โรคลมแดด (Heatstroke) : อาการ สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน วิธีการรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
โรคลมแดด
โรคลมแดด (Heatstroke) คือภาวะของร่างกายที่ร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิสูงเกินไปจากการได้รับสัมผัสกับอากาศร้อนหรือการออกแรงในพื้นที่มีอากาศร้อน โดยความร้อนนี้จะทำอันตรายกับร่างกายเมื่อร่างกายอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยพบว่าคนเราสามารถเป็นโรคลมแดดได้มากในช่วงหน้าร้อน หากเป็นลมแดดต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน ถ้ารักษาไม่ทันสามารถทำลายสมองหัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งการรักษาช้า ยิ่งทำให้เกิดผลเสียมากเท่านั้น และร้ายแรงที่สุดอาจทำให้อันตรายถึงชีวิต

อาการของโรคลมแดด

อาการของโรคลมแดดมีดังนี้
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูง ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 40 องศา นี่คือสาเหตุหลักของโรคลมแดด
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สับสน หงุดหงิด พูดไม่ชัด อาการเพ้อ ชัก และโคม่า เป็นสิ่งที่เกิดจากโรคลมแดด
  • เหงื่อออกมากว่าปกติ โรคลมแดดที่เกิดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งกว่าปกติ และอาการนี้สามารถเกิดได้จากการออกกำลังกาย หรือออกแรงมากจนทำให้ร่างกายร้อน ส่งผลให้ผิวแห้งหรือชุ่มชื้นน้อยลง
  • เวียนศีรษะและอาเจียน ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายท้อง และอาเจียน
  • ผิวแดง เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จะสังเกตได้ชัดว่าร่างกายมีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • หายใจเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจสั้นๆ และเร็วกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ชีพจรจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายเครียดจากความร้อน
  • ปวดศีรษะ  ศีรษะจะปวดตึบๆ

เมื่อไรที่ควรจะพบแพทย์

หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ควรโทรเบอร์ฉุกเฉินในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน ระหว่างรอเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ควรช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยด้วยวิธีการดังนี้
  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังพื้นที่ร่ม
  • ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นของผู้ป่วยออก
  • ลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย – นำผู้ป่วยไปยังอ่างน้ำเพื่อลดความร้อน หรือใช้น้ำฉีด หรือใช้ผ้าเย็นเช็ดตัวผู้ป่วย โดยเน้นที่ศีรษะ รักแร้ และขาหนีบ

สาเหตุของโรคลมแดด

โรคลมแดดเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • การสัมผัสกับอากาศที่ร้อน โรคลมแดด (แบบคลาสสิก) การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น โดยมักจะเกิดกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และมักเกิดในผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง
  • ออกแรงอย่างมาก โรคลมแดดรุนแรงเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ซึ่งมาจากการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน มักพบในคนที่ไม่เคยสัมผัสอากาศร้อนมาก่อน
โรคลมแดดทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรงสามารถเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • สวมใส่เสื้อผ้าหนาหรือมากเกินไป  ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อได้มากกว่าปกติ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งนี้สามารถส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • การสูญเสียน้ำของร่างกาย การดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำของร่างกายจากความไม่สมดุล

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดด

ใครๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดได้ แต่ปัจจัยดังต่อไปนี้จะทำให้มีความเสี่ยงยิ่งขึ้น
  • อายุ ความสามารถในการรับมือกับความร้อนที่สูงขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งในเด็กเล็กระบบประสาทส่วนกลางยังไม่พัฒนาเต็มที่ และในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ระบบประสาทส่วนกลางจะเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ทั้งสองกลุ่มอายุนี้ไม่สามารถรับมือกับอากาศร้อนได้ดีนัก
  • การใช้แรงมากในอากาศร้อน การฝึกทหารและการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอลหรือการแข่งขันวิ่งมาราธอนในสภาพอากาศร้อนจัด สามารถทำให้เกิดโรคลมแดดได้ง่าย
  • การสัมผัสกับอากาศร้อนอย่างกระทันหัน เมื่อสัมผัสกับอากาศร้อนอย่างกระทันหัน เช่น การเดินทางไปยังสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นที่ไม่เคยชินจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น
  • ไม่มีเครื่องปรับอากาศ พัดลมอาจจะทำให้เรารู้สึกเย็นขึ้น แต่ในกรณีอากาศร้อนจัดเครื่องปรับอากาศก็จำเป็นในการช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย
  • ยาบางชนิด ยาบางชนิดมีผลต่อร่างกายในการรักษาความชุ่มชื้น และการตอบสนองต่อความร้อน ควรระวังเป็นพิเศษหากคุณใช้ยาที่ทำให้หลอดเลือดตีบ (vasoconstrictors) ยาควบคุมความดันโลหิต (beta blockers) ยากำจัดโซเดียมและน้ำในร่างกาย (ยาขับปัสสาวะ) หรือยาลดอาการทางจิตเวช (ยากล่อมประสาทหรือยารักษาโรคจิต ) สารกระตุ้นสำหรับโรคสมาธิสั้น (ADHD) และสารเสพติด เช่น ยาบ้า หรือโคเคน จะทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคลมแดดมากขึ้น
  • ปัญหาสุขภาพบางอย่าง ความเจ็บป่วยเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ หรือโรคปอด หรือโรคอ้วน จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดได้ง่าย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคลมแดด

ยิ่งอุณหภูมิร่างกายสูงยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคลมแดดได้มากขึ้น
  • อวัยวะสำคัญถูกทำลาย หากร่างกายไม่สามารถรับมืออย่างรวดเร็วกับอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้น โรคลมแดดจะทำให้สมอง หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ บวม และอาจถูกทำลายอย่างถาวร
  • อันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • การจอดรถ โปรดล็อครถทุกครั้ง เพื่อป้องกันเด็กเข้าไปในรถที่จอดสนิท
  • ใช้ชีวิตในพื้นที่ที่อากาศไม่ร้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักในสภาพอากาศร้อนได้ให้ดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนในที่เย็น ๆ และเลือกออกกำลังกายในที่อากาศไม่ร้อน
  • การปรับร่างกายให้ชิน ออกแรงหรือออกกำลังกายด้วยความร้อนจนกว่าร่างกายจะปรับสภาพได้  เพราะคนที่ไม่เคยสัมผัสกับอากาศร้อนเลย มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น
  • โปรดระวัง ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคลมแดดหากใช้ยา หรือมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับความร้อนให้หลีกเลี่ยงความร้อน และหากสังเกตเห็นถึงอาการของร่างกายว่าได้รับอุณหภูมิที่สูงเกินไป หรือหากแข่งขันกีฬา หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในสภาพอากาศร้อน โปรดแน่ใจว่าบริเวณนั้นมีแพทย์ฉุกเฉินที่พร้อมจะให้บริการหากเกิดโรคลมแดด

การป้องกัน

โรคลมแดดป้องกันได้ คุณสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยในสภาพอากาศร้อนโดยทำตามขั้นตอนเหล่านี้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะหากอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป หมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้นหากคุณเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ
  • สวมเสื้อผ้าที่บางเบา ระบายอากาศได้ดี และหลวม 
  • ดื่มน้ำบ่อยๆ
  • งดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากหรือออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน ถ้าเป็นไปได้ให้ทำในตอนเช้าหรือตอนเย็นแทน
  • จำกัดเวลาของคุณในช่วงอากาศร้อน หากคุณเพิ่งมาถึงประเทศที่มีอากาศร้อน คนที่ไม่ชินกับสภาพอากาศร้อนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน 
  • อย่าทิ้งเด็กหรือสัตว์เลี้ยงของคุณไว้ในรถที่จอดไว้ในช่วงที่อากาศร้อน เพราะอุณหภูมิในรถอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 11 องศาเซลเซียสใน 10 นาที การจอดรถในที่ร่มหรือเปิดกระจกรถไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคลมแดด
  • ระมัดระวังหากคุณกำลังใช้ยาหรือมีภาวะที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคลมแดด

การวินิจฉัย

อาการฮีทสโตรกมักปรากฏให้เห็นได้จากการตรวจร่างกาย อย่างไรก็ตาม จะมีการระบุการยืนยันด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการสำหรับความเสียหายของอวัยวะและการวินิจฉัยสาเหตุที่เป็นไปได้อื่นๆ 
  • อุณหภูมิทางทวารหนัก  เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือในการวัดอุณหภูมิร่างกายมากกว่าอุณหภูมิทางปากและทางหู 
  • การตรวจเลือด  ประเมินความเสียหายของอวัยวะโดยการรับก๊าซในเลือด อิเล็กโทรไลต์ เอนไซม์ตับ การศึกษาการแข็งตัวของเลือด  
  • การตรวจปัสสาวะ  เพื่อประเมินว่าไตหรือกล้ามเนื้อของคุณได้รับผลกระทบหรือไม่ โรคที่เกิดจากความร้อนมักจะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น
  • การทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อ  โดยวัดค่าครีเอทีนไคเนสสามารถระบุได้ว่าคุณมีภาวะกล้ามเนื้อสลายหรือกล้ามเนื้อถูกทำลายหรือไม่
  • การศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพสมอง เพื่อแยกแยะสาเหตุของระบบประสาทส่วนกลางที่น่าสงสัยอื่นๆ ของสภาวะทางจิตที่เปลี่ยนแปลงไป 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heat-stroke/symptoms-causes/syc-20353581
  • https://www.nhs.uk/conditions/heat-exhaustion-heatstroke
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/heat-stroke-symptoms-and-treatment
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/heat-stroke-0595/”>hyperthermia-a-to-z

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด