในระหว่างการดูดไขมันเพื่อรักษาเหนียง การดูดไขมันรักษาได้เฉพาะไขมันเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดผิวหนังส่วนเกินหรือเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวได้ ผลข้างเคียงจากการดูดไขมันคือ:- บวม
- ฟกช้ำ
- เจ็บ ปวด
การทำเมโสเทอราฟี
เมโสเทอราฟีคือการฉีดสารละลายไขมันในปริมาณเล็กน้อย ในปี 2015 ทางองค์การอาหารและยาได้อนุญาติให้กรดดีออกซีโคลิค (Kybella) เป็นยาที่สามารถฉีดเพื่อใช้ในการทำเมโสเทอราฟีได้ กรดดีออกซีโคลิคจะร่างกายในการดูดซึมไขมัน อาจต้องฉีดกรอดีออกซีโคลิค 20 ครั้งหรือมากกว่านั้นต่อการรักษาเหนียงหนึ่งครั้ง และอาจต้องรักษาเหนียงทั้งหมดมากถึง 6 ครั้ง และต้องคอยอย่างน้อยหนึ่งเดือนในระหว่างการรักษา กรดดีออกซีโคลิคอาตเป็ยสาเหตุสร้างความเสียหายต่อประสาทที่รุนแรงหากมีการฉีดที่ไม่เหมาะสม มีเพียงแพทย์ผิวหนังหรือศัลยแพทย์พลาสติกเท่านั้นที่สามารถฉีดสารดังกล่าวนี้ได้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากกรดดีออกซีโคลิคและการฉีดเมโสเทอราฟีอื่นๆเช่น:- บวม
- ฟกช้ำ
- เจ็บ ปวด
- ชา
- แดง
ขั้นต่อไป
วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันส่วนเกินออกจากทุกๆส่วนของร่างกายคือการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อพยายามที่จะกำจัดเหนียง ต้องอาศัยความอดทน เว้นเสียแต่ไปทำการดูดไขมันหรือทำเลเซอร์ ซึ่งไม่สามารถลดลงได้เพียงชั่วข้ามคืน ขึ้นอยู่กับขนาดของเหนียง อาจต้องใช้เวลาสองสามเดือกว่าที่เหนียงจะลดจนสังเกตเห็นได้ การพยายามรักษาน้ำหนักตัวที่ดีจะช่วยเรื่องเหนียงได้ และยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกเพราะเป็นการลดความเสี่ยงโดยรวมของ:- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคหัวใจ
- โรคมะเร็งบางชนิด
- โรคหลอดเลือดสมอง
คำถามที่พบบ่อย
- อะไรทำให้เกิดเหนียง?
- เหนียง ชั้นอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรม อายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และการสูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนัง เมื่ออายุมากขึ้น ผิวอาจสูญเสียความกระชับและความหย่อนคล้อย ส่งผลให้เกิดคางสองชั้น
- พันธุศาสตร์สามารถมีส่วนทำให้เกิดเหนียงได้หรือไม่?
- ใช่ พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าไขมันจะกระจายในร่างกายอย่างไร หากครอบครัวของคุณมีแนวโน้มที่จะสะสมไขมันไว้ใต้คาง คุณอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดเหนียงมากขึ้น
- การลดน้ำหนักช่วยเหนียงได้หรือไม่?
- ในบางกรณี การลดน้ำหนักอาจช่วยลดการเกิดเหนียงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากน้ำหนักส่วนเกินเป็นปัจจัยร่วม อย่างไรก็ตาม การลดจุดเป็นสิ่งที่ท้าทาย และอาจจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายหรือขั้นตอนที่ตรงเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- มีแบบฝึกหัดเพื่อลดเหนียงหรือไม่?
- การออกกำลังกายบนใบหน้า เช่น การเหยียดคอและการเคลื่อนไหวของกราม อาจช่วยกระชับกล้ามเนื้อบริเวณคางได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการออกกำลังกายเหล่านี้แตกต่างกันไป และอาจไม่นำไปสู่การลดไขมันอย่างมีนัยสำคัญ
- มีวิธีอื่น ๆ ที่ลดเหนียงได้ไหมที่ไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด
- ตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับการลดคางสองชั้น ได้แก่ การฉีดยา เช่น Kybella ซึ่งมีกรดดีออกซีโคลิกเพื่อสลายเซลล์ไขมัน อีกทางเลือกหนึ่งคือ CoolSculpting ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่รุกรานซึ่งจะแช่แข็งและกำจัดเซลล์ไขมัน
- การดูดไขมันเป็นทางเลือกในการลดเหนียงหรือไม่?
- ใช่ค่ะ การดูดไขมันสามารถใช้ขจัดไขมันส่วนเกินใต้คางได้ เป็นการผ่าตัดดูดไขมันออกทำให้เห็นผลทันท่วงทีและเห็นได้ชัดเจน
- มีขั้นตอนการผ่าตัดลดเหนียงโดยเฉพาะหรือไม่?
- การผ่าตัดดึงคอหรือดึงหน้าส่วนล่างสามารถทำได้เพื่อแก้ไขเหนียง ขั้นตอนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดผิวหนังและไขมันส่วนเกิน กระชับกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูรูปร่างที่อ่อนเยาว์ให้กับคอและแนวกราม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น