การจัดการการล่วงละเมิดทางเพศ (Handling Sexual Harassment)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
จัดการการล่วงละเมิดทางเพศ

การคุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harrasment คืออะไร

การคุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harassment คือพฤติกรรมของบุคคลที่คุกคามและละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นในเรื่องเพศด้วยลักษณะต่าง ๆ เช่น ด้วยวาจา สายตา หรือท่าทีที่ส่อเจตนาล่วงเกินทางเพศ รวมถึงการกระทําอนาจาร ตลอดจนการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กัน การข่มขืนและการกระทําที่ทําให้ผู้อื่นได้รับความอับอายจากการกระทําที่ไม่ยินยอมพร้อมใจ ส่งผลกระทบต่อจิตใจ อารมณ์ การเข้าร่วมสังคม รวมถึงสวัสดิภาพและการดํารงชีวิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และก่อให้เกิดปัญหาต่อความสงบสุขของสังคม

พฤติกรรมที่เข้าข่ายการคุกคามทางเพศ

การกระทำทางสายตา เช่นการจ้องมองร่างกาย มองช้อนไปใต้กระโปรง จ้องไปที่หน้าอกจนผู้ถูกจ้องมองรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจ หรือจนคนรอบข้างรู้สึกเช่นเดียวกัน การกระทำทางวาจา เช่นการวิพากษ์วิจารณ์รูปร่าง รูปทรงของร่างกายที่ส่อไปในเรื่องเพศ ชักชวนการกระทำใด ๆ ในที่ลับตา โดยผู้ที่ถูกชักชวนไม่เต็มใจ การพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดจาแทะโลม หรือพูดเรื่องลามก การกระทำทางกาย เช่นการสัมผัสรูปร่างของผู้อื่น การลูบคลำ ถูไถร่างกายของผู้อื่นเพื่อสื่อถึงนัยยะทางเพศ การฉวยโอกาสเข้ากอดรัด การดึงคนมานั่งบนตัก การตามตื๊อแม้อีกฝ่ายจะไม่เล่นด้วย การต้อนผู้อื่นเข้ามุม หรือการขวางทางเดิน การส่งจูบ การเลียริมฝีปาก การทำท่าน้ำลายหก การแสดงพฤติกรรมที่สื่อไปในเรื่องเพศโดยใช้มือหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย การแสดงด้วยรูปภาพ วัตถุ และข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมถึงการเปิดภาพโป๊ในที่ทำงาน หรือคอมพิวเตอร์ของตนเอง การส่งข้อความรูปภาพ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงเรื่องเพศทางอินเตอร์เน็ตหรือช่องทางการสื่อสารออนไลน์อื่น ๆ เช่นไลน์ เฟซบุ๊ก หรืออินสตราแกรม การกระทำทางเพศเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ เช่น การให้สัญญา การให้ผลประโยชน์ เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน ผลการศึกษา การให้เงินทุน การเพิ่มเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การต่อสัญญาเรื่องงาน โดยการขอมีเพศสัมพันธ์ หรือขอการกระทำอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ

การคุกคามทางเพศออนไลน์

บางครั้งการคุกตามทางเพศก็เกิดขึ้นได้ แม้ว่าผู้กระทำและผู้ถูกกระทำไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือระบบสื่อสารต่าง ๆ เรียกว่าการคุกคามทางเพศออนไลน์ หรือ Online Sexual Harassment หรือ Cyber Sexual Harassment คือการกระทำใด ๆ ในช่องทางการสื่อสารดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่กระทำต่อคนอื่นให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าถูกละเมิด ไม่ต้องการ ไม่ยินยอม ไม่พร้อม หรือถูกบังคับให้ยินยอมในชั่วเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือสถานการณ์ใด ๆ ที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ถูกกระทำก็ถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศได้เช่นกัน Handling Sexual Harassment

