ELISA คืออะไร

อิไลซา หรือ Elisa คือ Enzyme-linked Immunosorbent Assay เป็นขั้นตอนการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เชื้อเอชไอวี โรคไข้เลือดออกไวรัสโรต้าไข้ซิก้า หรือโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นต้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจวินิจฉัย Elisa หากผู้ป่วยมีสัญญาณของภาวะติดเชื้อ อย่างมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนมากแพทย์จะวินิจฉัยร่วมกับอาการอื่น ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งการตรวจหาเชื้อด้วยเทคนิค Elisa นั้นค่อนข้างมีความแม่นยำสูง

ELISA หลักการเป็นอย่างไร

หลักการของ Elisa คือ การใช้แอนติบอดี (Antibody) หรือ แอนติเจน (Antigen) เคลือบที่พื้นผิวของ Elisa Plate จากนั้นเติมเอนไซม์ของเชื้อที่ต้องการวิเคราะห์ลงบนแอนติเจนหรือแอนติบอดี้  จากนั้นเมื่อเติมสารตั้งต้นการเกิดปฏิกริยาลงไป เอนไซม์ก็จะทำปฏิกิริยา และเปลี่ยนสีเพื่อแสดงผลการทดสอบ การวัดผลของค่าสีที่เกิดขึ้นจะใช้วิธีอ่านค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องอ่านไมโครเพลท หรือ Microplate Reader สามารถตรวจสอบในเชิงปริมาณ และคุณภาพของสารที่ต้องการทดสอบได้อย่างแม่นยำ หลักการ Elisa สามารถใช้ทดสอบทางปริมาณ และ คุณภาพของแอนติเจน และแอนติบอดีได้ จึงนิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อจุลชีพ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา สารพิษของจุลชีพต่าง ๆ และ ปริมาณยาคงค้างในร่างกาย Elisa ใช้ตรวจหาโรคอะไรบ้าง เทคนิค Elisa ใช้ตรวจหาภาวะติดเชื้อภายในร่างกาย ทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ตรวจฮอร์โมน และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ภายในเลือดได้ ตัวอย่างของโรคหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้วิธีอีไลซาตรวจสอบ ได้แก่โรคอีสุกอีใส โรคงูสวัด โรคไข้เลือดออก โรคโลหิตจาง โรคไลม์ เชื้อเอชไอวี เชื้อซิฟิลิส เชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด ฯลฯ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ ELISA

Elisa เป็นเทคนิคการตรวจเลือดที่ใช้เวลาไม่นาน และไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ เป็นพิเศษ แต่หากมีประวัติการเจ็บป่วยหลังจากการเจาะเลือดมาก่อน อย่างการเกิดรอยฟกช้ำ รอยแดง เคยเป็นลม หรือมีอาการเลือดไหลไม่หยุดจากบาดแผล ก็สามารถแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการเจาะเลือดทุกครั้ง เพื่อแพทย์จะได้เตรียมความพร้อม และวางแผนการรักษาเผื่อเกิดผลข้างเคียงจากการตรวจวินิจฉัย และหากผลการตรวจวินิจฉัยออกมาเป็นบวก แสดงว่าผู้ป่วยเกิดภาวะติดเชื้อจากเชื้อโรคนั้น ๆ ยิ่งในกรณีของโรคร้ายแรง ก็อาจสร้างความกดดัน และความเครียดให้กับผู้ป่วยได้

ขั้นตอนการตรวจด้วยเทคนิค ELISA

เบื้องต้นแพทย์ได้ประเมินอาการ และสันนิษฐานว่าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ก่อน เพื่อระบุวิธีการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสม ซึ่งหากแพทย์พิจารณาใช้วิธีการตรวจแบบอีไลซา จะมีขั้นตอนในการตรวจ ดังนี้ การเก็บตัวอย่างเลือด พยาบาลจะทำการรัดต้นแขนของผู้ป่วยด้วยสายยาง หรือสายรัด เป็นวิธีการเพื่อให้เส้นเลือดดูชัดขึ้น จากนั้นพยาบาลจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดบริเวณตำแหน่งของผิงหนังที่จะเจาะตัวอย่างเลือด หลังจากนั้นจึงจะทำการแทงเข็ม และเก็บตัวอย่างเลือดในปริมาณที่เพียงพอกับการทดสอบ เมื่อถอนเข็มออกพยาบาลจะแปะพลาสเตอร์ หรือสำลีเพื่อปิดแผล และห้ามไม่ให้เลือดไหลการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อEnzyme-linked Immunosorbent Assay ตัวอย่างเลือดจะถูกส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเฉพาะ ผู้ตรวจจะหยดเลือดลงไปในจานทดลองที่มีแอนติเจนหรือแอนติบอดี้ หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่แพทย์ต้องการทดสอบ หรือคาดว่าผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อเชื้อดังกล่าว จากนั้นผู้ตรวจจะหยดเอนไซม์ลงไปในจานทดลอง เพื่อดูปฏิกิริยาของแอนติเจน หรือแอนติบอดี้ หรือสารภูมิคุ้มกันในเลือด หากสารในจานทดสอบเกิดเปลี่ยนสี แสดงว่ามีผู้ป่วยมีการติดเชื้อชนิดดังกล่าว โดยทั่วไประยะเวลาในการตรวจสอบเชื้อคือประมาณ 1 วัน แต่ในบางกรณีอาจใช้เวลาหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการตรวจสอบ การอ่านค่าผลการวิเคราะห์ ค่าการเปลี่ยนเป็นสีของแอนดิบอดี้ หรือแอนดิเจนที่ใช้จะมีความเข้มสีที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำการทดสอบได้ ปริมาณของเชื้อจะช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้ แม้ว่าการตรวจสอบแบบ Elisa จะเป็นการตรวจวิเคราะห์ที่ง่าย และค่อนข้างแม่นยำ แต่ก็ยังมีโอการที่จะผิดพลาดได้ เนื่องมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกเจ็บจากการถูกเข็มแทง หรือบางคนก็มีอาการกลัวเข็ม บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เกิดรอยฟกช้ำ เลือดอาจออกมากผิดปกติ เป็นลม หรือเกิดการติดเชื้อบริเวณบาดแผล แต่การติดเชื้อจากการตรวจด้วยวิธอีไลซานั้นพบได้ค่อนข้างยาก แต่หากเกิดอาการที่รุนแรง หรือพบสัญญาณของการติดเชื้อ อาทิ ไข้ เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

รูปแบบการทดสอบ ELISA

Indirect Method ใช้แอนติบอดี้ที่ทราบชนิดแล้ว ตรวจสอบกับแอนติเจนที่ทราบชนิดแล้ว ซึ่งเคลือบเอาไว้บนพื้นผิวของ Solid Phase จากนั้นจึงใช้ Anti-Human Immunoglobulin ที่ติดเอาไว้ด้วยเอ็นไซม์ทำปฏิกิริยาอีกขั้นหนึ่ง เพื่อระบุปริมาณตามความเข้มของสี ที่เกิดจากแอนติบอดีที่ต้องการตรวจสอบ Double Antibody Sandwich Method เคลือบแอนติบอดีบนพื้นผิวของ Solid Phase เพื่อทำปฏิกิริยากับแอนติเจนที่ต้องการตรวจสอบ หลังล้างสารส่วนเกิน แล้วใช้แอนติบอดีที่ติดเอาไว้ด้วยเอ็นไซม์ (เป็นแอนติบอดี้ที่จำเพาะกับแอนติเจนที่ต้องการตรวจสอบ) ล้างและเติม Substrate แล้ววัดปริมาณความเข้มสีที่เกิดขึ้น Competitive Binding Method เป็นการวิเคราะห์หาแอนติเจน ด้วยการเคลือบแอนติบอดีบนพื้นผิวของ Solid Phase จากนั้นจึงนำมาทำปฏิกิริยากับแอนติเจนที่ต้องการตรวจสอบ และแอนติเจนที่ติดผนึกด้วยเอ็นไซม์ ล้างและเติม Substrate เพื่อวัดปริมาณความเข้มสีที่เกิดขึ้น  Immunochromatography เป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจน และแอนติบอดีที่จำเพาะติดผนึกเอาไว้ด้วยสารสี (Dye) หรือ แอนติบอดี้ และแอนติเจนที่จำเพาะ เป็นวิธีการตรวจแบบ Rapid Test Immunoblot (Western Blot) เป็นการแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรตีนด้วยกระแสไฟฟ้าบนวุ้น (Gel)  นอกจากโปรตีนที่แยกออกมาแล้วยังมีการถ่ายซับ (Blot) โปรตีนจากวุ้นไปยังแผ่นเมมเบรน อย่าง Nitrocellulose Membrane จากนั้นให้เติมแอนติบอดีที่จำเพาะกับแอนติเจนที่อยู่บนเมมเบรน พร้อมเติม Anti-Immunoglobulin ที่ติดผนึกด้วยเอ็นไซม์ และเติม Substrate เพื่อสังเกตดูปฏิกิริยาการเกิดสีบนแผ่นเมมเบรนนั้น ๆ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทดสอบอิมมูโนซอร์เบนท์ที่เชื่อมโยงกับเอนไซม์

1. เอลิซาคืออะไร?

คำตอบ: ELISA หรือ Enzyme-Linked Immunosorbent Assay เป็นเทคนิคในห้องปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตรวจหาการมีอยู่ของโปรตีน แอนติบอดี หรือแอนติเจนที่จำเพาะในตัวอย่างทางชีววิทยา ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนในการตรวจจับ

2. ELISA ทั่วไปทำงานอย่างไร

คำตอบ:ใน ELISA ทั่วไป ไมโครเพลทจะถูกเคลือบด้วยแอนติบอดี้จับ และตัวอย่างที่มีแอนติเจนเป้าหมายจะถูกเติมลงไป หลังจากล้างสารที่ไม่ถูกผูกไว้ออกไปแล้ว แอนติบอดีตรวจจับที่เชื่อมโยงกับเอนไซม์จะถูกเพิ่มเข้าไป เอนไซม์ทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีที่วัดได้ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของเป้าหมาย

3. ELISA มีข้อดีอย่างไร?

คำตอบ: ELISA มีความไวสูง เฉพาะเจาะจง และสามารถตรวจจับโมเลกุลเป้าหมายในปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ นอกจากนี้ยังใช้งานได้อเนกประสงค์ ช่วยให้สามารถตรวจจับโมเลกุลประเภทต่างๆ รวมถึงโปรตีน แอนติบอดี ฮอร์โมน และอื่นๆ

4. ELISA มีข้อจำกัดอะไรบ้าง?

คำตอบ:ข้อจำกัดบางประการรวมถึงโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่เสถียร ความจำเป็นในการควบคุมที่เหมาะสม และข้อกำหนดสำหรับแอนติบอดีจำเพาะ ปฏิกิริยาข้ามกับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกันอาจเป็นเรื่องท้าทายเช่นกัน

5. ELISA มีประโยชน์อย่างไร?

คำตอบ: ELISA ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการวินิจฉัยทางการแพทย์ การวิจัย และการควบคุมคุณภาพ โดยนำไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น การทดสอบโรคติดเชื้อ การตรวจหาโรคภูมิต้านตนเอง การติดตามยา และความปลอดภัยของอาหาร

6. ELISA สามารถทำงานอัตโนมัติได้หรือไม่?

คำตอบ:ได้ ELISA สามารถทำงานอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงกระบวนการและปรับปรุงความแม่นยำ ระบบ ELISA แบบอัตโนมัติมักใช้ในห้องปฏิบัติการทางคลินิกและการตั้งค่าการวิจัยที่มีปริมาณงานสูง

7. ขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการ ELISA คืออะไร?

คำตอบ:ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การเคลือบไมโครเพลทอย่างเหมาะสม การปิดกั้นเพื่อป้องกันการเกาะติดที่ไม่เฉพาะเจาะจง การเพิ่มตัวอย่างอย่างระมัดระวัง การล้างระหว่างขั้นตอนอย่างเหมาะสม และการวัดการเปลี่ยนสีที่แม่นยำ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
  • https://www.immunology.org/public-information/bitesized-immunology/experimental-techniques/enzyme-linked-immunosorbent-assay
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK555922/
  • https://www.healthline.com/health/elisa
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด