การกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Healthy Eating for Seniors) – แคลอรี่ ระบบภูมิคุ้มกัน

อาหารผู้สูงอายุที่สมดุล

การรับประทานอาหารที่สมดุลเป็นส่วนสำคัญในการมีสุขภาพที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น ช่วยให้สามารถรักษาน้ำหนัก สุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า และรับสารอาหารที่ต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ตามข้อมูลด้านโภชนาการ พบว่าผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คนมีภาวะโภชนาการต่ำ ภาวะทุพโภชนาการทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักน้อยเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อนแอลง จึงเกิดความเสี่ยงต่อโรคได้ เพื่อให้ได้รับโภชนาการที่เพียงพอ การกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ควบคุมอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ และเกลือ อาจต้องปรับอาหารเพื่อจัดการกับปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ความต้องการและนิสัยของคุณเปลี่ยนไปตามอายุอย่างไร  เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการทางโภชนาการ ความอยากอาหาร และนิสัยการกินสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากหลายสาเหตุ

แคลอรี่

ผู้สูงอายุมักต้องการแคลอรีลดลง เพื่อรักษาสมดุลของน้ำหนัก อาหารสำหรับผู้สูงอายุจึงต้องควบคุมแคลอรี่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเมื่อมีการใช้พลังงานน้อยลง อาจพบปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหรือข้อต่อมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง และเผาผลาญแคลอรีได้น้อยลง เมื่อออกกำลังกายน้อยลงก็อาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ ยิ่งทำให้การเผาผลาญช้าลง และลดความต้องการแคลอรี่ลงไปอีก

ความอยากอาหาร

หลายคนมักมีอาการเบื่ออาหารตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องปกติที่ความสามารถในการรับรสและกลิ่นจะลดลง ซึ่งส่งผลให้กินน้อยลง เมื่อความสามารถในการเผาผลาญแคลอรีลดลง ตามการเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดลง การกินที่น้อยลงอาจไม่ส่งผลให้เกิดปัญหา แต่ร่างกายก็ยังจำเป็นต้องได้รับแคลอรีและสารอาหารที่เพียงพอเพื่อรักษาอวัยวะ กล้ามเนื้อ และกระดูกให้แข็งแรง หากได้รับไม่เพียงพออาจนำไปสู่ปัญหาโภชนาการผู้สูงอายุ และปัญหาสุขภาพได้

ปัญหาทางสุขภาพ

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายมักอ่อนแอเกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการเหล่านี้ แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ตัวอย่าง กรณีเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือคอเลสเตอรอลสูง ควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร แต่มีแคลอรีต่ำ ปราศจากน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ แพทย์จะแนะนำอาหารคนแก่ให้กินโซเดียมน้อยลง ผู้สูงอายุบางคนอาจมีความไวต่ออาหารบางชนิด เช่น หัวหอม พริก ผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารรสเผ็ด ควรตัดอาหารเหล่านี้ออกจากอาหารผู้สูงอายุ การกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

ยา

การใช้ยาเพื่อจัดการกับภาวะสุขภาพเรื้อรัง ยาบางชนิดอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร ผู้สูงอายุบางคนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารและอาหารเสริมบางชนิดได้ ตัวอย่าง กรณีใช้ยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน) จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงส้มโอ เพราะจะลดความสามารถของร่างกายในการใช้ยาได้ จำเป็นต้องรักษาระดับวิตามินเคให้คงที่ในอาหาร โดยสามารถรับวิตามินเคจากการรับประทานผักโขม คะน้า หรือผักใบเขียวอื่น ๆ ให้มาก หากคุณกำลังใช้ยาอยู่ อย่าลืมตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อพิจารณาว่าต้องเปลี่ยนแปลงอาหารหรือไม่

สุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุมีข้อกังวลเรื่องสุขภาพช่องปาก เพราะจะรบกวนความสามารถในการกินอาหาร ตัวอย่างเช่น ฟันปลอมที่ไม่พอดีอาจทำให้นิสัยการกินแย่ลง และภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อในปากอาจทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอลงตามอายุ ทำให้เสี่ยงที่จะเจ็บป่วยจากอาหาร หรืออาหารเป็นพิษได้ง่าย การเตรียมอาหารที่เหมาะสมและปลอดภัยจึงมีความสำคัญในทุกช่วงอายุ อาจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ตัวอย่างเช่น แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงไข่ดิบ เช่น มายองเนสทำเอง หรือน้ำสลัดซีซาร์

รักษาโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ความต้องการทางโภชนาการมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล กลยุทธ์บางอย่างจะช่วยให้สามารถรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพได้ เน้นอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการแคลอรี่จะลดลง ในขณะที่ความต้องการสารอาหารยังคงเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารจะช่วยให้ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างเพียงพอ รับแคลอรีจากอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น
  • ผักและผลไม้
  • ถั่ว
  • เมล็ดพืช
  • ธัญพืช
  • นมไขมันต่ำ
  • โปรตีนไร้ไขมัน
ควบคุมอาหารที่มีแคลอรีสูง แต่สารอาหารต่ำ ตัวอย่างเช่น อาหารทอด ของหวาน และเครื่องดื่มรสหวาน แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารขยะทั้งหมด
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด