กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว (Okra) เป็นไม้ดอกที่สามารถรับประทานฝัก และเมล็ดได้ โดยเป็นพืชท้องถิ่นในเขตอบอุ่น และเขตร้อน เช่น ในแอฟริกา และเอเชียใต้ ในบางท้องถิ่นเรียกกระเจี๊ยบว่า “Lady’s finger” กระเจี๊ยบมี 2 สีคือ สีแดง และสีเขียว โดยทั้งสองมีรสชาติเหมือนกัน และกระเจี๊ยบสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อสุก โดยทั่วไปแล้วกระเจี๊ยบเขียวถูกจัดให้เป็นผลไม้ทางชีวภาพเช่นเดียวกับผักในการปรุงอาหาร กระเจี๊ยบนิยมใช้ในอาหารอเมริกันทางตอนใต้ บางคนอาจจะไม่ค่อยชอบกระเจี๊ยบเพราะความลื่นของมัน กระเจี๊ยบเขียวนั้นไม่สามารถหาได้โดยทั่วไป และประโยชน์ของกระเจี๊ยบนั้นมีมากมายประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว
สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยสารอาหาร
กระเจี๊ยบเขียวมีสารอาหารที่น่าสนใจ โดยกระเจี๊ยบเขียวสด 1 ถ้วย (100 กรัม) มีสารอาหารดังต่อไปนี้- แคลอรี่: 33 แคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต: 7 กรัม
- โปรตีน: 2 กรัม
- ไขมัน: 0 กรัม
- ไฟเบอร์: 3 กรัม
- แมกนีเซียม: 14% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- โฟเลต: 15% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- วิตามินเอ: 14% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- วิตามินซี: 26% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- วิตามินเค: 26% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- วิตามินบี 6: 14% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์
กระเจี๊ยบเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารประกอบที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระหลักในกระเจี๊ยบเขียว คือ โพลีฟีนอลรวมทั้งฟลาโวนอยด์ และไอโซเคอร์ซิติน อีกทั้งวิตามิน A และ C มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโพลีฟีนอลสูงมีแนวโน้มช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้นโดยการลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด และความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โพลีฟีนอลมีประโยชน์ต่อสุขภาพสมอง เนื่องจากสามารถเข้าสู่สมอง และป้องกันการอักเสบได้ กลไกการป้องกันเหล่านี้จะปกป้องสมองจากอายุที่เพิ่มขึ้น และส่งเสริมเรื่องความทรงจำ และการเรียนรู้ต่างๆสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียวอาจจะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ กระเจี๊ยบเขียวมีสารที่มีลักษณะคล้ายเจลหนา เรียกว่า มิวซิเลจซึ่งสามารถจับกับคอเลสเตอรอลในระหว่างกระบวนการย่อยอาหารและขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ แทนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย มีการศึกษาในหนูทดลองนาน 8 สัปดาห์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม และให้อาหารไขมันสูงที่มีผงกระเจี๊ยบ 1% หรือ 2% หรืออาหารไขมันสูงที่ไม่มีผงกระเจี๊ยบเลย หนูที่รับประทานกระเจี๊ยบเขียวจะกำจัดคอเลสเตอรอลในอุจจาระได้มากขึ้นและมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ ปริมาณโพลีฟีนอล มีการศึกษาเป็นเวลานาน 4 ปี ใน 1100 คน ทำให้เห็นว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่อุดมด้วยโพลีฟีนอลมีสารบ่งชี้การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ไม่รับประทานอาหารที่มีโพลีฟีนอลอาจจะมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียวมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า เลคติน ซึ่งอาจจะช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในมนุษย์ การศึกษาในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเซลล์มะเร็งเต้านมพบว่า เลคตินในกระเจี๊ยบเขียวมีแนวโน้มว่าจะป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ถึง 63% การศึกษาในห้องปฏิบัติการอีกงานหนึ่งเกี่ยวกับเซลล์มะเร็งผิวหนังในระยะแพร่กระจายพบว่า สารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียวนั้นสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตาย สิ่งที่ควรรู้คือ การทดลองเหล่านั้นเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้สารประกอบที่เข้มข้น ดังนั้นประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียวในเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีการวิจัยในมนุษย์มากขึ้นก่อนจะสรุปอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด
การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะนำไปสู่โรคเบาหวาน มีงานวิจัยในหนูทดลอง โดยใช้กระเจี๊ยบเขียวหรือสารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียวให้หนูบริโภค พบว่า อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ งานวิจัยงานหนึ่งชี้ให้เห็นว่า กระเจี๊ยบเขียวช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือดที่มีเสถียรภาพมากขึ้น กระเจี๊ยบเขียวอาจรบกวนยา Metformin ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ทำให้ไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียวในขณะที่รับประทานยานี้เป็นประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์
โฟเลต (วิตามิน B 9) เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับสตรีมีครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงของความบกพร่องของระบบประสาทที่มีผลต่อสมอง และกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา มีคำแนะนำที่ว่าให้ผู้หญิงทุกคนรับประทานโฟเลต 400 ไมโครกรัมในทุกๆวัน มีการสำรวจพบผู้หญิงที่มีสุขภาพดี 12,000 คน พบว่า บริโภคโฟเลตเพียง 245 ไมโครกรัมต่อวัน โดยเฉลี่ย และมีการศึกษาในผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 6,000 คน ในช่วง 5 ปีพบว่า 23% มีระดับโฟเลตในเลือดไม่เพียงพอ กระเจี๊ยบเขียวเป็นแหล่งของโฟเลตที่ดีโดย 1 ถ้วย (100 กรัม) ให้ 15% ของความต้องการสารอาหารนี้ที่ผู้หญิงในแต่ละวันเหมาะสำหรับอาหารลดน้ำหนัก
แม้ว่ากระเจี๊ยบเขียวจะไม่ใช่วัตถุดิบที่มีติดครัว แต่กระเจี๊ยบเขียวนั้นง่ายต่อการทำอาหาร การเลือกกระเจี๊ยบเขียว ให้เลือกฝักสีเขียวนวล และไม่มีจุดสีน้ำตาล หรือปลายแห้ง สามารถเก็บรักษาได้นาน 4 วันในตู้เย็น สำหรับไว้ทำอาหาร โดยปกติกระเจี๊ยบเขียวจะถูกใช้ในซุป และสตูว์ กระเจี๊ยบเขียวนั้นมีเมือก นี่คือเทคนิคการทำอาหารที่จะให้เมือกเหล่านั้นลดลง- ปรุงกระเจี๊ยบด้วยความร้อนสูง
- หลีกเลี่ยงการเอาลงกระทะครั้งละมากๆ หรือใช้ไฟอ่อน
- การดองกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดเรื่องเมือก
- สามารถลดความมันด้วยการใช้ซอสมะเขือเทศ
- ฝาน และนำไปทำกระเจี๊ยบอบ
- ย่างกระเจี๊ยบจนไหม้เกรียมเล็กน้อย
เมนูกระเจี๊ยบเขียว
- กระเจี๊ยบเขียวผัดไข่
- กระเจี๊ยบผัดกะปิ
- กระเจี๊ยบผัดเกลือ
- กระเจี๊ยบเขียวราดน้ำมันหอย
- กระเจี๊ยบเขียวผัดกุ้ง
ข้อควรระวังของกระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งมักบริโภคในอาหารต่างๆ แม้ว่ากระเจี๊ยบเขียวโดยทั่วไปจะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็มีข้อควรพิจารณาบางประการที่ควรคำนึงถึง:- ออกซาเลต:
-
-
- กระเจี๊ยบมีสารออกซาเลตซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งสามารถทำให้เกิดนิ่วในไตในบุคคลที่อ่อนแอได้ หากคุณมีประวัตินิ่วในไต แนะนำให้ทานอาหารที่มีออกซาเลตสูงในปริมาณปานกลาง รวมถึงกระเจี๊ยบเขียวด้วย การดื่มน้ำปริมาณมากและการรับประทานอาหารที่สมดุลสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไตได้
-
- ปัญหาระบบทางเดินอาหาร:
-
-
- บางคนอาจประสบปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแก๊สหรือท้องอืด เมื่อบริโภคกระเจี๊ยบเขียว นี่อาจเป็นผลมาจากปริมาณเส้นใยของผัก หากคุณไม่คุ้นเคยกับการบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง เป็นความคิดที่ดีที่จะค่อยๆ เพิ่มอาหารเหล่านั้นเข้าไปในอาหารของคุณเพื่อให้ระบบย่อยอาหารของคุณปรับตัวได้
-
- ระดับน้ำตาลในเลือด:
-
-
- กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยเส้นใยและมีดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นโรคเบาหวานและกำลังปรับอาหาร ขอแนะนำให้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ากระเจี๊ยบเขียวเข้ากับแผนการรับประทานอาหารโดยรวมของคุณ
-
- โรคภูมิแพ้:
-
-
- ปฏิกิริยาการแพ้กระเจี๊ยบเขียวนั้นพบได้น้อยมาก แต่บุคคลที่ทราบกันว่าแพ้พืชในตระกูล Malvaceae (ซึ่งรวมถึงชบาและฝ้าย) อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้กระเจี๊ยบ หากคุณสงสัยว่ามีอาการแพ้ ให้ไปพบแพทย์
-
- ปฏิกิริยาระหว่างยา:
-
-
- ไม่ทราบว่ากระเจี๊ยบเขียวมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับยาอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากคุณกำลังใช้ยารักษาโรคเบาหวานหรือการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอ ปริมาณเส้นใยในกระเจี๊ยบอาจส่งผลต่อการดูดซึมยาบางชนิด
-
- สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง:
-
-
- เช่นเดียวกับผักและผลไม้หลายชนิด กระเจี๊ยบเขียวอาจมียาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่ได้ปลูกแบบออร์แกนิก การล้างกระเจี๊ยบเขียวให้สะอาดหรือเลือกตัวเลือกออร์แกนิกสามารถช่วยลดการสัมผัสยาฆ่าแมลงได้
-
- กระเจี๊ยบดิบและอาการคัน:
-
-
- บุคคลบางคนอาจรู้สึกคันเมื่อหยิบจับหรือตัดกระเจี๊ยบดิบ อาจเนื่องมาจากเส้นขนเล็กๆ บนพื้นผิวของผัก โดยทั่วไปแล้วการปรุงกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยขจัดปัญหานี้ได้
-
- หลีกเลี่ยงกระเจี๊ยบที่ไม่สุก:
-
- กระเจี๊ยบเขียวมักใช้ในอาหารปรุงสุกต่างๆ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่ากระเจี๊ยบปรุงสุกอย่างทั่วถึงเพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อสัมผัสที่ลื่นไหลซึ่งอาจทำให้บางคนไม่ชอบได้
บทสรุปกระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียวเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก อุดมไปด้วยแมกนีเซียม โฟเลตไ ฟเบอร์ สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามิน C K1 และ A กระเจี๊ยบเขียวมีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์สุขภาพหัวใจ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีแนวโน้มว่าสามารถต่อต้านมะเร็ง กระเจี๊ยบเขียวนั้นสามารถปรุงอาหารได้ง่ายๆ ลองเพิ่มกระเจี๊ยบเขียวลงในเมนูอาหารของคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/diet/health-benefits-okra
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/311977
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น