ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อความสูงของเราคือ กรรมพันธุ์ แต่กระนั้น ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสูงในระหว่างที่กำลังพัฒนาได้อีกหลายอย่าง เช่น สารอาหาร ฮอร์โมน ระดับการทำกิจกรรม และโรคประจำตัวนักวิทยาศาตร์เชื่อว่ากรรมพันธุ์ หรือดีเอ็นเอ มีส่วนในเรื่องของความสูงราว 80% ซึ่งนั้นหมายความว่า คนที่สูงก็มีแนวโน้มจะมีลูกที่โตมาสูงด้วย เช่น เดียวกันปกติโดยทั่วไปคนเราจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆจนอายุถึง 18 ปี ซึ่งก่อนช่วงอายุดังกล่าว ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมก็สามารถส่งผลต่อความสูงได้หลายคนตั้งคำถามว่าเราควรทำอย่างไรให้สูง ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยโดยรวมที่ส่งผลต่อความสูง วิธีในการเพิ่มความสูงในช่วงระหว่างที่อยู่ในวัยพัฒนาการ
วิธีเพิ่มความสูงในช่วงวัยพัฒนาการ
เราจะไม่สามารถควบคุมปัจจัยส่วนใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อความสูงได้ นั่นเป็น เพราะเป็นเรื่องของดีเอ็นเอ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีปัจจัยบางอย่างก็สามารถไปเพิ่ม หรือลดการเจริญเติบโตในช่วงระหว่างกำลังพัฒนาของเด็ก และวัยรุ่นได้ การเจริญเติบโตในเด็ก และวัยรุ่นสามารถทำได้เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความสูงสุด โดยทำสิ่งดังต่อไปนี้:ให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ดี
สารอาหารมีบทบาทที่สำคัญมากในการเจริญเติบโต เด็กที่ได้รับสารอาหารที่ไม่ดีอาจมีส่วนสูงไม่เท่าเด็กที่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมสารอาหารที่แนะนำสำหรับเด็ก และวัยกำลังโตคือ การทานอาหารให้มีความหลากหลาย มีความสมดุลทั้งผัก และผลไม้ อีกทั้งยังต้องมั่นใจว่าได้รับวิตามิน และแร่ธาตุครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการใช้ในการเจริญเติบโตการกินแคลเซียมเพิ่มความสูง และการกินโปรตีนคือส่วนที่สำคัญสำหรับการรเจริญเติบโต และมีสุขภาพที่ดีของกระดูก อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนเช่น :- เนื้อ
- สัตว์ปีก
- อาหารทะเล
- ไข่
- พืชตระกูลถั่ว
- เมล็ดธัญพืช
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การนอนหลับจะช่วยการเจริญเติบโต และการพัฒนาการในเด็ก และวัยรุ่น ในระหว่างการหลับลึก ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตออกมา การได้นอนหลับอย่างเพียงพอจึงอาจช่วยทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น และเป็นหนึ่งในวิธีทำให้สูงออกกำลังกายเพิ่มความสูง
การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาการของร่างกาย ด้วยการออกไปเล่นกลางแจ้ง หรือเล่นกีฬา เช่นช่วยทำให้กระดูกมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความหนาแน่นขึ้น และแข็งแรงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงคือ อะไร
เด็กทารกแลเด็กเล็กจะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในแผ่นการเจริญเติบโตในกระดูกยาวของแขน และขาเมื่อแผ่นการเจริญเติบโตสร้างกระดูกใหม่ขึ้น กระดูกยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น และทำให้เด็กสูงขึ้นคนเราจะเจริญเติบโตเร็วที่สุดในช่วง 9 เดือนแรกของชีวิตก่อนการคลอดออกมา หลังจากคลอดแล้วจะค่อยๆช้าลงเมื่อเด็กมีอายุได้ 8 ปี เด็กจะโตเฉลี่ย 2.16 นิ้วหรือ 5.5 ซม. ต่อปีวัยรุ่นจะมีช่วง growth spurt คือ “ช่วงเติบโตเร็ว” เป็นช่วงเวลาของวัยเจริญพันธุ์ หลังจากนั้้นแผ่นการเจริญเติบโตจะหยุดสร้างกระดูกใหม่ และทำให้คนหยุดการเจริญเติบโต มือ และขาจะหยุดการเติบโตก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นตามมาด้วยแขน และขา ส่วนสุดท้ายที่จะหยุดการเติบโตก็คือ ไขสันหลัง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงคือ :ดีเอ็นเอ
ดีเอ็นเอคือ ปัจจัยหลักในการประเมินความสูงนักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามียีนที่แตกต่างกันกว่า 700 ชนิดที่มีผลต่อความสูง มียีนบางตัวมีผลต่อแผ่นการเจริญเติบโต และส่งผลต่อการผลิตโกรทฮอร์โมนช่วงความสูงของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับพื้นเพชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็เป็นข้อกำหนดทางดีเอ็นเอทั้งสิ้นโรคเกี่ยวกับยีนบางชนิดอาจส่งผลต่อความสูงได้ รวมไปถึงโรคดาว์นซินโดรม และกลุ่มอาการมาร์แฟนฮอร์โมน
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ส่งผลให้แผ่นเจริญเติบโตสร้างกระดูกใหม่ เช่น :- โกรทฮอร์โมน: ฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง และเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเจริญเติบโต โรคประจำตัวบางอย่างสามารถยับยั้งปริมาณโกรทฮอร์โมนที่ร่างกายสร้าง ซึ่งมีผลกระทบกับเรื่องความสูง เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับยีนที่เรียกว่าความผิดปกติแต่กำเนิด ยกตัวอย่าง จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ
- ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์: ต่อมไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โฒนมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต
- ฮอร์โมนทางเพศ: เทสโทสเตอร์โรน และเอาโตรเจนมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการเจริญเติบโตในระหว่างช่วงวัยรุ่น
เพศ
เพศชายมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าเพศหญิง แต่เพศชายจะมีการเจริญเติบโตต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าเพศหญิง เฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่เพศชายจะสูง 5.5 นิ้ว (14 ซม.)มากกว่าผู้ใหญ่เพศหญิงผู้ใหญ่จะยังเพิ่มความสูงได้อยู่หรือไม่?
เมื่อเราผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว แผ่นการเจริญเติบโตจะหยุดสร้างกระดูกใหม่ แผ่นดังกล่าวจะรวมเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และทำให้คนนั้นๆหยุดการเติบโต ซึ่งนั้นหมายความว่าเมื่อเราก้าวย่างเข้าสู่อายุ 18 ปี เราจะไม่สามารถเพิ่มความสูงของเราได้อีกการฝึกท่าทางที่ดี และทำให้แผ่นหลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวแข็งแรงจะช่วยทำให้คนๆนั้นยืนตัวตรงมากขึ้น และทำให้ดูสูงขึ้นได้อาหารที่ดีต่อความสูง
แม้ว่าพันธุกรรมจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความสูงของเด็ก แต่โภชนาการที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม ต่อไปนี้คือสารอาหารหลักและแหล่งอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ดีในเด็ก:1. โปรตีน:
- โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมถึงกระดูกและกล้ามเนื้อ
- แหล่งอาหาร:เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม พืชตระกูลถั่ว (ถั่ว ถั่วเลนทิล) ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช
2. แคลเซียม:
- แคลเซียมมีความสำคัญต่อการพัฒนากระดูกและรักษาความหนาแน่นของกระดูก
- แหล่งอาหาร:ผลิตภัณฑ์นม (นม ชีส โยเกิร์ต) นมจากพืชเสริม ผักใบเขียว (คะน้า บรอกโคลี) เต้าหู้ และอัลมอนด์
3. วิตามินดี:
- วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและมีส่วนดีต่อสุขภาพของกระดูก
- แหล่งอาหาร:ปลาที่มีไขมัน (ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล) นมเสริมหรือนมจากพืช ไข่แดง และการสัมผัสกับแสงแดด
4. เหล็ก:
- ธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการสร้างฮีโมโกลบินและขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย
- แหล่งอาหาร:เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ธัญพืชเสริมธาตุเหล็ก ถั่ว ถั่วเลนทิล และผักใบเขียวเข้ม (ผักโขม)
5. สังกะสี:
- สังกะสีเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- แหล่งอาหาร:เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์นม ถั่ว เมล็ดพืช และเมล็ดธัญพืช
6. วิตามินเอ:
- วิตามินเอมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยรวม
- แหล่งอาหาร:มันเทศ แครอท ผักโขม ผักคะน้า แอปริคอต ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม
7. วิตามินซี:
- วิตามินซีสนับสนุนการผลิตคอลลาเจนซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนากระดูกและกระดูกอ่อน
- แหล่งอาหาร:ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (ส้ม มะนาว) สตรอเบอร์รี่ กีวี พริกหยวก และมะเขือเทศ
8. แมกนีเซียม:
- แมกนีเซียมมีส่วนช่วยต่อสุขภาพกระดูกและการทำงานของกล้ามเนื้อ
- แหล่งอาหาร:ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช ผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม
9. วิตามินเค:
- วิตามินเคมีบทบาทในการเผาผลาญกระดูกและช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- แหล่งอาหาร:ผักใบเขียว (ผักคะน้า ผักโขม) บรอกโคลี กะหล่ำดาว และถั่วลันเตา
บทสรุป
ความสูงส่วนใหญ่มักถูกกำหนดไว้ด้วยดีเอ็นเอ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น สารอาหาร และการออกกำลังกายก็อาจส่งผลในการเจริญเติบโตในระหว่างช่วงพัฒนาการได้เด็กที่กำลังเริ่มโตมากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ดีและมีการออกกำลังกายประจำเพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เด็กวัยรุ่นจะมีช่วงการเติบโตเร็วในช่วงเจริญพันธุ์ หลังจากนั้น กระดูกของพวกเขาจะหยุดการเติบโตแล้วพวกเขาจะไม่สูงขึ้นอีกต่อไปการได้รับสารอาหารที่ดีในระหว่างการตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อสุขภาพกระดูก และการเจริญเติบโตของเด็กได้ดีในอนาคตหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น