รูปแบบของการคุกคามทางเพศออนไลน์

รูปแบบของตัวอักษร การพิมพ์คอมเมนต์ในสื่อสารออนไลน์โดยตรง เช่น ขอจุดจุดจุดหน่อย อยากกอดจัง อันนั้นใหญ่นะ อันนั้นเล็กจุง อันเท่าไข่ดาว เป็นต้น รวมถึงการหยอกล้อในห้องสื่อสารออนไลน์ เช่น ขอ S สิงคโปร์ H หน่อย ก็นับเป็น Sexual Harassment เช่นกัน รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ หรือ Emoji เช่นการนำ Emoji รูปยิ้ม หรือรูปดวงใจไปวางเอาไว้ที่รูปอวัยวะบางส่วนของผู้ถูกกระทำ เช่น หน้าอก อวัยวะเพศ หรือกล่าวถึงขนตรงนั้นตรงนี้ เป็นต้น รูปแบบการสื่อสาร ไม่ว่าจะส่งไปทางช่องทางสื่อสารหรืออีเมล์ส่วนตัว เช่น ส่งสื่อโป๊ลามกไปให้ แม้ว่าผู้รับจะไม่ต้องการ ชวนไปมีเพศสัมพันธ์ หรืออ้างบุคคลที่สามเพื่อกล่าวหาบุคคลที่สามให้เสียหายในเรื่องเพศ

การรับมือเมื่อถูกคุกคามทางเพศ

เมื่อเราถูกคุกคามทางเพศไม่ว่าจะต่อหน้า หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ควรปฏิบัติดังนี้
  • ต้องตั้งสติ เพื่อพิจารณาให้แน่ใจว่าการกระทำหรือสิ่งที่ถูกสื่อสารมาถึงนั้น ส่งผลให้รู้สึกสะดวก สบายใจหรือไม่ หรือเป็นการคุกคามทางเพศหรือไม่
  • แสดงออกทันทีว่าไม่พอใจการกระทำคุกคามนั้น ๆ และพยายามหลีกหนีจากการคุกคามทางเพศนั้น
  • ส่งเสียง ข้อความเพื่อบอกให้ผู้กระทำหยุดการกระทำคุกตาม หรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น รวมถึงกรณีออนไลน์อาจใช้วิธีหยุดการสื่อสารกับผู้คุกคามทันที โดยพยายามไม่ตอบโต้ใด ๆ อีก
  • บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจใช้การบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือภาพถ่าย หรือถ่ายวีดีโอคลิป (หากทำได้)
  • บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยระบุวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ การบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบุชื่อของพยาน และบุคคลที่สาม เพื่อใช้ดำเนินคดีหากจำเป็น กรณีผ่านช่องทางออนไลน์ก็ต้องเก็บหลักฐานทั้งหมดเอาไว้ด้วยการถ่ายรูป แคปเจอร์หน้าจอ หรือว่าส่งไปให้บุคคลที่สามเอาไว้ด้วย

ผลกระทบของการล่วงละเมิดทางเพศ

ผลที่ตามมาจากการล่วงละเมิดทางเพศอาจส่งผลร้ายแรงและยาวนาน โดยส่งผลกระทบต่อเหยื่อทั้งทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกาย
  1. ผลกระทบทางจิต : ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักประสบกับความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) ความรู้สึกละอายใจ รู้สึกผิด และทำอะไรไม่ถูกก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน
  2. ผลกระทบทางวิชาชีพ : ในที่ทำงาน เหยื่ออาจประสบกับความพึงพอใจในงานที่ลดลง ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง และการขาดงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขัดขวางความก้าวหน้าในอาชีพและนำไปสู่การตกงานได้
  3. สุขภาพกาย : ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากการล่วงละเมิดอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกาย เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และปัญหาระบบทางเดินอาหาร
  4. ผลกระทบทางการศึกษา : ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา การล่วงละเมิดทางเพศอาจส่งผลต่อผลการเรียน การเข้าเรียน และความเป็นอยู่โดยรวมของนักเรียน

บทสรุป

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาร้ายแรงที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างครอบคลุมในการป้องกันและแก้ไข ด้วยการทำความเข้าใจรูปแบบต่างๆ ของการล่วงละเมิด ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และการนำนโยบายและระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพไปใช้ บุคคลและองค์กรจึงสามารถทำงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและให้ความเคารพมากขึ้นได้ การต่อสู้กับการล่วงละเมิดทางเพศไม่ใช่แค่ภาระผูกพันทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นความจำเป็นทางศีลธรรมในการรับรองศักดิ์ศรีและความเคารพต่อทุกค
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด